magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 4)
formats

การตรวจสอบพืชจีเอ็ม

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2014 พืชจีเอ็ม ที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GM) ในจำนวนหนึ่ง เริ่มถูกตรวจสอบมากขึ้นในอาหารที่มีการซื้อขาย โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)  ที่กรุงโรม  กล่าวเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ว่า เป็นการสำรวจครั้งแรก FAO รายงานว่าใน 75 ของประเทศสมาชิก โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลระบุว่าพบว่ามีอาหาร 198 ชนิด ที่มีส่วนของพืชจีเอ็มในระดับต่ำจึงคาดคะเนไม่ได้เป็นจีเอ็ม ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้าการสำรวจระหว่างปี 2009  และปี 2012 อาหารที่มีส่วนผสมจากเมล็ดฝ้าย ข้าว ข้าวโพด   และมะละกอ เมื่อตรวจพบว่ามาจากการขนส่ง ส่วนใหญ่ถูกทำลายหรือส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง FAO มีเป้าหมาย ตรวจจับพืชจีเอ็มด้วยเทคโนโลยีการตรวจจับที่ดีขึ้น อ้างอิง : GM crops detected. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 507(7492), 277-278.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หน่วยงานวิจัยญี่ปุ่นขอโทษ

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2014 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม สถาบันวิจัยญี่ปุ่น RIKEN กรุงโตเกียว ที่เป็นต้นสังกัดของผู้แต่งบทความวิจัยสองคน ที่มีกรณีโต้เถียงเรื่องบทความเรื่องเซลล์ต้นกำเนิดได้กล่าวขอโทษ สำหรับความผิดพลาดในการวิจัย RIKEN ได้ประกาศผลเบื้องต้นของการตรวจสอบซึ่งเป็นการทำงานที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์  Haruko Obokata  ที่อธิบายถึงวิธีการ reprogramming เซลล์ตัวอ่อนของหนู เป็น เอกสารที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นเพราะการใช้ภาพซ้ำหลายภาพ อ้างอิง : Research apology.(2014) Seven days : The News in brief. Nature., 507(7492), 277-278. http://www.nature.com/news/seven-days-14-20-march-2014-1.14894– ( 24 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครือข่ายความร่วมมือการวิจัยด้านโรคติดเชื้อ

Published on March 27, 2014 by in S&T Stories,

เหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออย่างรุนแรงชี้ให้เห็นว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นปัญหาและความท้าทายของคนทั้งโลก เครือข่ายความร่วมมือการวิจัยระดับนานาชาติเพื่อความพร้อมในการป้องกันโรคติดเชื้อ จึงกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมหน่วยงานของ (กลุ่ม) ประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สหภาพยุโรปหรืออียู สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส สวีเดน และบราซิล ที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยด้านการระบาดของโรคติดเชื้อ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือภายใน 48 ชั่วโมงภายหลังเกิดการระบาด นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีประสานความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องของแต่ละภูมิภาค เพื่อการวิจัยเร่งด่วนอย่างทันท่วงทีต่อการแพร่ระบาดของโรค – ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สาระวิทย์ เดือนมีนาคม 2557 (12)

เรื่องเด่น เรื่องจากปก : สวทช.โชว์ผลงานวิจัยเด่นในงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2557 หน้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก : เมนูอาหารเช้า 7 ชนิด ที่ควรหลีกเลี่ยง ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย : หญิงไทยคนแรกที่ได้เดินทางท่องอวกาศ แพทย์ศิริราชผ่าตัดใส่หัวใจเทียมสำเร็จรายแรกของไทย ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์ : ต้นไม้คายน้ำเป็น “แม่คะนิ้ง!” – ( 28 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เหตุใดบางคนจึงจำความฝันได้ดี

Published on March 18, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เหตุใดบางคนจึงจำความฝันได้ดี สิ่งที่ทำให้ความฝันยังคงเป็นปริศนาสำหรับนักวิทยาศาสตร์คือ คนบางคนจำความฝันได้ดี ขณะที่บางคนจำความฝันไม่ค่อยได้ ล่าสุดทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาลียง ประเทศฝรั่งเศส ได้ทำการสังเกตการณ์จนพบว่า ผู้ที่จำความฝันได้ดีจะมีการตื่นตัวในขณะที่หลับบ่อยครั้ง ซึ่งมากกว่าผู้ที่จำความฝันไม่ค่อยได้หลายเท่านัก นอกจากนี้ สมองของผู้ที่จำความฝันได้ดียังมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระตุ้นในขณะที่หลับและช่วงที่ตื่นมากกว่าอีกด้วย ซึ่งปฏิกิริยาที่มากกว่าปกตินี้ทำให้เกิดการตื่นตัวในช่วงกลางคืนอยู่นั่นเอง และอาจจะช่วยทำให้จดจำความฝันในช่วงกลางคืนได้ด้วย – ( 27 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์พบความคล้ายกันของสมองมนุษย์และสุนัข

Published on March 18, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิทยาศาสตร์พบความคล้ายกันของสมองมนุษย์และสุนัข การดูเจ้าตูบจอมซนพยายามทำสิ่งที่มนุษย์ทำนั้นเป็นนับว่าเป็นเรื่องขำขันและมอบรอยยิ้มให้เราเสมอ ไม่ว่ามันจะขับรถหรือพยายามจะนั่งเก้าอี้ก็ตาม  แต่ที่จริงแล้วได้มีงานวิจัยชิ้นใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าที่จริงแล้วสุนัขนั้นเหมือนกับมนุษย์นั่นแหล่ะ อย่างน้อยๆ ก็ในเรื่องประมวลผลเสียงและอารมณ์ ซึ่งการค้นพบดังกล่าวยังมาพร้อมกับภาพสแกนสมองสำหรับการพิสูจน์ยืนยันอีกต่างหาก – ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความเจ็บปวด ลบได้ด้วยแสง

Published on March 18, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ความเจ็บปวด…ลบได้ด้วย “แสง”? ความเจ็บปวดนั้นนับว่าเป็นปัญหาใหญ่และยากที่แก้ แน่นอนว่าเราสามารถที่จะเพิ่มปริมาณของตัวยามอร์ฟีนเพื่อระงับความเจ็บปวดในระยะเวลาสั้นๆ ได้ แต่นักวิทยาศาสตร์นั้นก็ยังประสบปัญหาในการที่จะจัดการกับปัญหาจากอาการเจ็บปวดเรื้อรังเป็นระยะเวลานานอยู่ดี  อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นใหม่จากแลป Bio-X ที่ทันสมัยของมหาวิทยาลัย Stanford นั้นเหมือนจะเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สำหรับการแก้ปัญหาที่ยุ่งยากนี้แล้ว – ( 30 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพิมพ์ส่งข้อความทำให้คุณเดินคล้ายกับหุ่นยนต์

Published on March 18, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การพิมพ์ส่งข้อความทำให้คุณเดินคล้ายกับหุ่นยนต์ มันเป็นเรื่องปกติที่การส่งข้อความสามารถทำให้คุณหลุดออกจากเส้นทางได้และทำให้เราเดินคล้ายกับหุ่นยนต์ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่คุณจะล้มได้ นักวิจัยชาวออสเตรเลียกล่าวไว้ และนักกายภาพบำบัด Dr Siobhan Schabrun จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นซิดนีย์ และลูกทีมวิจัยของเขาได้รายงานการค้นพบครั้งนี้ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ PLOS ONE “มนุษย์จะมีแนวโน้มที่จะชะลอความเร็วลงและหลุดออกจากการเดินที่เป็นเส้นตรงเมื่อพวกเขากำลังทำการส่งข้อความ” Schabrun กล่าว และเธอก็บอกอีกด้วยว่า เมื่อเราทำการส่งข้อความขณะเดิน ศรีษะของเราจะมีการเคลื่อนไหวที่มากกว่าดังนั้นเราจะทำการมุ่งให้ความสนใจไปยังโทรศัพท์ และนั่นทำให้เราเดินลักษณะคล้ายกับหุ่นยนต์ – ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้ชายอายุมาก โอกาสมีบุตรที่มีความผิดปกติก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย

Published on March 18, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เมื่อผู้ชายอายุมากขึ้นโอกาสมีบุตรที่มีความผิดปกติก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย เราทุกคนรู้ดีว่าเมื่อผู้ชายอายุมากขึ้น ตัวอสุจิของเขาก็แก่ตัวลงไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพนั้นค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ แต่งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าจริงๆ แล้วตัวอสุจินั้นอาจจะเกิดการกลายพันธุ์เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้คุณผู้ชายต้องกลายเป็นพ่อของบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ – ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไร

การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไรนั้น เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า สมองมนุษย์ตีความภาษาเขียนอย่างไร แม้ว่าจะใช้ตัวอักษรและคำแทนเสียงพูดและความคิดของมนุษย์ แต่สมองยังตีความตัวอักษรและคำให้เป็นวัตถุทางกายภาพ แมรีแอน วูล์ฟ (Maryanne Wolf) นักวิทยาศาสตร์การเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยทัฟส์ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ Proust and the Squid เมื่อปี พ.ศ. 2544 ว่า มนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับวงจรสมองเฉพาะสำหรับการอ่าน เพราะมนุษย์เพิ่งประดิษฐ์การเขียนในช่วงประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาลนี้เอง ดังนั้น เด็กๆ จะพัฒนาสมองเพื่อรองรับการอ่านขึ้นมาจากระบบประสาทที่ใช้กับความสามารถอื่นๆ เช่น จากการพูดจา การประสานงานอวัยวะ และการมองเห็น สมองส่วนที่พัฒนาขึ้นมานี้ จึงมีความเชี่ยวชาญในการรับรู้วัตถุ เมื่อหัดอ่านหัดเขียน มนุษย์เรียนรู้จดจำลักษณะตัวอักษรจากเส้นตรง เส้นโค้ง และช่องว่าง ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทั้งสายตาและมือสัมผัส นอกจากสมองคนจะตีความตัวอักษรเป็นเหมือนวัตถุ สมองยังรับรู้ข้อความที่ครบถ้วนเหมือนเป็นภาพวาด ขณะที่อ่านหนังสือ จินตนาการภาพเหตุการณ์ขึ้นในใจ ถึงแม้กระบวนการสร้างภาพจะไม่ชัดเจนนัก ทั้งนี้จากประวัติและการศึกษาที่ผ่านมา คนมักจดจำลำดับเนื้อหาสาระที่ปรากฏขึ้นตามตำแหน่งของเนื้อหาจากในหนังสือ ซึ่งจะคล้ายกับเวลาเดินป่า ตอนที่จำได้ว่าต้องผ่านบ้านสีแดงก่อนจะเริ่มปีนเขา – ( 11 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments