magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by ratana
formats

ความสำเร็จของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย

นักวิจัยเริ่มต้นด้วยข้อมูลจากสองเชื้อชาติ ทำการสำรวจเรื่องพัฒนาการของบุคคลช่วงเวลาหลายปี  โดยรวบรวมข้อมูลทางสังคมประชากรโดยเปรียบเทียบ ข้อมูลจากเกรดเฉลี่ย คะแนนการทดสอบมาตรฐาน รายงานครูประจำชั้น ข้อมูลทางสังคม และสถานภาพการเข้าเมือง  จากข้อมูลที่ได้นั้นนำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีที่นิยมนำมาใช้ในการอธิบายผลการเรียนของนักเรียนชาวอเมริกัน คือ ลักษณะทางสังคม  ความสามารถในการคิด และจริยธรรมในการทำงานจากการสำรวจ นักเรียนอเมริกันเชื้อสายเอเชีย มีความเชื่อว่าปัญญาเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ ในขณะที่นักเรียนอเมริกัน ผิวขาวเชื่อว่าความสามารถทางปัญญาเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด นอกจากนี้ ความเชื่อในวัฒธรรมและการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย เป็นกุญแจหลักในการนำไปสู่ความพยายามที่มากขึ้น ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียเชื่อว่า การศึกษาเป็นสิ่ง สำคัญสำหรับอนาคตในการทำงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ในการสังเคราะห์โครโมโซมยีสต์

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถสังเคราะห์โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต (เซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูง) เป็นครั้งแรกในห้องทดลองสามารถสังเคราะห์โครโมโซม III จากยีสต์ Saccharomyces cerecisiae ซึ่งเป็นครั้งแรกของการสังเคราะห์โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต (เซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูง เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส รวมไปถึงสัตว์ พืช และเชื้อรา) ซึ่งความซับซ้อนของโครโมโซมมากกว่าในแบคทีเรียที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วก่อนหน้านี้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กลิ่นของเพศชายมีผลต่อศึกษาทางชีวการแพทย์

นักประสาทวิทยา ทำการศึกษาเรื่องอาการเจ็บปวดในสัตว์ทดลอง สัตว์ทดลองจะมีการแสดงความรู้สึกและปฏิกิริยาตอบสนองแตกต่างกันออกไป เมื่อเขาได้ทดลองฉีดสารระคายเคืองที่เท้าของหนูทดลอง โดยปกติหนูทดลองจะเลียบริเวณที่มีการฉีดยาซึ่งเป็นสัญญาณว่า หนูทดลองได้รับความเจ็บปวด Mogil สังเกตเห็นว่า และสิ่งที่ไม่คาดคิดคือ หนูทดลองที่ไม่มีการแสดง อาการเจ็บปวดเมื่อได้รับการดูแลจากนักวิจัยเพศชาย เขาจึงสันนิษฐานว่า กลิ่นเพศชายทำหน้าที่เหมือนยาลดความเจ็บปวดให้แก่หนูทดลอง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ประสาทและพฤติกรรม

เซลล์ประสาทเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการเคลื่อนไหว การขยับไปมาและการบิดตัวไปมาของตัวอ่อนแมลงหวี่ Drosophila melanogaster การกระตุ้นเซลล์ประสาทชนิดเดียวกันในสัตว์ต่างชนิด ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันออกไป การค้นพบนี้สามารถนำมาใช้อธิบายความซับซ้อนของสมอง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับ สมองของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของเซลล์ประสาทและพฤติกรรม และ วางโครงการเพื่อเตรียมทำแผนที่ความสัมพันธ์ทางกายภาพของเซลล์ประสาทในตัวอ่อนแมลงหวี่ Drosophila ซึ่งจะเป็นข้อมูลเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาการทำงานของ เซลล์ประสาทร่วมกับการควบคุมพฤติกรรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 32 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สิ่งที่น่ากังวลสำหรับการทำเหมืองแร่ในทะเลลึก

รัฐบาลประเทศปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea: PNG) และบริษัท Nautilus   Minerals ประเทศแคนาดา ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการทำเหมืองแร่ในทะเลลึก ภายใน 2 ปีข้างหน้า โลกของเราจะมีหุ่นยนต์สำหรับตรวจสอบแร่ โดยสามารถตรวจสอบแร่ทองแดงและทองคำในทะเลลึกถึง 1500 เมตร นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลซึ่งวิตก กังวลกับการทำเหมืองแร่ที่จะเริ่มต้นขึ้น โดยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในทะเลลึก สิ่งมีชีวิต โครงการนี้  คาดว่าจะเริ่มปฏิบัติการได้ภายใน 30 เดือน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 26 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

FLAG DAY: วันธงชาติสหรัฐอเมริกา

วันที่ 14 มิถุนายน ของทุกปีในสหรัฐอเมริกา เป็นวัน “ธงชาติสหรัฐฯ” หรือ Flag Day วันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองการใช้ ธงชาติเป็น สัญลักษณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777)  โดยมติของ สภาแห่งทวีป (Continental Congress) ที่สอง กองทัพของสหรัฐฯ ได้ใช้วันนี้เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องในวันก่อตั้งกองทัพด้วยเช่นกัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งแรกในประเทศไทย

สวทช. โดยไบโอเทค ได้นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินแผนการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกของประเทศไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของวาระแห่งชาติด้านวัคซีน  รวมถึงการพัฒนาวัคซีนสัตว์ และการสร้างความเชี่ยวชาญในกระบวนการต้นน้ำของการผลิตยาชีววัตถุ โดยเฉพาะการพัฒนา  Recombinant host cell และ Expression system ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการผลิต Therapeutic protein และวัคซีนชนิดต่างๆ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง มจธ. และ สวทช. ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตยาและวัคซีน ปัจจุบันได้รับใบอนุญาตเป็นสถานที่ผลิตยาจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. เรียบร้อยแล้ว โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ เปิดให้บริการแก่องค์กร หน่วยงานและผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศโดยแบ่งการให้บริการเป็น 3 ส่วนได้แก่ การบริการด้านการวิจัยและพัฒนา การออกแบบกระบวนการผลิต การขยายขนาดทั้งในกระบวนการผลิตต้นน้ำและปลายน้ำ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพ การบริการผลิตยาชีววัตถุ ที่สามารถผลิตยาชีววัตถุที่เป็นโปรตีนโดยใช้กระบวนการวิศวกรรมชีวภาพชั้นสูงที่ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงจุลินทรีย์เป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต รวมถึงการผลิตยา วัคซีนและสารชีวภาพมูลค่าสูงเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายแรงชนิดอื่น การบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในส่วนของการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ ระบบสนันสนุนและระบบเอกสารตามมาตรฐาน GMP ติดตามข้อมูลของโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ได้ที่ http://www.nbf.kmutt.ac.th  และสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://nstda.or.th/nstda-digital-content/index.php?q=node/30466 แหล่งที่มา : “เปิดโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งแรกในประเทศไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไร

การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านบนหน้าจออย่างไรนั้น เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า สมองมนุษย์ตีความภาษาเขียนอย่างไร แม้ว่าจะใช้ตัวอักษรและคำแทนเสียงพูดและความคิดของมนุษย์ แต่สมองยังตีความตัวอักษรและคำให้เป็นวัตถุทางกายภาพ แมรีแอน วูล์ฟ (Maryanne Wolf) นักวิทยาศาสตร์การเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยทัฟส์ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ Proust and the Squid เมื่อปี พ.ศ. 2544 ว่า มนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับวงจรสมองเฉพาะสำหรับการอ่าน เพราะมนุษย์เพิ่งประดิษฐ์การเขียนในช่วงประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาลนี้เอง ดังนั้น เด็กๆ จะพัฒนาสมองเพื่อรองรับการอ่านขึ้นมาจากระบบประสาทที่ใช้กับความสามารถอื่นๆ เช่น จากการพูดจา การประสานงานอวัยวะ และการมองเห็น สมองส่วนที่พัฒนาขึ้นมานี้ จึงมีความเชี่ยวชาญในการรับรู้วัตถุ เมื่อหัดอ่านหัดเขียน มนุษย์เรียนรู้จดจำลักษณะตัวอักษรจากเส้นตรง เส้นโค้ง และช่องว่าง ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทั้งสายตาและมือสัมผัส นอกจากสมองคนจะตีความตัวอักษรเป็นเหมือนวัตถุ สมองยังรับรู้ข้อความที่ครบถ้วนเหมือนเป็นภาพวาด ขณะที่อ่านหนังสือ จินตนาการภาพเหตุการณ์ขึ้นในใจ ถึงแม้กระบวนการสร้างภาพจะไม่ชัดเจนนัก ทั้งนี้จากประวัติและการศึกษาที่ผ่านมา คนมักจดจำลำดับเนื้อหาสาระที่ปรากฏขึ้นตามตำแหน่งของเนื้อหาจากในหนังสือ ซึ่งจะคล้ายกับเวลาเดินป่า ตอนที่จำได้ว่าต้องผ่านบ้านสีแดงก่อนจะเริ่มปีนเขา – ( 11 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีจากหนังที่กลายเป็นจริง

สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, หุ่นยนต์ ฯลฯ ที่เคยเป็นแค่จินตนาการจากในหนัง กลายมาเป็นเทคโนโลยีที่สัมผัสได้จริงแล้ววันนี้  มีคนเคยพูดไว้ว่าชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย แต่ในบางครั้งนิยายก็กลายเป็นต้นแบบของชีวิตจริงได้ด้วยเช่นกัน เหมือนอย่างที่บรรดาหนังดังจากวงการฮอลลีวูดได้วาดภาพถึงอนาคตที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีสุดล้ำ ทำให้เราได้แต่เฝ้าฝันว่าสักวันจะได้สัมผัสของจริง โดยเฉพาะกับภาพยนตร์ไซไฟหลาย ๆ เรื่องดังต่อไปนี้ ที่แม้ในเราจะยังไม่ได้อาศัยอยู่บนสถานีอวกาศ แต่ก็มีอุปกรณ์ตั้งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ, เครื่องแปลภาษา และหุ่นยนต์สุดล้ำต่าง ๆ หลากหลายเทคโนโลยีจากหนังที่กลายมาเป็นเรื่องจริง ใครจะไปเชื่อว่าภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องที่เราเคยดูเพื่อความสนุกสนานบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Iron Man, Transformers, Star Wars ฯลฯ ได้กลายเป็นตัวจุดแนวคิด นำไปสู่อุปกรณ์และเทคโนโลยีสุดล้ำในโลกความจริง อีกหลากหลายเทคโนโลยีที่สามารถก้าวล้ำทะลุแผ่นฟิล์มออกมาโลดแล่นรอบตัวเราได้แล้วในทุกวันนี้         แหล่งที่มา : “เทคโนโลยีจากหนังที่กลายเป็นจริง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://tech.th.msn.com. (วันที่ค้นข้อมูล 16 มีนาคม 2557).– ( 148 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเรียนรู้ของเด็กระหว่างหน้าจอทดแทนกระดาษ

การวิจัยหลายเรื่องชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้ของเด็กๆ ทารกที่ใช้หน้าจอทดแทนกระดาษนั้น มีข้อเสียที่เราไม่ควรมองข้าม ปี พ.ศ. 2555 สถาบันโจอันแกนซ์คูนีย์ในนครนิวยอร์ก ได้ทดสอบพ่อแม่ 32 คู่ที่มีลูกๆ อายุ 3-6ปี พบว่า เด็กๆ ที่อ่านนิทานบนกระดาษสามารถจดจำรายละเอียดได้ดีกว่ากลุ่มเด็กที่อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ และเกมส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้มีเสียงระฆังเสียงหวูดที่คอยดึงความสนใจของเด็กๆ ออกจากเนื้อหานิทานไปเล่นตัวอุปกรณ์นั้นเอง ในการสำรวจติดตามผลพ่อแม่ 1,226 คน พ่อแม่เหล่านี้ยัง นิยมอ่านหนังสือนิทานกับลูกหลานด้วยกันมากกว่าการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 มีรายงานผลการศึกษาที่เหมือนกันแทบทุกประการใน Mind, Brain, and Education โดย จูเลีย แพร์ริช-มอร์ริส (Julia Parrish-Morris) และเพื่อนร่วมวิจัยพบว่า เมื่อพ่อแม่ช่วยกันอ่านหนังสือนิทานให้เด็กๆ อายุ 3 และ 5 ขวบฟัง พ่อแม่จะคอยเล่าเรื่องชีวิตที่ผ่านมาให้ลูกหลานฟังไปด้วย แต่เมื่อมานั่งอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีทั้งภาพและเสียง พ่อแม่จะเสียจังหวะการอ่านนิทานแบบนี้ เพราะมัวคอยห้ามเด็กๆ ไม่ให้กดปุ่มนั้นปุ่มนี้ และมักเสียจังหวะเล่าเรื่องเสมอ การเสียสมาธิการอ่านแบบนี้ทำให้เด็กทารก 3 ขวบ ไม่เข้าใจแม้แต่ใจความสำคัญของนิทาน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments