magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by wilailuck
formats

เครือข่ายความร่วมมือการวิจัยด้านโรคติดเชื้อ

Published on March 27, 2014 by in S&T Stories,

เหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออย่างรุนแรงชี้ให้เห็นว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นปัญหาและความท้าทายของคนทั้งโลก เครือข่ายความร่วมมือการวิจัยระดับนานาชาติเพื่อความพร้อมในการป้องกันโรคติดเชื้อ จึงกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมหน่วยงานของ (กลุ่ม) ประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สหภาพยุโรปหรืออียู สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส สวีเดน และบราซิล ที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยด้านการระบาดของโรคติดเชื้อ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือภายใน 48 ชั่วโมงภายหลังเกิดการระบาด นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีประสานความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องของแต่ละภูมิภาค เพื่อการวิจัยเร่งด่วนอย่างทันท่วงทีต่อการแพร่ระบาดของโรค – ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คาร์โกลักซ์: เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจขนส่งสินค้า

การเป็นลูกค้ารายแรกของเครื่องบินขนส่งรุ่น 747-8Fs ซึ่งเป็นเครื่องบินขนส่งรุ่นใหม่ล่าสุดของบริษัทโบว์อิงทำให้บริษัทคาร์โกลักซ์ สามารถประหยัดพลังงานในการดำเนินธุรกิจได้ถึงร้อยละ 16 เนื่องด้วยเครื่องบินขนส่งรุ่น 747-8Fs มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานมากกว่ารุ่นก่อนคือรุ่น 747-8F ซึ่งนอกจากประหยัดพลังงานมากกว่าแล้ว เครื่องบินขนส่งรุ่น 747-8Fs ยังทำให้บริการของบริษัทคาร์โกลักซ์มีเสียงรบกวนน้อยลงถึงร้อยละ 30 และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้นอีกด้วย ในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่สามารถลดระยะเวลาในการบินได้นับเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจขนส่งสินค้า ด้วยเหตุนี้ บริษัทคาร์โกลักซ์จึงทบทวนเส้นทางการบินเพื่อทำให้แน่ใจลูกค้าได้รับสินค้าด้วยบริการที่มีประสิทธิภาพโดยใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและในราคาที่ต่ำที่สุด และยังร่วมมือกับบริษัทลักซ์แอร์คาร์โก (LuxairCARGO) ซึ่งสร้างโรงเก็บของพิเศษสำหรับสินค้าที่ต้องขนส่งด้วยความพิถีพิถัน เช่น เครื่องมือแพทย์ซึ่งต้องใช้ทั้งการควบคุมอุณหภูมิเฉพาะและต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปนเปื้อน พนักงานของบริษัทคาร์โกลักซ์ก็เช่นกันได้รับการฝึกอบรมให้ขนส่งสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิในการขนส่งเหล่านี้ ความพิถีพิถันในการให้บริการขนส่งสินค้าดังกล่าวเป็นหนึ่งในจุดแข็งที่บริษัทคาร์โกลักซ์ใช้แข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1210—-12557    – ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การวิจัยน้ำเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากไม่ได้รับการบริหารจัดการที่ดี น้ำที่เคยเป็นสิ่งจำเป็นอาจกลายเป็นสิ่งที่ก่อปัญหาให้กับมนุษย์ได้ การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางและการทำงานของน้ำอย่างเช่นงานวิจัยของ นาย Fabrizio Fenicia นักวิจัยน้ำแห่งสถาบัน CRP Gabriel Lippmann เป็นสถาบันการวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์การพัฒนาเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลลักเซมเบิร์ก คาดว่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการคาดการณ์ความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมและภัยแล้ง และความสามารถในการบริหารจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืนได้ดีขึ้น — ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล

ในวาระที่ศาสตราจารย์ Francois Englert จากมหาวิทยาลัยเปิดแห่งบรัสเซลส์ หรือยูแอลบี (Universite Libre de Bruxelles; ULB) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับศาสตราจารย์ Peter Higgs นักฟิสิกส์ชาวสก๊อตแลนด์เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้น นิตยสาร Horizon ของสหภาพยุโรปได้เข้าสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ Englert อีกครั้งเกี่ยวกับประเด็นที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น บทบาทของสถาบันวิจัยและเงินทุนสาธารณะในวงการวิทยาศาสตร์ การพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างนักทฤษฎีและนักทดลอง รวมถึงคำถามที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล เมื่อถูกถามว่า ตนจะสามารถได้รับรางวัลโนเบลนี้หรือไม่ หากปราศจากการค้นพบจุลภาคชนิดใหม่ที่เรียกว่า “โบซอน” (boson) โดยสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป ศาสตราจารย์ Englert กล่าวว่า ในสาขาฟิสิกส์ที่ตนทำงานวิจัย การพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีที่คิดค้นขึ้นเป็นจริงได้นั้น ต้องอาศัยระบบเครื่องมือขนาดใหญ่และผลการทดลองเช่นที่ CERN ได้นำออกสู่สาธารณะ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีดังกล่าวเป็นจริงหากปราศจากเครื่องมือและผลงานของนักทดลอง — ( 14 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บริษัทเบลเยียมยื่นประมูลงานทำลายอาวุธเคมีในซีเรีย

บริษัทกำจัดของเสีย Indaver สัญชาติเบลเยียมได้แสดงความจำนงอย่างเป็นทางการต่อองค์กรห้ามใช้อาวุธเคมีหรือโอพีซีดับเบิลยู (Organisation for the Prohibition Chemical Weapons: OPCW) ว่าต้องการประมูลงานทำลายอาวุธเคมีของซีเรียที่โอพีซีดับเบิลยูเปิดประมูล ก่อนหน้านี้ ซีเรียได้แจ้งต่อโอพีซีดับเบิลยูอย่างเป็นทางการว่า ซีเรียมีอาวุธเคมีในครอบครอง 1,300 ตัน การแจ้งว่ามีอาวุธเคมีในครอบครองดังกล่าว ทำให้ซีเรียได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี ค.ศ. 2013 โดยซีเรียกำลังดำเนินการนำอาวุธเคมีเหล่านี้ไปทำลายในต่างประเทศภายใต้การจัดการและควบคุมของโอพีซีดับเบิลยู ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีพันธกิจในการส่งเสริมและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention) ด้วยวิธีการปลดและทำลายอาวุธ การยับยั้งไม่ให้เกิดการแพร่กระจายและการมีความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกบรรลุข้อตกลงในอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี เป็นต้น– ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยุโรปวางแผนสร้างสถานที่เก็บกากกัมมันตรังสีถาวร

พลังงานนิวเคลียร์เป็น 1 ใน3 ของแหล่งพลังงานที่ยุโรปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด และเมื่อคำนึงถึงแผนการของอียูที่จะนำยุโรปเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจและสังคมที่พึ่งพาคาร์บอนต่ำแล้ว พลังงานนิวเคลียร์จะยังคงเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยุโรปต้องพึ่งพา อย่างไรก็ดี ยุโรปต้องเผชิญกับความท้าทายในการกำจัดหรือจัดเก็บกากกัมมันตรังสีที่ปลอดภัยในระยะยาว เพราะวิธีการกำจัดหรือจัดเก็บในปัจจุบันยังไม่ปลอดภัยเพียงพอ ทุกวันนี้ กากกัมมันตรังสี 270,000 ตัน ถูกจัดเก็บอยู่ในถัง (vats) จัดเก็บชั่วคราว โดยเก็บไว้ในสระน้ำซึ่งสร้างขึ้นเฉพาะสำหรับการจัดเก็บดังกล่าว ซึ่งสถานที่จัดเก็บกระจายตัวอยู่ทั่วโลก อย่างไรก็ดี ภายหลังเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะในปี ค.ศ. 2011 มีความกังวลมากว่า หากสระน้ำดังกล่าวได้รับอันตรายหรือน้ำแห้ง อาจเกิดการรั่วไหลของกากกัมมันตรังสีจากถังจัดเก็บชั่วคราวดังกล่าวได้ — ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนาพันธุ์พืชต้านโรคและความแห้งแล้ง

ในปีหนึ่ง ๆ อียูต้องนำเข้าพืชที่ให้โปรตีนสูง อย่างถั่วเหลืองเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์จากอเมริกาใต้ถึงร้อยละ 70-80 ต่อปี ในปี ค.ศ. 2011 เพียงปีเดียว อียูนำเข้าถั่วเหลืองมากถึง 12 ล้านตัน หรือ 10 เท่าของจำนวนถั่วเหลืองที่อียูผลิตได้เอง สาเหตุสำคัญที่ทำให้อียูไม่สามารถผลิตพืชที่ให้โปรตีนสูงเพื่อเป็นอาหารสัตว์อย่างถั่วเหลืองได้ เนื่องด้วยพืชเหล่านี้มักไม่สามารถทนทานต่อโรคพืช ความแห้งแล้ง และการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นดังกล่าวซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการผลิตพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ อียูให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัย ABSTRESS (Improving the resistance of legume crops to combined abiotic and biotic stress) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความต้านทานต่อความแห้งแล้งและโรคพืชได้โดยใช้เทคนิคระดับโมเลกุลและการประมวลผลโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ค้นหาสายพันธุ์พืชที่มีความสามารถต้านทานความแห้งแล้งและโรคพืช — ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตเนื้อสัตว์

องค์การยายุโรป หรืออีเอ็มเอ (European Medicines Agency; EMA) รายงานว่า สวีเดนเป็นประเทศที่ใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตเนื้อสัตว์น้อยที่สุดในยุโรป โดยใช้ปฏิชีวนะเฉลี่ย 13.6 มิลลิกรัมต่อการผลิตเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม ตามด้วยฟินแลนด์ที่ใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตเนื้อสัตว์เฉลี่ย 24 มิลลิกรัมต่อการผลิตเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม ลัตเวีย 35 มิลลิกรัม ต่อการผลิตเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม และลิทัวเนีย 42 มิลลิกรัมต่อการผลิตเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม สำนักความปลอดภัยด้านอาหารของอียู หรือ เอฟซ่า (European Food Safety Authority) ระบุว่า เมื่อเกิดปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร ปัญหาดังกล่าวมักถ่ายทอดมาถึงมนุษย์ด้วย ทำให้ประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อในมนุษย์ลดลง — ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การรณรงค์ในอียูให้องค์กรสาธารณะเป็นผู้บริหารทรัพยากรน้ำ

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชากรประเทศสมาชิกอียู ตามเจตนารมย์ของสนธิสัญญาลิสบอนที่ต้องการให้การออกกฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัว ประชาชนจำนวน 500 ล้านคนของอียูมากขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 2012 อียูได้ออกเครื่องมือในการมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า EU Citizens’ Initiative ด้วยกลไกการมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าว ประชากรประเทศสมาชิกอียูสามารถจัดทำข้อเสนอนโยบายในเรื่องใดก็ได้ หากสามารถรวบรวมรายชื่อได้ 1 ล้านรายชื่อจากเพื่อนชาวอียูอย่างน้อย 7 ประเทศใน 28 ประเทศสมาชิกทั้งหมด การรณรงค์ข้อเสนอดังกล่าว นับเป็นการใช้กลไกการมีส่วนร่วมทางการเมือง EU Citizens’ Initiative เป็นครั้งแรก มีวัตถุประสงค์ผลักดันให้อียูยอมรับความสำคัญของทรัพยากรน้ำเป็นสมบัติของสาธารณะ เพื่อสาธารณะ และควรได้รับการบริหารจัดการโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นตัวแทนของสาธารณะ ไม่ใช่เอกชน ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1210—-12557  – ( 8 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับชั้นโอโซน

ชั้นโอโซน (ozone layer) ในบรรยากาศเป็นกลุ่มก๊าซที่คอยห่อหุ้มและปกป้องโลกจากรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก การทำลายระบบภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อชั้นโอโซนในบรรยากาศอย่างไรบ้าง โครงการRECONCILE ซี่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากอียูจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อหาคำตอบดังกล่าว โครงการRECONCILE ศึกษากระบวนการทางเคมีที่ทำให้เกิดการบางตัวลงของชั้นโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ (STRATOSPHERE) ด้วยการศึกษาจากแบบจำลอง (MODEL STUDIES) การศึกษาจากห้องทดลอง (LAB STUDIES) และการเก็บข้อมูลจากพื้นที่จริง ซึ่งรวมถึงการใช้เครื่องบินชนิดพิเศษปล่อยบอลลูนเพื่อเก็บข้อมูลในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ในบริเวณอาร์คติก– ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments