magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "NAC2014"
formats

การส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Boosting R&D to Support Green Growth Policy of Thailand) หัวข้อหนึ่งในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 สวทช. ซึ่งในปีนี้จัดภายใต้หัวข้อ เรื่อง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (S & T : Driving Force for Sustainable Development) ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2557 โดยหัวข้อ ดังกล่าว กำหนดขึ้นในวันพุธที่ 2 เมษายน 2557 ได้รับเกียรติจากวิทยากรหลายท่าน ได้แก่ Dr. Stefanos Fotiou (UNEP Asia-Pacific Regional Office) มาบรรยายในหัวข้อเรื่อง International Policy and Action

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors)

การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 10 วันที่ 2 เมษายน 2557 ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันการตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ท าให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้สะดวกขึ้น สามารถที่จะสกัดพฤติกรรมการคัดลอกผลงานของคนอื่นส่งผลให้การผลิตผลงานทางวิชาการในระดับต่างๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยได้มีการนำโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และมีแผนจะนำไปใช้กับการพิจารณาการให้ทุนวิจัยการพิจารณาผลงานทางวิชาการ การสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้พัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานและความคล้ายกันของเอกสาร  3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลโยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ – ( 808 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตอนที่ 2

ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวานนี้ (1 เมษายน 2557) มีการสัมมนาเรื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวิทยากร 5 ท่าน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการบรรยายของ 3 ท่านหลัง ดังนี้ 1. ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดเผาะในป่าชุมชน สรุปการบรรยายได้ว่า เห็ดเผาะเวลารับประทานจะกรอบ มีมากทางภาคอีสานและเหนือ มีราคาค่อนข้างแพง ในสภาพอากาศที่แห้งแล้งพืชอาศัยที่ดีสำหรับเห็ดเผาะเช่น กล้าไม้รัง ไม้พวง ส่วนในอากาศไม่แห้งแล้งไม้วงศ์ยางเป็นพืชอาศัยที่ดี ความรู้เกี่ยวกับเห็ดเผาะเหล่านี้จะนำไปสู่การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน เช่น 1. เห็ดเผาะแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เห็ดเผาะฝ้ายและเห็ดเผาะหนัง โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เห็ดเผาะฝ้ายจะมีเส้นใยรอบดอกมาก ฟู เกิดเป็นกลุ่ม ผนังด้านนอกของดอกมีสีขาว ส่วนเห็ดเผาะหนังมีเส้นใยรอบดอกเรียบมีน้อย เกิดกระจัดกระจาย ผนังด้านนอกของดอกมีสีดำ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตอนที่ 1

เมื่อวานนี้ (1 เมษายน 2557) ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการสัมมนาเรื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวิทยากร 5 ท่าน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการบรรยายของ 2 ท่านแรก ดังนี้ 1. นายกฤษชนะ นิสสะ โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อ.ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดระโงกเหลืองในฤดูกาลและนอกฤดูกาล สรุปการบรรยายได้ว่า เห็ดระโงกแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ เห็ดระโงกเหลือง เห็ดระโงกขาว และเห็ดระโงกแดงส้ม ชื่อของเห็ดบ่งบอกถึงสีของเห็ดที่ปรากฏ เห็ดระโงกเหลืองมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงมากอย่างชัดเจนกว่าเห็ดชนิดอื่นตามข้อมูลทางโภชนาการ เห็ดระโงกนิยมเพาะเลี้ยงมากทางภาคอีสานของประเทศ วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดระโงกคือ นำเห็ดระโงกที่แก่ผสมน้ำแล้วไปรดลงที่รากของต้นกล้าไม้วงศ์ยาง ทิ้งไว้ประมาณ 4-6 เดือน แล้วจึงปลูกต้นกล้าลงดิน ปีที่ 3 เห็ดจะเริ่มออก ปีที่ 5-6

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เก่งได้…ไร้ขีดจำกัด

วันนี้ (1 เมษายน 2557) ได้ฟัง ดร. ต่าย หรือ นิศรา การุณอุทัยศิริ เรื่อง เก่งได้…ไร้ขีดจำกัด ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 สวทช. หรือ NAC2014 โดยในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อหลัก “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”  ดร. ต่ายใช้เวลาเล่าให้ฟังแบบสนุก แต่ได้สาระ แม้ว่าเราจะไม่ใช่กลุ่มผู้ปกครองที่อยากรู้เคล็ดลับ เพื่อจะได้ดูแลลูกหรือเด็กๆ หรือผลักดันให้เก่งอย่าง ดร. ต่าย แต่เราไปฟัง เพราะเกิดศรัทธาในความคิดจากการเคยฟังเรื่องการอ่าน ที่ ดร. ต่ายมาพูดให้ฟังถึงความสำคัญของการอ่าน เพื่อสนับสนุนโครงการอ่านล้านเล่ม ในงาน NSTDA Charity Day ที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ ศรัทธาความคิดของ ดร. ต่าย อย่างไรนั้น คงต้องเคารพการเลี้ยงดูและการปลูกฝังความคิดจากครอบครัวของ ดร. ต่าย เพราะ ดร. ต่าย ระลึกอยู่เสมอว่า คุณพ่อและคุณแม่ เป็นข้าราชการ ได้เรียนในโรงเรียนรัฐบาล

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันนี้ (31 มีนาคม 2557) ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการเสวนาพิเศษหัวข้อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน (แต่ละท่านมีเวลา 20 นาที) คือ 1. คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พูดถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  2. คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นยุทธศาสตร์ของภาคเอกชนคือการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  3. คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงกลยุทธ์เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยกตัวอย่างบริษัทน้ำตาลมิตรผลซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยโดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรไม่ใช่ใช้แรงงานคนอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน ทำให้ในอนาคตอาจแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้  4. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงนวัตกรรมขับเคลื่อน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

NAC2014: กิจกรรมและการเยี่ยมชมเพื่อเยาวชนและผู้ปกครอง

พบกับกิจกรรมสนุกๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเยาวชน การเสวนาพิเศษเพื่อนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ครูอาจารย์และผู้สนใจทั่วไป การเยี่ยมชมศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้ง 4 ศูนย์ของ สวทช. และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สถานที่จัดกิจกรรม: บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร One Day Camp กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย – มัธยมศึกษาตอนต้น Robots All Around: วันที่ 1 เมษายน 2557 (ทั้งวัน) เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านสื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มหัศจรรย์เคมี ตอน เคมีของเงิน และ ลูกเด้ง: วันที่ 2 เมษายน 2557 (รอบเช้า) เรียนรู้หลักพื้นฐานของวิชาเคมี องค์ความรู้ทางเคมี และลงมือทดลองปฏิบัติการด้านเคมี เรื่อง “เคมีของเงิน และลูกเด้ง” กระตุกต่อมคิด…กับนักประดิษฐ์หุ่นยนต์น้อยสู่อาเซียนปีที่ 2: วันที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การผลิตกรดไขมันโอเมก้าสามและโอเมก้าหก จากจุลินทรีย์

ปัจจุบัน เทคโนโลยีชีวภาพด้านลิปิดมีการเติบโตอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการลิปิดที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ การผลิตลิปิดจากจุลินทรีย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพนอกเหนือจากการผลิตจากแหล่งดั้งเดิมจากพืช สัตว์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อย่างไรก็ตามในการนำลิปิดจากจุลินทรีย์มาใช้จริงในระดับอุตสาหกรรมมีข้อจำกัดทั้งด้านต้นทุน คุณภาพและปริมาณผลผลิต ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการหมักและวิศวกรรมชีวเคมี หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ จึงมุ่งเน้นศึกษาการพัฒนาการผลิตลิปิดจากจุลินทรีย์ โดยเฉพาะกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้าสามและโอเมก้าหก กรดไขมันโอเมก้าสามที่สำคัญ ได้แก่ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิค (EICOSAPENTAENOIC ACID) หรือ EPA และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิค (DOCOSAHEXAENOIC ACID) หรือ DHA ส่วนกรดไขมันโอเมก้าหกที่สำคัญ ได้แก่ กรดแกมม่าลิโนเลนิค (GAMMA-LINOLENIC ACID) หรือ GLA และกรดอะแรคชิโดนิค (ARACHIDONIC ACID) หรือ ARA หรือ AA ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้มีประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ โดยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิต้านทาน เป็นต้น ข้อมูลเพิ่มเติม     ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ผลงานวิจัย วิชาการ สำหรับกิจกรรม NAC2014 ได้ที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สาระวิทย์ เดือนมีนาคม 2557 (12)

เรื่องเด่น เรื่องจากปก : สวทช.โชว์ผลงานวิจัยเด่นในงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2557 หน้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก : เมนูอาหารเช้า 7 ชนิด ที่ควรหลีกเลี่ยง ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย : หญิงไทยคนแรกที่ได้เดินทางท่องอวกาศ แพทย์ศิริราชผ่าตัดใส่หัวใจเทียมสำเร็จรายแรกของไทย ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์ : ต้นไม้คายน้ำเป็น “แม่คะนิ้ง!” – ( 28 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หินฟองน้ำไล่ยุง

บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด เป็นบริษัทที่ผลิตกระจกสำหรับอาคารมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และพบว่าในแต่ละเดือนจะมีเศษกระจกเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตหลายสิบตัน นายพลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ ทายาทธุรกิจรุ่นที่สองจึงเกิดแนวคิดสร้างมูลค่าจากของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ พลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ เผยว่าเขาเป็นทายาทรุ่น 2 ของ บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด ซึ่งมีธุรกิจผลิตกระจกสำหรับอาคาร โดยแต่ละเดือนต้องซื้อกระจกมาผลิตถึง 400 ตัน และมีเศษกระจกเหลือทิ้งที่ต้องขายคืนโรงหล่อกระจกมากถึง 40 ตัน ในฐานะผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรมของบริษัท พลัฏฐ์จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากเศษกระจกดังกล่าว และแก้ปัญหาให้แก่บริษัท และพบว่ามีงานวิจัยที่นำเศษกระจกไปทำเป็นแก้วรูพรุน หรือ หินฟองน้ำสำหรับใช้ประดับสวนได้ “แก้วรูพรุนที่ได้มีความคงตัว ไม่ยุบเพราะเผาที่อุณหภูมิสูง และสีไม่ซีดเพราะผสมผงสีลงในกระจแล้วเผา แต่นอกจากใช้เป็นหินประดับแล้ว น่าจะเพิ่มฟังก์ชันอื่นๆ ที่ไม่ขัดกับสินค้า เนื่องจากเป็นหินประดับสวน หากเติมกลิ่นไล่แมลงได้ด้วยน่าจะเป็นประโยชน์” พลัฏฐ์กล่าว ทั้งนี้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลัฏฐ์ได้ลองฉีดกลิ่นตะไคร้หอมลงหินรูพรุน แต่กลิ่นอยู่ได้เพียง 2 สัปดาห์ จึงอยากได้วิธีที่รักษากลิ่นได้ยาวนาน ซึ่งพบว่าศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) มีเทคโนโลยีที่ช่วยกักกลิ่นได้นาน 2 เดือน จึงได้ประสานงานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี จากการสำรวจตลาดโดยให้กลุ่มร้านอาหารทดลอง พบว่าบางส่วนไม่ชอบกลิ่นตะไคร้หอม จึงเป็นโจทย์ว่าต้องพัฒนากลิ่นอื่นเติมลงไป

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments