magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "scholarly journal"
formats

การต่อสู้การคัดลอกผลงานวิชาการ

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 17  เมษายน 2014 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและวิจัย ของเยอรมนี Annette Schavan ประกาศเมื่อวันที่ 10 เมษายนว่าเธอจะยอมแพ้เรื่องต่อสู้ในการครอบครองปริญญาเอกของเธอ หลังจาก มหาวิทยาลัย Dusseldorf เรียกกลับคืน มหาวิทยาลัยเพิกถอนชื่อของเธอเมื่อปีที่แล้ว หลังจากพบว่าข้อมูลส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอ มีการคัดลอกมาจากแหล่งที่มาที่ไม่ได้รับการอ้างถึงได้อย่างถูกต้อง และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม  ศาลได้ปฏิเสธคำร้องของเธอที่ว่า มหาวิทยาลัยการจัดการกรณีของเธออย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงเธอจะไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาล อ้างอิง : Plagiarism battle. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 508(7496), 292-293. http://www.nature.com/news/seven-days-11-17-april-2014-1.15048– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ทางวิชาการ

ด้วยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เล่ม 130 ตอนพิเศษ 127 ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาใช้วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ได้แก่– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Open Access ของสำนักพิมพ์ Elsevier

Open Access (OA) หมายถึง เอกสารวิชาการแบบดิจิทัล ที่มีการเผยแพร่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์ได้แบบเสรี (ฟรี) ปัจจุบันเรื่องคุณภาพ Open Access กำลังเป็นที่น่าสนใจในแวดวงวิชาการเกี่ยวกับการตีพิมพ์บทความวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Jeffrey Beall บรรณารักษ์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมรายชื่อสำนักพิมพ์และรายชื่อวารสารที่เข้าข่ายลักษณะจอมปลอม หลอกลวง (Predatory) ที่เรียกว่า Beall’s List of Scholarly Open Access Publishers ไว้ ว่าผู้แต่งบทความควรจะเสนอตีพิมพ์บทความวิจัยภายในสำนักพิมพ์หรือวารสารดังกล่าวหรือไม่ Elsevier สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโลก และเป็นเจ้าของฐานข้อมูล ScienceDirect มีวารสารที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ตนเอง จำนวน 2,500 รายชื่อ ได้เกาะติดกระแส Open Access โดยจัดบริการ Open Access ไว้ 3 เรื่อง คือ Open Access Journal, Open Access Articles และ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประเมินคุณภาพผลงานวิจัย ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

เป็นหัวข้อการบรรยาย ในกิจกรรม NSTDA Knowledge Sharing ภายใน สวทช. ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่  18 กรกฎาคม 2556 โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  สรุปใจความได้ดังนี้ ผู้บรรยาย กล่าวย้ำว่าหัวข้อการบรรยายนี้ เป็นการประเมินคุณภาพ ของงานวิจัยเพื่อความเลิศทางวิชาการ เท่านั้น (ยกเว้นงานวิจัยประเภทอื่นๆ คือ  งานวิจัยเพื่อเศรษฐกืจ  งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างชุมชน และงานวิจัยนโยบาย)  โดยวัด นับจำนวนจากบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร หนังสือวิชาการเป็นหลัก (research publication) เทียบกับระดับนานาชาติ วารสารวิชาการที่มีคุณภาพ ต้องมี กองบรรณาธิการ (Editorial review) และการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญในสาขา (Peer review)    การประเมินคุณภาพ เชิงคุณภาพ วิธีดีที่สุด คือ ต้องตรวจสอบด้วยการอ่านเท่านั้น ซึ่งในการปฏิบัติ  ต้องใช้เวลามาก ใช้ผู้เชี่ยวชาญอ่านจำนวนมาก  ซึ่งไม่สามารถทำได้ จึงใช้ทางอ้อมแทน คือ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเปิดตัววารสาร Open -Access ชื่อใหม่

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดธุรกิจ -   วารสารประเภท Open-access ชื่อใหม่ที่ชื่อ PeerJ. ได้เปิดตัวขึ้นมาใหม่ เปิดบริการที่เว็บไซต์  https://peerj.com/ สำนักพิมพ์มีข้อเสนอให้แก่ผู้แต่งบทความที่สนใจเสนอตีพิมพ์บทความ โดยยกเว้นค่าสมาชิกเพื่อการตีพิมพ์ในช่วง 1 ปีแรก ในจำนวนเงิน 299 เหรียญสหรัฐ  วารสารได้เริ่มตีพิมพ์บทความวิจัยชุดแรก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013  ผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องนี้มองว่าเป็นโมเดลทางธุรกิจที่ผิดจากธรรมดา ผู้ก่อตั้ง กล่าวว่าวารสารอาจมีการลดราคาค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ลงอย่างมากต่อไป อ้างอิง : Open-access launch .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature.,  494 (7436), 152 – 153. http://www.nature.com/news/seven-days-8-14-february-2013-1.12412– ( 104 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สำนักพิมพ์ผู้ล่าเหยื่อ (Predatory publishers)

ชุมชนวิจัยไทย คงจะรู้จักรายการรายชื่อสำนักพิมพ์ และ รายชื่อวารสารของ Beall เป็นอย่างดี (Beall’s List) ซึ่งใน ขณะนี้ประชาคมวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลกกำลังตื่นตัวในเรื่องข้างต้นเป็นอย่างมาก จากข้อมูลชุด Beall’s List of  scholarly open-access publisherss ที่เป็นรายการรายชื่อสำนักพิมพ์ รายชื่อวารสาร ที่เข้าข่ายน่าสงสัย มีพิรุธ เป็นลักษณะจอมปลอม   หลอกลวง บรรณารักษ์ชื่อ Jeffrey Beall  (Metadata Librarian) แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ predatory publishers ในปี 2008 ซึ่งจากเดิมที่สนใจ ติดตาม เรียนรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์งานวิจัยแบบเปิด   (scholarly open-access publishing)  มาก่อนหน้านี้ จากนั้นได้เริ่มเขียนบล็อก เพื่อแบ่งปันชุมชนวิจัยให้รับทราบและระมัดระวัง  บล็อกของเขาได้รับความสนใจอย่างยิ่งมีเสียงเชียร์ดังก้องจากประชาคมวิจัยทั่วโลก โดยมีการเผยแพร่รายการชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัยมีพิรุธ  (ประมาณ 200 ชื่อสำนักพิมพ์และ 38 ชื่อวารสาร) ที่ http://scholarlyoa.com/publishers/

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิชาการ ควรรู้อะไรก่อนที่จะเสนอบทความตีพิมพ์

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการจริยธรรมการเผยแพร่งานวิชาการและงานวิจัย และฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ได้จัดการบรรยายวิชาการเรื่อง ” What should you know before research publication submission ? ” วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความตระหนักเกี่ยวกับจริยธรรมกับงานวิจัย  โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ  ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ (นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2540  นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2540 ) และ นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต  (ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ)  ณ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อหาคือประเด็นในเรื่องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการวิชาการทั่วโลก  ชุมชนวิชาการไทย ควรรับรู้ ติดตามให้เท่าทัน (เกมส์)  ของผู้ไม่หวังดีต่อวงการวิชาการ  เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ขอสรุปเนื้อหาการบรรยาย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

IEEE Computer Society เปิดตัว “TETC”วารสาร Open-Access

IEEE Computer Society เปิดตัววารสารที่เป็น Open-Access ชื่อใหม่ เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นใหม่ๆ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ วารสาร IEEE Transactions on Emerging Topics in Computing (TETC) คือ วารสารที่เป็น Open-Access ชื่อใหม่ของ IEEE Computer Society ซึ่งเน้นเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ และการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งยังไม่เคยมีการตีพิมพ์ในวารสารของ IEEE ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ TETC จะเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ครั้งแรกประมาณเดือนกรกฎาคม 2013 วารสาร TETC เป็นหนึ่งในวารสารที่เป็น Open-Access ของ IEEE ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียกร้องของชุมชนวิชาการในการเข้าถึงและใช้งานบทความวิชาการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับสาธารณะ โดยวารสารที่เป็น Open-Access นั้น ผู้อ่านไม่ต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าถึงและดาวน์โหลดบทความที่ตนต้องการ แต่ผู้เขียนบทความจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์และเผยแพร่บทความของตนเองแทน โดยหนึ่งบทความมีราคาประมาณ $1,350 หรือ 4,1850 บาท ที่มาข้อมูล:

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จะเป็นอย่างไรเมื่อมีการละเลยเรื่องโรคเขตร้อน

เป็นรายงานของบริษัท Thomson Reuters โดยแผนก  Global Research Report, GRR ในชื่อเรื่อง (What does it mean to be “NEGLECTED” ?)  พร้อมแสดงภาพประกอบที่เข้าใจได้ง่าย  เป็นบทความที่วิเคราะห์ด้วยการนับจากจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ (Research Article)  ซึ่งเป็นหลักการของการศึกษา Bibliometrics สรุปเนื้อหาได้ดังนี้ จากชื่อเรื่องที่สื่อถึงความนัย ว่ามีการละเลย ทอดทิ้ง ในเรื่องการวิจัยเพื่อรักษาโรคเขตร้อน ซึ่งมักเป็นหัวข้อที่คลุมเครือบ่อยๆเสมอมา รายงานนี้เป็นผลจากการทบทวน ตรวจสอบ ด้วยหลักการของการศึกษา Bibliometrics study  แสดงผลออกมาเป็น ภูมิทัศน์งานวิจัยจากสิ่งที่ซับซ้อน สามารถเปิดเผยออกมาได้อย่างน่าทึ่ง โดยพบหลักฐานว่ามีความสนใจมากขึ้นในการวิจัยเพื่อหาวิธีรักษา และควบคุมโรคเขตร้อนในสาขาต่างๆ จากประเทศต่างๆ ยังพบว่ามีการเกิดขึ้นของศูนย์กลางการวิจัยในภูมิภาคใหม่  สามารถให้รายละเอียดสำคัญนี้แก่ผู้บริหารที่กำหนด ตัดสินนโยบาย ของวงการสาธารณสุขทั่วโลกได้ – ( 150 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Thomson Reuters : บริการ InCites

บริษัท Thomson Reuters  ผู้นำการให้บริการสารสนเทศวิชาการแบบสร้างสรรค์ มีชื่อเสียงเป็นผู้ผลิตฐานข้อมูลการอ้างอิงแห่งแรกของโลก (Citation Index Database) และฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการการอ้างอิงเป็นหลัก เช่น  ฐานข้อมูล Journal Citation Report, JCR  แหล่งข้อมูลที่ให้ค่าผลกระทบ (Impact Factor, IF) ของวารสารวิชาการคุณภาพชั้นนำในสาขาต่างๆ ของโลก รวมถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตร Derwent World Patent Index, DWPI และ Thomson Innovation ผลิตโปรแกรม EndNote ที่ช่วยจัดการรายการบรรณานุกรมของบทความวิจัยในรูปแบบต่างๆ และยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศวิเคราะห์ทางวิชาการ บริษัท Thomson Reuters   ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ InCites เป็นครั้งแรกในเมืองไทยให้แก่ชุมชนห้องสมุด InCites คือ บริการประเมินคุณภาพการวิจัย (Research Performance Evaluation) ที่เป็นลักษณะเป็นแพลทฟอร์ม เว็บเบส หรือเป็นเครื่องมือ ที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยจากรายการบทความวิจัยตีพิมพ์  จากทั่วโลก เป็นระบบที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้ (Customized, citation-based

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments