magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 7)
formats

การเติบโตขึ้นของฟาร์มเลี้ยงปลา

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์  2014 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ธนาคารโลกได้เผยแพร่รายงาน ทำนายว่า ในปี 2030 การบริโภคอาหารทะเลของโลกจะมีปริมาณสัตว์น้ำ ถึงร้อยละ 62 ที่มาจากการเพาะเลี้ยงจากฟาร์ม โดยในปี 2010 ผลผลิตจากฟาร์มคิดเป็นร้อยละ 40 ในอนาคตจะมีความต้องการมากขึ้นในแถบภูมิภาคต่างๆ รวมถึงเอเซีย เนื่องจากการลดลงของสัตว์น้ำตามธรรมชาติ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ กระตุ้นให้เกิดฟาร์มเพาะเลี้ยงขึ้นมาทดแทน อ้างอิง : Growing fish farms.  (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 506 (7487), 136-137. http://www.nature.com/news/seven-days-7-13-february-2014-1.14695– ( 5 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งานวิจัยของจีนเพิ่มขึ้น

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์  2014 จากรายงาน Science and Engineering Indicators 2014 ที่เผยแพร่ออกมาแบบราย 2 ปี ของหน่วยงาน US National Science Foundation แสดงข้อมูลแนวโน้มงานวิจัยของโลก ได้รายงานว่าจำนวนบทความวิจัยที่มีผู้แต่ง หรือ ผู้แต่งร่วม ที่เป็นนักวิทยา ศาสตร์ชาวจีน มีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นค่าเฉลี่ย สูงขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี  ตั้งแต่ช่วงปี 2001 – 2011 รวมทั้ง ประเทศจีนเป็นประเทศผู้นำในการวิจัยวิทยาศาสตร์ของโลกด้วย โดยมีจำนวนเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของโลกในขณะที่ สหรัฐอเมริกามีสัดส่วนลดลงร้อยละ 26 อ้างอิง : China’s research rise.  (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature.,

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จีนปลุกชีพยานสำรวจกระต่ายหยกบนดวงจันทร์ได้แล้ว

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเทคโนโลยี ปักกิ่ง 13 ก.พ. 2014 -สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า ยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์กระต่ายหยกที่มีปัญหาระบบกลไกขัดข้องเมื่อเดือนที่แล้ว ได้รับการแก้ไขจนกลับมาใช้ได้ตามปกติแล้ว สื่อจีนรายงานอ้างแถลงการณ์โฆษกโครงการสำรวจดวงจันทร์บนเว็บซิน่า เว่ยโป๋ ว่า ยานสำรวจกระต่ายหยก (Jade Rabbit) ฟื้นคืนชีพแล้ว หลังจากมีความกังวลกันมากขึ้นว่า ยานอวกาศฉางเอ๋อพร้อมยานสำรวจกระต่ายหยกอาจไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศที่หนาวจัดบนดวงจันทร์ในเวลากลางคืนได้ ยานสำรวจกระต่ายหยกได้ลงสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม  หลายชั่วโมงนับจากที่ยานฉางเอ๋อ3 ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ จีนส่งนักบินอวกาศคนแรกไปสำรวจอวกาศเมื่อทศวรรษก่อน และนับเป็นประเทศที่สามที่ประสบความสำเร็จในการภารกิจสำรวจดวงจันทร์ต่อจากสหรัฐและอดีตสหภาพโซเวียต อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=52fc3d6bbe0470ea7d8b4627#.UwK-w4WDjGg– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มก.-ศิลปากร เจ๋ง ผลิตสารตรวจสอบคราบเลือดเพื่องานนิติวิทยาศาสตร์ถูกกว่านำเข้า

ในคดีฆาตกรรมที่ผู้ต้องหาได้พยายามปกปิดซ่อนเร้นหลักฐาน โดยเฉพาะคราบเลือดในสถานที่เกิดเหตุ การตรวจสอบคราบเลือดด้วยตาเปล่าจึงอาจไม่สามารถมองเห็นได้เลย  ซึ่งเลือดเป็นชีววัตถุพยานที่สำคัญที่สุดในการใช้เป็นหลักฐานในการเชื่อมโยงผู้เสียหาย ผู้ต้องสงสัย และสถานที่เกิดเหตุเข้าไว้ในเหตุการณ์เดียวกัน การตรวจสอบคราบเลือดจึงต้องใช้เทคนิคทางเคมีเข้าช่วยในการสืบสวนสอบสวน– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล (Alfred Bernhard Nobel)

อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล (Alfred Bernhard Nobel) เป็นนักเคมี ชาวสวีเดน วิศวกร นักประดิษฐ์ นวัตกรรม ผู้ผลิตอาวุธและผู้คิดค้นดินระเบิดไดนาไมท์  ผู้คิดค้นดินระเบิด โดยจดสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ “ไดนาไมต์”  รวมถึงพบวิธีการสร้างวัตถุระเบิด และอาวุธยุทธภัณฑ์ ทั้งยังเป็ฯผู้ก่อตั้างรางวัลโนเบล เพื่อมอบรางวัลให้แก่บุคคลผู้สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติ โดยนำชื่อของอัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล มาตั้งเป็นชื่อธาตุ 102 ได้แก่ ธาตุโนเบเลียม (No) อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล กล่าวไว้ว่า “Hope is nature’s veil for hiding truth’s nakedness.” “ความหวังเป็นเพียงผืนผ้าคลุมที่ธรรมชาติใช้อำพรางความจริงอันโหดร้ายไว้”   แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “วาทะนักวิทย์ : อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล (Alfred Bernhard Nobel)”.  Update. 28(314)

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บริษัทกูเกิ้ล กับปัญญาประดิษฐ์

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 30  มกราคม  2014 กูเกิ้ล ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial-intelligence) ชื่อ  DeepMind แห่งกรุงลอนดอน ที่มีการใช้หลักการประสาทวิทยาของมนุษย์ เพื่อกระตุ้นให้เกิด อัลกอริทึมของคอมพิวเตอร์  โดยกูเกิ้ลยืนยันในการตกลงซื้อขายเรื่องนี้ ในสัปดาห์นี้  โดยที่ในปีที่ผ่านมา กูเกิ้ลได้มีการว่าจ้าง ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงด้าน artificial intelligence  เช่น  Ray Kurzweil,  Geoffrey Hinton มีการคาดการณ์ว่า กูเกิ้ลจะใช้หลักการปัญญาประดิษฐ์นี้ในการปรับปรุง ในเรื่อง picture tagging, voice recognition และ search engines ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 30  มกราคม  2014 อ้างอิง : Google think deep. (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature.,

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยเอ็มเทค 1 ใน 5 นักวิทยาศาสตร์ไทยตัวแทนเข้าร่วมประชุม(GYSS)

นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ดร. สมบูรณ์ โอตรวรรณะ  1 ใน 5 นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการ ประชุม Global Young Scientists Summit (GYSS) ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 19-24 ม.ค. 57 ที่ผ่านมา โดยภายในงานเป็นการนำเสนอผลงาน บรรยาย กิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยานอวกาศสำรวจดาวหาง

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 22  มกราคม  2014 ยานอวกาศชื่อ Rosetta spacecraft  ของหน่วยงาน The European Space Agency ได้ตื่นขึ้นมา หลังจากจำศีลในอวกาศนานถึง 3 ปี  เป็นโครงการสำรวจดาวหางที่มีมูลค่า  1 พันล้านยูโร ที่ปล่อยสู่อวกาศในปี 2011  เมื่อวันที่ 20 มกราคม นี้  ยาน Rosetta ประสบความสำเร็จที่สามารถสื่อสารกลับมายังพื้นโลก ที่ทีมงานวิจัยแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง  ต่อจากนี้ยานจะเดินทางหาเป้าหมาย ดาวหาง ต่อไป อ้างอิง : Comet craft. (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 505 (7484), 458-459. Available at :  http://www.nature.com/news/seven-days-17-23-january-2014-1.14557– ( 13

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จะมีตัวชี้วัดสุขภาพตัวไหนที่ดีกว่าค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หรือไม่

จะมีตัวเลขง่ายๆ อะไรที่จะบอกถึงสภาพสุขภาพของคุณได้ ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) เป็นตัวเลขเบื้องต้นในการจะบอกว่าคุณอ้วนหรือไม่ ล่าสุดอาจจะมีบางวิธีเกิดขึ้น ซึ่งรายงานเหล่านี้ปรากฏอยู่ในวารสาร Science ฉบับเดือนสิงหาคม สูตรการคิดค่าดัชนีมวลกาย พัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1800 โดย Adolphe Quetelet นักสถิติและสังคมวิทยาชาวเบลเยี่ยม เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย โดยนำน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูงกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร) ดังสูตร ในการศึกษาประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้น เนื่องจากค่าดัชนีมวลกายโดยปรกติสามารถซ่อนการเผาผลาญที่ผิดปรกติได้ แม้แต่คนที่มีสัดส่วนน้ำหนักต่อความสูงปรกติ นอกจากนี้่ นักวิจัยใช้เอกสารที่กล่าวถึงสภาพการเผาผลาญที่เรียกว่า การดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ตัวอย่างเช่น การยกระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ และอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ตามที่มีการวิเคราะห์ในปี ค.ศ. 2008 เกือบจะทุก 1 คนใน 4 คนที่มีค่าดัชนีมวลกายปรกติ แต่การเผาผลาญไม่ดีต่อสุขภาพ ในทางกลับกัน ค่าดัชนีมวลกายที่สูงขึ้นนั้นไม่ได้สะท้อนการเผาผลาญที่แย่ต่อสุขภาพ ประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักที่เกินในแต่ละคน มีการเผาผลาญที่ปรกติ เมื่อไม่นานมานี้เอง Katherine Flegal

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไมเคิล ไครซ์ตัน (Michael Crichton)

ไมเคิล ไครซ์ตัน เป็นแพทย์นักเขียนผู้กำกับภาพยนตร์ และโปรดิวเซอร์ ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2485 และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่ ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผู้มีชื่อเสียงจากการเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ นวนิยายด้านการแพทย์ และนิยายเขย่าขวัญเชิงเทคโนโลยี ซึ่งถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ชื่อดังหลายเรื่อง อาทิ จูราสสิก พาร์ก กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ (Jurassic Park) อีอาร์ ห้องฉุกเฉิน (ER) ฯลฯ แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “วาทะนักวิทย์ : ไมเคิล ไครซ์ตัน (Michael Crichton)”. Update. 29(315) : 97. (มกราคม 2557).  – ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments