magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 5)
formats

เทคโนโลยีจากหนังที่กลายเป็นจริง

สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, หุ่นยนต์ ฯลฯ ที่เคยเป็นแค่จินตนาการจากในหนัง กลายมาเป็นเทคโนโลยีที่สัมผัสได้จริงแล้ววันนี้  มีคนเคยพูดไว้ว่าชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย แต่ในบางครั้งนิยายก็กลายเป็นต้นแบบของชีวิตจริงได้ด้วยเช่นกัน เหมือนอย่างที่บรรดาหนังดังจากวงการฮอลลีวูดได้วาดภาพถึงอนาคตที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีสุดล้ำ ทำให้เราได้แต่เฝ้าฝันว่าสักวันจะได้สัมผัสของจริง โดยเฉพาะกับภาพยนตร์ไซไฟหลาย ๆ เรื่องดังต่อไปนี้ ที่แม้ในเราจะยังไม่ได้อาศัยอยู่บนสถานีอวกาศ แต่ก็มีอุปกรณ์ตั้งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ, เครื่องแปลภาษา และหุ่นยนต์สุดล้ำต่าง ๆ หลากหลายเทคโนโลยีจากหนังที่กลายมาเป็นเรื่องจริง ใครจะไปเชื่อว่าภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องที่เราเคยดูเพื่อความสนุกสนานบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Iron Man, Transformers, Star Wars ฯลฯ ได้กลายเป็นตัวจุดแนวคิด นำไปสู่อุปกรณ์และเทคโนโลยีสุดล้ำในโลกความจริง อีกหลากหลายเทคโนโลยีที่สามารถก้าวล้ำทะลุแผ่นฟิล์มออกมาโลดแล่นรอบตัวเราได้แล้วในทุกวันนี้         แหล่งที่มา : “เทคโนโลยีจากหนังที่กลายเป็นจริง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://tech.th.msn.com. (วันที่ค้นข้อมูล 16 มีนาคม 2557).– ( 149 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเรียนรู้ของเด็กระหว่างหน้าจอทดแทนกระดาษ

การวิจัยหลายเรื่องชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้ของเด็กๆ ทารกที่ใช้หน้าจอทดแทนกระดาษนั้น มีข้อเสียที่เราไม่ควรมองข้าม ปี พ.ศ. 2555 สถาบันโจอันแกนซ์คูนีย์ในนครนิวยอร์ก ได้ทดสอบพ่อแม่ 32 คู่ที่มีลูกๆ อายุ 3-6ปี พบว่า เด็กๆ ที่อ่านนิทานบนกระดาษสามารถจดจำรายละเอียดได้ดีกว่ากลุ่มเด็กที่อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ และเกมส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้มีเสียงระฆังเสียงหวูดที่คอยดึงความสนใจของเด็กๆ ออกจากเนื้อหานิทานไปเล่นตัวอุปกรณ์นั้นเอง ในการสำรวจติดตามผลพ่อแม่ 1,226 คน พ่อแม่เหล่านี้ยัง นิยมอ่านหนังสือนิทานกับลูกหลานด้วยกันมากกว่าการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 มีรายงานผลการศึกษาที่เหมือนกันแทบทุกประการใน Mind, Brain, and Education โดย จูเลีย แพร์ริช-มอร์ริส (Julia Parrish-Morris) และเพื่อนร่วมวิจัยพบว่า เมื่อพ่อแม่ช่วยกันอ่านหนังสือนิทานให้เด็กๆ อายุ 3 และ 5 ขวบฟัง พ่อแม่จะคอยเล่าเรื่องชีวิตที่ผ่านมาให้ลูกหลานฟังไปด้วย แต่เมื่อมานั่งอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีทั้งภาพและเสียง พ่อแม่จะเสียจังหวะการอ่านนิทานแบบนี้ เพราะมัวคอยห้ามเด็กๆ ไม่ให้กดปุ่มนั้นปุ่มนี้ และมักเสียจังหวะเล่าเรื่องเสมอ การเสียสมาธิการอ่านแบบนี้ทำให้เด็กทารก 3 ขวบ ไม่เข้าใจแม้แต่ใจความสำคัญของนิทาน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การทำเกษตรในระบบโรงเรือนและการบริหารจัดการแบบครบวงจร

ฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส สวทช. ได้จัดการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การทำเกษตรในระบบโรงเรือนและการบริหารจัดการแบบครบวงจร ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กับเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง จ. อุบลราชธานี สถานีความรู้แห่งแรก คือ สวนอีเดน เพื่อเรียนรู้รูปแบบการปลูกพืช ท้ังแบบไฮโดรโปนิกส์ แบบโรงเรือน และแบบขั้นบันได การวางระบบน้ำ และคลุมแปลงปลูกด้วยพลาสติกสีดำ เพื่อความสะดวกในการจัดการน้ำและวัชพืชในแปลงปลูก พืชที่ปลูก ได้แก่ ผักสลัด พืชผัก สมุนไพร ไม้ดอกและไม้ประดับ สถานีความรู้ถัดมา คือ บจก. สามเหลี่ยมเมล็ดพันธุ์ จ. ลำพูน เพื่อศึกษาเทคนิคการเก็บเมล็ดพันธุ์ เช่น ผักสลุด มะเขือเทศ เมล่อน พริก ถั่วพู ผักปลัง รวมทั้งให้คำแนะนำการปลูกเมล่อน ซึ่งมีรสชาติหวานกรอบ ทนต่อสภาพอากาศ ดูแลรักษาง่าย คล้ายกับการปลูกแตงไทย โดยปล่อยให้เถาเลื้อยไปตามพืน ไม่ต้องทำค้าง แต่ต้องยกพื้นแปลงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อป้องก้นน้ำท่วมขังราก เทคนิคการปลูกแอปเปิ้ลเมล่อนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ คือ อย่าให้ติดลูกใกล้ต้น ควรปล่อยให้เมล่อนติดลูกตั้งแต่ข้อที่ 10 ขึ้นไป เพื่อให้ผลเมล่อนไม่แตกก่อนการเก็บเกี่ยว

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Jenesys 2.0 โครงการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมแบบมองการณ์ไกลของญี่ปุ่น

Jenesys 2.0 เกิดขึ้นตามนโยบายของนายซินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในระหว่างการเยือนประเทศอินโดนีเซีย (16 มกราคม 2556) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว รวมถึงประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจอันดีถึงคุณค่าวัฒนธรรม และความเป็นประเทศญี่ปุ่น คณะทูตเยาวชนไทย 47 ชีวิตได้เดินทางจากประเทศไทยไปญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 26 มกราคม ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557  ในการเยือนพบกับความประทับใจในเรื่องความมีวินัยของคนญี่ปุ่น ทัศนคติเรื่องการทำเพื่อส่วนรวมก่อนเสมอ รวมทั้งประสบการณ์การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวญี่ปุ่นแบบ home stay ทำให้ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างรู้คุณค่าในตนเอง รู้คุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การทัศนศึกษาสถานที่ต่างๆ เช่น Tokyo Institute of Technology มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำของญี่ปุ่น ณ วิทยาเขต Ohokayama  ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟซินคันเซนของบริษัท JR East และบริษัท Michisaki เป็นโรงงานปลูกพืชที่ใช้เทคโนโลยี Nutriculture โดยใช้สารละลายธาตุอาหารพืช เพื่อฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่เคยประสบภัยสึนามิ ให้สามารถปลูกพืชประเภทต่างๆ ได้เช่น สตรอว์เบอรรี่ มะเขือเทศ ให้ได้พันธุ์ดี

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำไมสมองชอบกระดาษ

แปลตรงๆ จากบทความ Why the Brain Prefers Paper โดย Ferris Jabr ค่ะ จาก Scientific American, November 2013 เป็นบทความที่ผู้เขียนเปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์การอ่านอิเล็กทรอนิกส์กับกระดาษหนังสือ ทำไมกระดาษจึงยังคงดีกว่าหน้าจอการอ่านจากอุปกรณ์เหล่านั้น แม้ว่าในทุกวันนี้เทคโนโลยีได้พัฒนาให้หน้าจอการอ่านเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้นแล้ว– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คนเราจะอ่านจับใจความจากหนังสือได้ดีกว่าการอ่านจากหน้าจอ

จากการวิจัยโดย แอนน์ แมนเจน (Anne Mangen) และเพื่อนร่วมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตาเวนเจอร์ ประเทศนอร์เวย์  ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2556  ได้ให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 72 คน อ่านบทความเชิงบรรยายโวหาร และอธิบายความ โดยให้นักเรียนจำนวนครึ่งหนึ่งอ่านบนกระดาษ และอีกครึ่งหนึ่งอ่านจากไฟล์ PDF บนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วให้ทำแบบทดสอบความเข้าใจโดยสามารถเปิดเอกสารที่ใช้อ่านได้ด้วย จากการศึกษานี้ พบว่านักเรียนที่อ่านบทความบนคอมพิวเตอร์ทำคะแนนได้น้อยกว่า เพราะต้องคอยเลื่อนเมาส์หรือคลิกเปิดไปทีละหน้า ต่างจากนักเรียนที่อ่านจากหนังสือ ถือตำราไว้ในมือและสามารถเปิดพลิกไปยังหน้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วกว่า แมนเจนกล่าวว่า “ขณะที่อ่านหนังสือนั้น เราเปรียบแต่ละหน้าเหมือนแต่ละก้าวของการเดินทาง เราออกเดินทางจากทิศตะวันออกไปสู่จุดหมาย และทุกสิ่งในระหว่างทางทั้งหมดเป็นเส้นทางที่สัมพันธ์กัน วิธีนี้อาจช่วยให้เราใช้สมาธิอ่านทำความเข้าใจได้ง่ายและสามารถอ่านจับใจความได้ดี”   ที่มา: Ferris Jabr. “Why the Brain Prefers Paper.” Scientific American, November 2013 : – ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จับตาปรากฏการณ์วิทยาศาสตร์ 2557

ปี 2557 น่าจะเป็นปีที่ตื่นตาตื่นใจครั้งใหญ่อีกครั้งสำหรับวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก มีหลากสิ่งหลายอย่างในระดับ “ปรากฏการณ์” กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้าไม่นานนี้ ตั้งแต่การสำรวจตรวจสอบภายในโลกของเราเอง และทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน  นั่นคือปรากฏการณ์ที่ต้องรอลุ้นระทึกกันตลอดทั้งปีหน้ากัน ต่อไปนี้คือ บางส่วนของปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนั้น 1. การสำรวจโลกใต้ผิวน้ำแข็ง เมื่อปลายปี 2555 ทีมนักวิทยาศาสตร์รัสเซีย ได้สำรวจโลกใต้พื้นผิวน้ำแข็งหนามากกว่า4 กิโลเมตร สามารถเจาะผ่านแผ่นน้ำแข็งเหนือทะเลสาบวอสต็อก พบว่า ภายใต้น้ำแข็งหนาขนาดนั้น ในทวีปที่หนาวเย็นตลอดปีอย่าง แอนตาร์กติก มี”แอ่งน้ำ” ลึก 500 เมตร  สิ่งที่น่าสนใจมากขึ้นไปกว่านั้นก็คือ เมื่อนำเอาน้ำตัวอย่างมาตรวจสอบ ก็พบว่าในน้ำตัวอย่างจากใต้น้ำแข็งลึกและเย็นจัดตลอดปีนั้น เต็มไปด้วย “ดีเอ็นเอ”  ขณะนี้ดีเอ็นเอ ดังกล่าวกำลังได้รับการตรวจวิเคราะห์อยู่อย่างคร่ำเคร่ง เพื่อหาคำตอบสำคัญที่ว่า “มีสิ่งมีชีวิตอยู่ใต้ทะเลสาบน้ำแข็งวอสต็อกหรือไม่” ถ้าหากมีสิ่งมีชีวิต ที่ว่านี้คืออะไรกันแน่ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะลำเค็ญถึงที่สุดเช่นนั้นได้  จุลชีพเหล่านี้ดำรงอยู่ได้อย่างไร จะกลายเป็นองค์ความรู้หาค่าไม่ได้สำหรับโลก และยิ่งกระตุ้นให้มีการควานหาคำตอบต่อเนื่องต่อไปว่า มีอะไรที่ใหญ่กว่าสัตว์หรือพืชเซลล์เดียวอยู่ใต้โลกลึกลับนั้นอีกหรือไม่?– ( 34 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พืชตัดต่อพันธุกรรม เติบโตช้าลง

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์  2014 องค์กรไม่แสวงหากำไร ชื่อ International Service for the Acquisition of Agri-Biotech Applications รายงานเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์  ว่า การเพาะปลูกพืชตัดต่อพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์ของโลก  เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3 ในปี 2013 ในพื้นที่จำนวน 175 ล้านแฮกแตร์ ถือว่าเป็นพื้นที่น้อยที่สุด เท่าที่เคยมีมา สหรัฐอเมริกาเพาะปลูกข้าวโพดสายพันธ์ทนแล้ง 70.4 ล้านแฮกแตร์ คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 0.9 จากปีก่อน รายชื่อประเทศหลักที่เพาะปลูก GM Crop ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนติน่า บราซิล อินเดีย แคนาดา และอื่นๆ อ้างอิง :  GM-Crop Growth slows.  (2014)  Seven days : The

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สิทธิบัตร เซลล์ต้นกำเนิด

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์  2014 นักวิทยาศาสตร์ Woo Suk Hwang ชาวเกาหลี ผู้น่าอับอาย ทำขายหน้า ได้รับการอนุมัติสิทธิบัตรจากสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา (USPTO) ในเทคโนโลยี human embryonic stem cell เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ Hwang ถูกพบว่ากระทำวามผิดด้วยการฉ้อโกงเงินและชีวจริยธรรมเมื่อปี 2009   USPTO แจ้งกับ Nature ว่า รับรู้เรื่องการต้มตุ๋นของ Hwang ในอดีต ในส่วนคำขอสิทธิบัตรสำนักงานก็ต้องดำเนินการตามคำขอเช่นคำขออื่นๆ เช่นกัน อ้างอิง :  Stem -cell patent.  (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 506 (7488), 270-271. http://www.nature.com/news/seven-days-14-20-february-2014-1.14729– ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การควบคุมโรค

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์  2014 หน่วยงาน US Centers for Disease  Control and Prevention และ Department of Defense ประกาศเมื่อวันที่  13 กุมภาพันธ์ เรื่องการเข้าร่วมงานเป็นทีมงานกับอีก  26 ประเทศ รวมถึง องค์การอนามัยโลก WHO  ในช่วงเวลา 5 ปี ข้างหน้า เพื่อปรับปรุงในการตรวจจับและควบคุมโรคในระดับโลก  โดยกำหนดให้ชื่อว่า Global Health Security Agenda โดยเรียกร้องให้แต่ละประเทศเพิ่มภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น รวมถึงแบ่งปันข้อมูล ประธานาธิบดีบารัก โอบามา จะของบประมาณเพิ่มอีก 45 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการนี้  ในเดือนหน้า อ้างอิง :  Disease control.  (2014)  Seven days : The News in 

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments