29 มีนาคม 2567

ไขปริศนาสภาพอากาศ โลกร้อนสู่ภาวะโลกเดือด (global boiling) : ร่วมรับมือ“วิกฤตเอลนีโญ” เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

วิทยากร
  • ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
  • ดร.รอยล จิตรดอน
  • คุณฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ
  • ดร.ชัญชณา ธนชยานนท์
  • คุณสว่าง เทพเถา
  • ดร.ณัฏฐพร พิมพะ
  • คุณกรวุฒิ บรรยงวรพินิจ
  • คุณณัฐชยา เม็นไธสง
  • ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์

ด้วยวิกฤตภัยแล้งรุนแรงที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังได้รับความเดือดร้อนอยู่ในช่วงนี้ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตภัยแล้ง และได้กลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงบ่อยที่สุดแห่งปีในเรื่องสภาพอากาศโลก ปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้เกิดสภาพอากาศเลวร้ายอย่างเช่น คลื่นความร้อนและภัยแล้งเป็นบริเวณกว้าง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับผลกระทบมากที่สุด 

สำหรับประเทศไทยกำลังประสบกับความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่ก่อให้เกิด “วิกฤตเอลนีโญ” ทำให้เผชิญกับปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย ขณะเดียวกันบางพื้นที่ก็มีปริมาณน้ำฝนมากเกินไปในแถบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของประชาชนในวงกว้าง 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อรองรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจากวิฤตการณ์ปัญหาภัยแล้ง ได้แก่ การตรวจวัด ติดตาม และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐานน้ำประปาเพื่อการอุปโภคและบริโภคสำหรับหมู่บ้าน และการพัฒนาระบบบำบัดมลพิษตกค้างในแหล่งน้ำด้วยวิธี photocatalytic oxidation (PCO) เพื่อใช้ในระบบประปาหมู่บ้านและชุมชนเมือง และร่วมกันจัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ ไขปริศนาสภาพอากาศ โลกร้อนสู่ภาวะโลกเดือด (global boiling) : ร่วมรับมือ “วิกฤตเอลนีโญ” เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และร่วมวงเสวนา “สานแนวคิดสู่แนวปฏิบัติ : รวมพลังขับเคลื่อน circular water economy เพื่อคุณภาพน้ำสร้างคุณภาพชีวิตได้อย่างไร” เป็นการนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนทั้งในเชิงนโยบาย เชิงวิชาการ และภาคประชาสังคม ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิดบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและประโยชน์สูงสุดทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมท่ามกลางวิกฤตเอลนีโญที่กำลังเผชิญในขณะนี้ 

Keywords: เอลนีโญ, การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, circular water economy, ปรับปรุงคุณภาพน้ำ, ตรวจวัดคุณภาพน้ำ

กำหนดการสัมมนา
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.45 น. กล่าวเปิดงานเสวนาวิชาการ

โดย ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.45 – 14.15 น. บรรยายหัวข้อ ไขปริศนาสภาพอากาศ โลกร้อนสู่ภาวะโลกเดือด (global boiling) : ร่วมรับมือ “วิกฤตเอลนีโญ” 

โดย ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

14.15 – 14.45 น. ประสบการณ์ผ่านเรื่องเล่า “เสริมพลังใจประสบการณ์ผลักดันวิจัยด้านน้ำเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านเศรษฐกิจฐานราก” 

โดย ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

14.45 – 15.15 น นำเสนอหัวข้อ “ความคาดหวังสู่ความท้าทายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” 

โดย คุณฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

 

15.15 – 15.20 น พักรับประทานอาหารว่าง
15.20 – 16.20 น.  เสวนาวิชาการหัวข้อ “สานแนวคิดสู่แนวปฏิบัติ : รวมพลังขับเคลื่อน circular water 
economy เพื่อคุณภาพน้ำสร้างคุณภาพชีวิตได้อย่างไร”ผู้ร่วมเสวนา

  • คุณฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
  • ดร.ชัญชณา ธนชยานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
  • คุณสว่าง เทพเถา ผู้ใหญ่บ้านสันดอนแก้ว ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
  • ดร.ณัฏฐพร พิมพะ หัวหน้าทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • คุณกรวุฒิ บรรยงวรพินิจ ผู้อำนวยการกองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • คุณณัฐชยา เม็นไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดำเนินการเสวนาโดย
ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

16.20 – 16.30 น. ถาม-ตอบความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ ถ่ายรูปร่วมกันและมอบของที่ระลึก
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
ดร.รอยล จิตรดอน
กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ดร.ชัญชณา ธนชยานนท์
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
คุณฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ
ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่ง
คุณสว่าง เทพเถา
ผู้ใหญ่บ้านสันดอนแก้ว ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ดร.ณัฏฐพร พิมพะ
หัวหน้าทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
คุณกรวุฒิ บรรยงวรพินิจ
ผู้อำนวยการกองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
คุณณัฐชยา เม็นไธสง
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์
หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ