magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "brain"
formats

การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไร

การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไรนั้น เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า สมองมนุษย์ตีความภาษาเขียนอย่างไร แม้ว่าจะใช้ตัวอักษรและคำแทนเสียงพูดและความคิดของมนุษย์ แต่สมองยังตีความตัวอักษรและคำให้เป็นวัตถุทางกายภาพ แมรีแอน วูล์ฟ (Maryanne Wolf) นักวิทยาศาสตร์การเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยทัฟส์ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ Proust and the Squid เมื่อปี พ.ศ. 2544 ว่า มนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับวงจรสมองเฉพาะสำหรับการอ่าน เพราะมนุษย์เพิ่งประดิษฐ์การเขียนในช่วงประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาลนี้เอง ดังนั้น เด็กๆ จะพัฒนาสมองเพื่อรองรับการอ่านขึ้นมาจากระบบประสาทที่ใช้กับความสามารถอื่นๆ เช่น จากการพูดจา การประสานงานอวัยวะ และการมองเห็น สมองส่วนที่พัฒนาขึ้นมานี้ จึงมีความเชี่ยวชาญในการรับรู้วัตถุ เมื่อหัดอ่านหัดเขียน มนุษย์เรียนรู้จดจำลักษณะตัวอักษรจากเส้นตรง เส้นโค้ง และช่องว่าง ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทั้งสายตาและมือสัมผัส นอกจากสมองคนจะตีความตัวอักษรเป็นเหมือนวัตถุ สมองยังรับรู้ข้อความที่ครบถ้วนเหมือนเป็นภาพวาด ขณะที่อ่านหนังสือ จินตนาการภาพเหตุการณ์ขึ้นในใจ ถึงแม้กระบวนการสร้างภาพจะไม่ชัดเจนนัก ทั้งนี้จากประวัติและการศึกษาที่ผ่านมา คนมักจดจำลำดับเนื้อหาสาระที่ปรากฏขึ้นตามตำแหน่งของเนื้อหาจากในหนังสือ ซึ่งจะคล้ายกับเวลาเดินป่า ตอนที่จำได้ว่าต้องผ่านบ้านสีแดงก่อนจะเริ่มปีนเขา – ( 11 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเรียนรู้ของเด็กระหว่างหน้าจอทดแทนกระดาษ

การวิจัยหลายเรื่องชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้ของเด็กๆ ทารกที่ใช้หน้าจอทดแทนกระดาษนั้น มีข้อเสียที่เราไม่ควรมองข้าม ปี พ.ศ. 2555 สถาบันโจอันแกนซ์คูนีย์ในนครนิวยอร์ก ได้ทดสอบพ่อแม่ 32 คู่ที่มีลูกๆ อายุ 3-6ปี พบว่า เด็กๆ ที่อ่านนิทานบนกระดาษสามารถจดจำรายละเอียดได้ดีกว่ากลุ่มเด็กที่อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ และเกมส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้มีเสียงระฆังเสียงหวูดที่คอยดึงความสนใจของเด็กๆ ออกจากเนื้อหานิทานไปเล่นตัวอุปกรณ์นั้นเอง ในการสำรวจติดตามผลพ่อแม่ 1,226 คน พ่อแม่เหล่านี้ยัง นิยมอ่านหนังสือนิทานกับลูกหลานด้วยกันมากกว่าการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 มีรายงานผลการศึกษาที่เหมือนกันแทบทุกประการใน Mind, Brain, and Education โดย จูเลีย แพร์ริช-มอร์ริส (Julia Parrish-Morris) และเพื่อนร่วมวิจัยพบว่า เมื่อพ่อแม่ช่วยกันอ่านหนังสือนิทานให้เด็กๆ อายุ 3 และ 5 ขวบฟัง พ่อแม่จะคอยเล่าเรื่องชีวิตที่ผ่านมาให้ลูกหลานฟังไปด้วย แต่เมื่อมานั่งอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีทั้งภาพและเสียง พ่อแม่จะเสียจังหวะการอ่านนิทานแบบนี้ เพราะมัวคอยห้ามเด็กๆ ไม่ให้กดปุ่มนั้นปุ่มนี้ และมักเสียจังหวะเล่าเรื่องเสมอ การเสียสมาธิการอ่านแบบนี้ทำให้เด็กทารก 3 ขวบ ไม่เข้าใจแม้แต่ใจความสำคัญของนิทาน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำไมสมองชอบกระดาษ

แปลตรงๆ จากบทความ Why the Brain Prefers Paper โดย Ferris Jabr ค่ะ จาก Scientific American, November 2013 เป็นบทความที่ผู้เขียนเปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์การอ่านอิเล็กทรอนิกส์กับกระดาษหนังสือ ทำไมกระดาษจึงยังคงดีกว่าหน้าจอการอ่านจากอุปกรณ์เหล่านั้น แม้ว่าในทุกวันนี้เทคโนโลยีได้พัฒนาให้หน้าจอการอ่านเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้นแล้ว– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คนเราจะอ่านจับใจความจากหนังสือได้ดีกว่าการอ่านจากหน้าจอ

จากการวิจัยโดย แอนน์ แมนเจน (Anne Mangen) และเพื่อนร่วมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตาเวนเจอร์ ประเทศนอร์เวย์  ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2556  ได้ให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 72 คน อ่านบทความเชิงบรรยายโวหาร และอธิบายความ โดยให้นักเรียนจำนวนครึ่งหนึ่งอ่านบนกระดาษ และอีกครึ่งหนึ่งอ่านจากไฟล์ PDF บนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วให้ทำแบบทดสอบความเข้าใจโดยสามารถเปิดเอกสารที่ใช้อ่านได้ด้วย จากการศึกษานี้ พบว่านักเรียนที่อ่านบทความบนคอมพิวเตอร์ทำคะแนนได้น้อยกว่า เพราะต้องคอยเลื่อนเมาส์หรือคลิกเปิดไปทีละหน้า ต่างจากนักเรียนที่อ่านจากหนังสือ ถือตำราไว้ในมือและสามารถเปิดพลิกไปยังหน้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วกว่า แมนเจนกล่าวว่า “ขณะที่อ่านหนังสือนั้น เราเปรียบแต่ละหน้าเหมือนแต่ละก้าวของการเดินทาง เราออกเดินทางจากทิศตะวันออกไปสู่จุดหมาย และทุกสิ่งในระหว่างทางทั้งหมดเป็นเส้นทางที่สัมพันธ์กัน วิธีนี้อาจช่วยให้เราใช้สมาธิอ่านทำความเข้าใจได้ง่ายและสามารถอ่านจับใจความได้ดี”   ที่มา: Ferris Jabr. “Why the Brain Prefers Paper.” Scientific American, November 2013 : – ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments