magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไร
formats

การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไร

การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไรนั้น เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า สมองมนุษย์ตีความภาษาเขียนอย่างไร แม้ว่าจะใช้ตัวอักษรและคำแทนเสียงพูดและความคิดของมนุษย์ แต่สมองยังตีความตัวอักษรและคำให้เป็นวัตถุทางกายภาพ

แมรีแอน วูล์ฟ (Maryanne Wolf) นักวิทยาศาสตร์การเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยทัฟส์ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ Proust and the Squid เมื่อปี พ.. 2544 ว่า มนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับวงจรสมองเฉพาะสำหรับการอ่าน เพราะมนุษย์เพิ่งประดิษฐ์การเขียนในช่วงประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาลนี้เอง ดังนั้น เด็กๆ จะพัฒนาสมองเพื่อรองรับการอ่านขึ้นมาจากระบบประสาทที่ใช้กับความสามารถอื่นๆ เช่น จากการพูดจา การประสานงานอวัยวะ และการมองเห็น สมองส่วนที่พัฒนาขึ้นมานี้ จึงมีความเชี่ยวชาญในการรับรู้วัตถุ เมื่อหัดอ่านหัดเขียน มนุษย์เรียนรู้จดจำลักษณะตัวอักษรจากเส้นตรง เส้นโค้ง และช่องว่าง ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทั้งสายตาและมือสัมผัส

นอกจากสมองคนจะตีความตัวอักษรเป็นเหมือนวัตถุ สมองยังรับรู้ข้อความที่ครบถ้วนเหมือนเป็นภาพวาด ขณะที่อ่านหนังสือ จินตนาการภาพเหตุการณ์ขึ้นในใจ ถึงแม้กระบวนการสร้างภาพจะไม่ชัดเจนนัก ทั้งนี้จากประวัติและการศึกษาที่ผ่านมา คนมักจดจำลำดับเนื้อหาสาระที่ปรากฏขึ้นตามตำแหน่งของเนื้อหาจากในหนังสือ ซึ่งจะคล้ายกับเวลาเดินป่า ตอนที่จำได้ว่าต้องผ่านบ้านสีแดงก่อนจะเริ่มปีนเขา

หนังสือจะสามารถแสดงให้เห็นเป็นภาพเหตุการณ์ได้ชัดเจนกว่าตัวหนังสือบนหน้าจอ การเปิดหนังสือแสดงให้ผู้อ่านรับรู้ได้ถึงขอบเขตอย่างชัดเจนจากหน้ากระดาษซ้ายขวา และสร้างความคุ้นเคยจากมุมทั้งแปดของหนังสือ เราเน้นอ่านที่หน้าใดหน้าหนึ่งของหนังสือ โดยไม่ต้องกลัวว่าตัวหนังสือจะมีการเลื่อนหายไป เราสามารถรับรู้ได้ถึงความหนาบางของหน้าที่กำลังอ่านไปแล้ว และส่วนที่เหลืออยู่อีกด้านหนึ่งซึ่งยังไม่ได้อ่าน เราพลิกหนังสือแต่ละหน้าจะเกิดความรู้สึกเหมือนว่าได้ฝากรอยเท้าไว้ในเวลาที่เราเดินทางไปยังที่ต่างๆ อย่างเป็นจังหวะและสามารถบันทึกได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เราสามารถนำทางการอ่านของเราจากหน้าหนังสือได้ และยังช่วยให้ปะติดปะต่อสร้างภาพเชื่อมโยงเนื้อหาสาระขึ้นเป็นภาพเหตุการณ์ขึ้นในใจได้ง่ายอีกด้วย

ในทางตรงกันข้าม อุปกรณ์ดิจิทัลส่วนใหญ่รบกวนระบบนำทางจากสัญชาตญาณของผู้อ่าน และทำให้สร้างแผนที่ภาพเหตุการณ์ขึ้นในใจไม่ได้ แม้ผู้อ่านหนังสือดิจิทัลจะเลื่อนแถบข้อความได้ต่อเนื่องหรือแตะเปลี่ยนหน้าไปทีละหน้าหรือใช้ฟังก์ชันค้นหาวลีได้ทันที แต่ในความสะดวกกลับยากที่จะมองเห็นภาพรวมในบริบททั้งหมด อุปมาเหมือน Google Maps ให้เปิดดูแผนที่ได้เฉพาะถนนหรือเฉพาะที่อยู่ที่เจาะจงได้ แต่ไม่อนุญาตให้ซูมออกไปดูบริเวณข้างเคียงเพื่อดูแผนที่ชุมชน แผนที่รัฐ หรือแผนที่ประเทศ ซึ่งเหมือนคนอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่คอยชำเลืองดูแถบโปรเกรสบาร์กลับรู้สึกคลุมเครือว่าอ่านหนังสือไปถึงไหนแล้ว ซึ่งจะต่างกับความรู้สึกของผู้อ่าน ที่สังเกตน้ำหนักของหน้าหนังสือที่อ่านไปแล้วและหน้าที่ยังไม่ได้อ่านได้ ในปัจจุบันถึงแม้ว่าอุปกรณ์อีรีดเดอร์และแท็บเล็ตจะจำลองการจัดแบ่งหน้าเพื่อให้สะดวกแก่ผู้อ่าน แต่หน้าดังกล่าวนั้นเพียงการจำลองชั่วคราวซึ่งเมื่ออ่านผ่านไปแล้วหน้าเหล่านั้นก็หายไปด้วย การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงเปรียบเหมือนการเดินป่าในเส้นทางที่มองเห็นต้นไม้ ก้อนหิน หรือสิ่งรอบตัววิ่งผ่านตาไปชั่วพริบตา โดยไม่ทิ้งร่องรอยที่เป็นรูปธรรมของเส้นทางที่ได้เคยเดินทางผ่านมาแล้ว อีกทั้งมองไม่เห็นเส้นทางที่กำลังจะเดินทางต่อไปข้างหน้าอีกด้วย

อบิเกล เจ ซัลเลน (Abigail J. Sellen) แห่งสถาบันวิจัยไมโครซอฟท์แคมบริดจ์ในประเทศอังกฤษ ผู้ร่วมแต่งหนังสือ The Myth of the Paperless Office ในปี พ.. 2544 กล่าวว่า “ความรู้สึกที่ผู้อ่านรู้ว่าได้อ่านหนังสือไปถึงตรงไหนแล้วมีความสำคัญมากกว่าที่เราคิด ต่อเมื่อเราเริ่มอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจังแล้วเราจึงจะหวนคิดถึงความรู้สึกเก่าๆ นั้นอีกครั้ง ผู้ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้คิดอย่างรอบคอบว่าเวลาเราอ่านหนังสือ เราได้สร้างจินตภาพอะไรบ้าง”

ที่มา:

Ferris Jabr. “Why the Brain Prefers Paper.” Scientific American, November 2013 :– ( 12 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 × = thirty six

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>