magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 3)
formats

ผลพลอยได้ LNG ประโยชน์ด้านการเกษตร

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเศรษฐกิจ 9 เม.ย.  2557 – ไปดูความคืบหน้าปีที่ 4 ของการทดลองนำความเย็นที่ได้จากกระบวนการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG มาใช้ประโยชน์ ซึ่งปีนี้มีความสำเร็จของการปลูกไม้ผล  นอกเหนือจากดอกไม้เมืองหนาว ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. http://www.mcot.net/site/content?id=53453e08be04701ad98b45a9#.U0X20lf9Hcs– ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระวังหูฟังคุณหมอ แหล่งสะสมเชื้อโรค

Published on April 9, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ระวัง! หูฟังคุณหมอ แหล่งสะสมเชื้อโรค แม้ว่ามือของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลจะเป็นแหล่งเชื้อโรคแหล่งหลักๆ ในโรงพยาบาล แต่ “หูฟัง” ของหมอเองนั้นก็เป็นที่สะสมเชื้อโรคเช่นกัน ในการตอบคำถามนี้ ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโรงพยาบาลเจนีวาได้ประเมินระดับการปนเปื้อนของแพทย์และหูฟังของคุณหมอหลังจากขั้นตอนการตรวจสภาพร่างกายคนไข้หนึ่งครั้ง จนกระทั่งพบว่า หูฟังหรือ stethoscope นี้เองก็มีเชื้อโรคไม่น้อยเลย – ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำไมผู้ชายจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคออทิสติก

Published on April 9, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ทำไมผู้ชายจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคออทิสติก ผู้หญิงต้องการการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มากกว่าผู้ชายในการที่จะเป็นโรคออทิสติก ราวๆ  1 ใน 88 คนของเด็กชาวอเมริกาจะเป็นโรคออทิสติก (ความผิดปกติทางการสื่อสารและอารมณ์)  มันเป็นลักษณะความผิดปกติทางสมองในรูปแบบหนึ่ง เด็กผู้ชายและผู้หญิงจะได้รับผลกระทบที่ไม่เท่ากัน เด็กผู้ชายจะมีการพัฒนาของความผิดปกติทางสมองได้มากกว่าเด็กผู้หญิงถึงสี่เท่า การศึกษาใหม่ค้นพบว่า ข้อมูลทางพันธุกรรมนั้นอาจจะอธิบายความแตกต่างนี้ได้ การเปลี่ยนแปลงที่อันตรายในยีนส์หนึ่งๆ นั้นจะเชื่อมต่อกับความผิดปกตินี้ และเด็กผู้ชายจะมีการพัฒนาของโรคออทิสติกได้ดี – ( 30 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ที่ตรวจโรคมะเร็งและโรคหัวใจแบบง่ายๆ

Published on April 9, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ใหม่! ที่ตรวจโรคมะเร็งและโรคหัวใจแบบง่ายๆ เทคนิคในการตรวจวินิจฉัยแบบใหม่ ใช้เพียงแถบกระดาษในการแสดงผล ซึ่งคล้ายๆ กับที่ตรวจการตั้งครรภ์ สำหรับโรคหัวใจและมะเร็งเป็นสองสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา และในอีกหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นที่โชคร้ายที่สองโรคนี้สามารถตรวจพบได้ยาก เพราะสภาวะที่สะท้อนความผิดปกติได้นั้นอยู่ภายในร่างกาย มันไม่ง่ายเลยที่จะตรวจจับได้จากภายนอก แต่สิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว – ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระจกหน้าต่าง กับ นก

Published on April 9, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กระจกหน้าต่าง กับ นก กระจกหน้าต่างของตึกระฟ้าฆ่านกแต่ละปีได้น้อยกว่ากระจกหน้าต่างของตึกเตี้ยๆ นกปริมาณมากตายทุกๆ ปีในสหรัฐอเมริกาด้วยการบินชนกับกระจกของตึกต่างๆ ค่าประมาณใหม่นั้นพบว่า ตัวเลขของนกที่ตายนั้นอยู่ที่ประมาณระหว่าง 365 ล้านและ 988 ล้านตัว ระหว่าง 2-10 ใน 100 นั้นนกจะตายโดยการชนกระจก “นกอาจจะมองไม่เห็นกระจก หรือบางทีมันอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นท้องฟ้าจริงๆ ที่สะท้อนออกมาจากกระจก การศึกษาใหม่พบว่า นกโดยเฉลี่ย 24 ตัว ตายทุกๆ ปี จากตึกระฟ้า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ตึกขนาดเล็กอาจจะฆ่านกโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ตัวในแต่ละปี แต่เมื่อเปรียบเทียบเพียงตึกระฟ้าหนึ่งหลังเท่านั้นกับตึกเล็กๆ หนึ่งหลัง เพื่อที่จะหาว่าตึกแบบไหนสามารถทำอันตรายต่อนกได้มากกว่ากัน” Scott Loss ชี้ให้เห็น  ซึ่งเขาเป็นนักนิเวศวิทยาจาก  Oklahoma State University ใน Stillwater ซึ่งทำการศึกษาใหม่ในครั้งนี้ – ( 12 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การทำแผนที่เส้นทางการทำงานของสมอง

Published on April 9, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การทำแผนที่เส้นทางการทำงานของสมอง แผนที่อันใหม่นี้ซึ่งแสดงเส้นทางการส่งข่าวสารภายในสมอง อาจจะช่วยอธิบายถึงสาเหตุว่าทำไมการบาดเจ็บในบางครั้งถึงได้มีความรุนแรงมากบางคนใช้คำว่า “เนื้อสีเทา” เป็นคำสแลงที่มีความหมายว่า ฉลาดหรือสมอง จริงๆ แล้วเนื้อสีเทานี้เป็นเนื้อเยื่อรูปแบบหนึ่งในสองรูปแบบหลักที่สร้างขึ้นเป็นสมอง เนื้อเยื่ออีกรูปแบบหนึ่งคือ “เนื้อสีขาว” มันทำหน้าที่เสมือนทางด่วนเพราะเป็นส่วนที่เป็นเส้นใยประสาทมัดใหญ่หลายๆ มัดเชื่อมบริเวณต่างๆ ของเนื้อสีเทาเข้าด้วยกัน และมันทำหน้าที่เสมือนกับการจราจร โดยข้อมูลข่าวสารที่ถ่ายทอดไปตามเนื้อสีขาวจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งของสมอง แผนที่อันใหม่ของเส้นทางด่วนนี้ได้อธิบายว่า – ( 24 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งานวิจัยและพัฒนา สวทช. ที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จากหนังสือวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2557 : 33-56) ได้หยิบยกตัวอย่าง งานวิจัยและพัฒนา ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่นำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยสรุปมีดังนี้ ตัวอย่างงานวิจัยและพัฒนาที่นำมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 1. ตัวอย่างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม 1.1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมกับ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนด์ดี เซ็นเตอร์ จำกัด (SRDC)) 1.2 ระบบวางแผนอัตโนมัติสำหรับการบริหารอะไหล่กังหันก๊าซ (พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ; หน่วยงานผู้รับถ่ายทอด คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) 1.3 เครื่องขันสกรูอัตโนมัติสำหรับการประกอบแผ่นวงจรฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ; หน่วยงานผู้รับถ่ายทอด คือ บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์จำกัด) 1.4 ผิวเคลือบฉนวนความร้อนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า (พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Boosting R&D to Support Green Growth Policy of Thailand) หัวข้อหนึ่งในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 สวทช. ซึ่งในปีนี้จัดภายใต้หัวข้อ เรื่อง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (S & T : Driving Force for Sustainable Development) ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2557 โดยหัวข้อ ดังกล่าว กำหนดขึ้นในวันพุธที่ 2 เมษายน 2557 ได้รับเกียรติจากวิทยากรหลายท่าน ได้แก่ Dr. Stefanos Fotiou (UNEP Asia-Pacific Regional Office) มาบรรยายในหัวข้อเรื่อง International Policy and Action

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตอนที่ 2

ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวานนี้ (1 เมษายน 2557) มีการสัมมนาเรื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวิทยากร 5 ท่าน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการบรรยายของ 3 ท่านหลัง ดังนี้ 1. ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดเผาะในป่าชุมชน สรุปการบรรยายได้ว่า เห็ดเผาะเวลารับประทานจะกรอบ มีมากทางภาคอีสานและเหนือ มีราคาค่อนข้างแพง ในสภาพอากาศที่แห้งแล้งพืชอาศัยที่ดีสำหรับเห็ดเผาะเช่น กล้าไม้รัง ไม้พวง ส่วนในอากาศไม่แห้งแล้งไม้วงศ์ยางเป็นพืชอาศัยที่ดี ความรู้เกี่ยวกับเห็ดเผาะเหล่านี้จะนำไปสู่การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน เช่น 1. เห็ดเผาะแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เห็ดเผาะฝ้ายและเห็ดเผาะหนัง โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เห็ดเผาะฝ้ายจะมีเส้นใยรอบดอกมาก ฟู เกิดเป็นกลุ่ม ผนังด้านนอกของดอกมีสีขาว ส่วนเห็ดเผาะหนังมีเส้นใยรอบดอกเรียบมีน้อย เกิดกระจัดกระจาย ผนังด้านนอกของดอกมีสีดำ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตอนที่ 1

เมื่อวานนี้ (1 เมษายน 2557) ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการสัมมนาเรื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวิทยากร 5 ท่าน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการบรรยายของ 2 ท่านแรก ดังนี้ 1. นายกฤษชนะ นิสสะ โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อ.ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดระโงกเหลืองในฤดูกาลและนอกฤดูกาล สรุปการบรรยายได้ว่า เห็ดระโงกแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ เห็ดระโงกเหลือง เห็ดระโงกขาว และเห็ดระโงกแดงส้ม ชื่อของเห็ดบ่งบอกถึงสีของเห็ดที่ปรากฏ เห็ดระโงกเหลืองมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงมากอย่างชัดเจนกว่าเห็ดชนิดอื่นตามข้อมูลทางโภชนาการ เห็ดระโงกนิยมเพาะเลี้ยงมากทางภาคอีสานของประเทศ วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดระโงกคือ นำเห็ดระโงกที่แก่ผสมน้ำแล้วไปรดลงที่รากของต้นกล้าไม้วงศ์ยาง ทิ้งไว้ประมาณ 4-6 เดือน แล้วจึงปลูกต้นกล้าลงดิน ปีที่ 3 เห็ดจะเริ่มออก ปีที่ 5-6

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments