magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558
formats

รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558

หัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ เรื่อง รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่  AEC ในปี 2558 เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ หัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี  เนื้อหาการบรรยายโดยสรุป

ประเด็นร้อนของภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ คือการเปิดเสรีของประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งระบบรางเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ระบบรางที่ถูกกล่าวขานกันมากในภูมิภาคอาเซียน คือรถไฟความเร็วสูง

ปี 2552 ประเทศเวียดนามตกเป็นข่าวอย่างร้อนแรงในการที่จะเป็นชาติแรกที่สร้างทางรถไฟความเร็วสูง แต่ในที่สุดรัฐสภาเวียดนามก็มีมติไม่เห็นชอบกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองเดียวที่รัฐบาลรับรัฐสภามักจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหลังจากเวียดนามชะลอโครงการรถไฟความเร็วสูงไปแล้ว ก็เกิดกระแสรถไฟความเร็วสูงขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทยโดยคาดหวังว่าจะมีการสร้างรถไฟทางกว้าง 1.435 เมตรจากคุณหมิงมายังเวียงจันทน์ แล้วเลยเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งหากเป็นจริงแล้วก็จะเป็นการเชื่อมทางรถไฟจากประเทศจีนเข้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งใช้ทางรถไฟเป็นขนาดกว้าง 1 เมตร แนวคิดเรื่องการสร้างรถไฟความเร็วสูง ทำให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ยุติการเจรจากู้เงินจากรัฐบาลไทยเพื่อใช้ก่อสร้างทางรถไฟต่อจากสถานีท่านาแล้งไปยังเวียงจันทน์ ทั้งที่รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการสำรวจออกแบบไว้แล้ว

อย่างไรก็ดี ผลการเจรจาการสร้างทางรถไฟระหว่างจีนกับสาธารณรัฐประชาธืปไตยประชาชนลาวกลับไม่ราบรื่นเท่าที่ควร จากที่เป็นข่าวว่า สปป.ลาวจะหวนกลับมาเจรจาเรื่องกู้เงินกับประเทศไทยเพื่อสร้างทางรถไฟจากท่านาแล้งถึงเวียงจันทน์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นอย่างไรกันแน่

ในส่วนของประเทศไทยนั้น หลังจากรัฐบาลปัจจุบันเข้าบริหารประเทศตั้งแต่ปี 2554 แล้ว นโยบายเรื่องการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศก็ได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลได้ผ่าน พรบ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศและการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก็เป็นแผนการใช้เงินดังกล่าว

โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาระบบขนส่งทางรางของภูมิภาคอาเซียนในอดีตมีสภาพค่อนข้างล้าหลังตรงกันข้ามกับการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน ซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ถนนเป็นระบบขนส่งหลักมาอย่างย่าวนาน ได้ก่อให้เกิดปรากฎการณ์การใช้ที่ดินใบแบบ ” Ribbon Development” ซึ่งเมืองขยายออกตามแนวถนนสายหลักในขณะที่ยังมีที่ดินว่างเปล่าในเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก ปรากฎการณ์นี้ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย อาทิ ปัญหาสภาพแวดล้อมและสังคม ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างรุนแรงและปัญหาเมืองรุกชนบท (Urban Sprawl) ที่กำลังเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น

ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มองเห็นปัญหาดังกล่าวจึงดำเนินนโยบายเรื่อง Transit-oriented(TOD)อย่างจริงจังมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันทั้งสองประเทศมีระบบขนส่งทางราง ทั้งระบบขนส่งมวลชนในเมืองและรถไฟขนส่งทางไกลที่ค่อนข้างสมบูรณ์และกำลังเกิดการปรับตัวของการใช้ที่ดิน (Land Use reform)เพื่อให้เข้ากับระบบขนส่งทางราง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เพิ่งปรากฏเป็นข่าวเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาคือการสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างกังลาลัมเปอร์ – สิงคโปร์ กำหนดแล้วเสร็จในเวลา 7 ปี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นขั้นตอนสูงสุดของการพัฒนาระบบขนส่งทางราง

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-4seminar.php

 – ( 451 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven − 5 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>