magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "ASEAN" (Page 5)
formats

นวัตกรรมช่วยเอสเอ็มอีรับมือเออีซี

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี อย่างเป็นทางการในอีก 2 ปีข้างหน้า ส่งผลให้ภาคธุรกิจเตรียมตั้งรับและรุกเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการศึกษา โอกาสในการแข่งขัน การเตรียมความพร้อมเพื่อขยายตลาดในเพื่อนบ้าน รวมไปถึงการปรับกลยุทธ์การค้า แต่หากพูดถึงในเรื่องของนวัตกรรมเพื่อการค้าแล้ว หลากหลายธุรกิจยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่ยังสนใจใช้นวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจต่ำอย่างน่าใจหาย – ( 62 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นาโนเทคเร่งแผนความปลอดภัยขอเป็นต้นแบบภูมิภาคอาเซียน

นาโนเทคจับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่างแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยนาโนฯ มุ่ง 3 แผนหลัก หวังเป็นผู้นำในอาเซียน นายสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า จากการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี : แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่เออีซี” หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ตาม “แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี พ.ศ. 2555-2559”เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผลิต จำหน่าย ตลอดจนการใช้นาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโนอย่างมีจริยธรรมเหมาะสม ยั่งยืน และมีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการนำไปใช้ต่อไป – ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

’3องค์กร’ร่างแผนจริยธรรมนาโนเทค

นายสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ศูนย์นาโนเทค  จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี : แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) มีหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้าร่วม ตาม “แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี พ.ศ.2555-2559″ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผลิต จำหน่าย นายศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค กล่าวว่า แผนดังกล่าวเป็นการขับเคลื่อนเพื่อทำให้ประเทศไทยมีทั้งในเรื่องการสนับสนุน การพัฒนาวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีและการเฝ้าระวัง การป้องกันและการบริหารความเสี่ยงด้านนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้การพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย เติบโตได้อย่างมั่นคง ยั่งยืนและปลอดภัย ถือเป็นเรื่องใหม่ที่รัฐบาลต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน ที่ทำแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนฯ และนำมาปฏิบัติโดยหวังว่าแผนดังกล่าวจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านหรือขยายวงกว้างไปสู่เอเชียทั้งหมด รายการอ้างอิง : ’3องค์กร’ร่างแผนจริยธรรมนาโนเทค. มติชน. ฉบับวันที่ 05 เมษายน พ.ศ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการทำไร่อ้อย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อย (http://cropthai.ku.ac.th) โดยมีข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อยซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์สนใจมาก และพันธุ์อ้อยการค้าซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในส่วนเชื้อพันธุกรรมอ้อยเก็บรวบรวมลักษณะทางการเกษตรและทางพฤกษศาสตร์ เช่น ลักษณะลำต้น หูใบ แผ่นใบ สี กลุ่มขน ในส่วนพันธุ์อ้อยการค้า มีรูปภาพประกอบ ลักษณะทางการเกษตรมีอธิบายไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ความหวาน ขนาด การแตกก่อ ลักษณะกลุ่มขน ยังมีข้อมูลสภาพดินที่เหมาะสมกับแต่ละพันธุ์ และในฐานข้อมูลยังรวบรวมพันธุประวัติอ้อย ความสัมพันธ์ของพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีระบบฐานข้อมูลการผสมพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น เชื้อพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ออกดอกเมื่อไหร่ อ้อยแต่ละพันธุ์มีเพศดอกอะไร เคยผสมพันธุ์อ้อยคู่ใดเมื่อไหร่ อ้อยพันธุ์ใดผสมติดเมล็ดได้ดีหรือผสมไม่ติด อ้อยพันธุ์ใดผสมตัวเองไม่ติดบ้างหรือเป็นหมัน อ้อยพันธุ์ไหนให้ลูกผสมที่ดีเด่นบ้าง บริษัท มิตรผล พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ได้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยไปยังประเทศลาว เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประสบปัญหาเหมือนไร่อ้อยในประเทศไทยคือ ไม่สามารถควบคุมโรคใบขาวในอ้อยได้ จนกระทั่งได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงอ้อยปลอดโรคและคำแนะนำให้จัดตั้งหน่วยผลิตอ้อยปลอดโรคที่ลาวจาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผลก็คือเมื่อนำอ้อยปลอดโรคจากหน่วยไปปลูกในไร่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโรคใบขาวได้เป็นผลสำเร็จ เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง ผลงานวิจัยด้านอ้อยสู่การใช้ประโยชน์ ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำบางคำมักนำไปใช้โดยไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับคำว่า นวัตกรรม ส่วนใหญ่ใช้เรียกสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นนวัตกรรม ที่ถูกต้องนวัตกรรมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่แต่มีการสร้างรายได้นำไปสู่การตลาด ดังนั้นนวัตกรรมต้องประกอบด้วย 1.มีความใหม่ ซึ่งอาจทำขึ้นใหม่ทั้งหมดหรือมีการพัฒนาจากของเก่า 2.มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3.สร้างผลสำเร็จเชิงพาณิชย์ และ 4.ต้องมีกระบวนการใชัความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้นวัตกรรมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการคือ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการได้เปรียบ ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัททั่วโลกจึงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยอาจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและก้าวสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น ระดับในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ระดับค่อยเป็นค่อยไป เช่น เปลี่ยนชิ้นส่วนในโทรศัพท์ 2.ระดับเฉียบพลัน เช่น ผลิต CD ออกมาใช้แทนแผ่นเสียง 3.ระดับสิ้นเชิง เช่น สร้างเครื่องจักรไอน้ำใช้แทนแรงงงานคนและสัตว์ เหตุที่หลายบริษัทสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้เนื่องจากมีศักยภาพหรือขีดความสามารถและมีการวางแผนจัดการที่ดี โดยแนวโน้มของการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดของผลิตภัณฑ์ ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผู้สนใจนำไปวิจัยต่อยอดและนำไปสู่การทำธุรกิจ ต่อมาเริ่มมีการร่วมลงทุนทำวิจัยกับภาคเอกชน มีภาคเอกชนมาตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสวทช. ส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีระดับโลก เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง บทบาทของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ AEC ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสำหรับชุมชนเกษตรไทยใน AEC

“รถบรรทุกเอนกประสงค์” งานวิจัยเพื่อเกษตรชุมชน เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สินค้าเกษตรของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น ขณะที่เกษตรกรไทยยังขาดเครื่องมือและความรู้ในการจัดการอีกมาก เครื่องมือสำคัญที่คู่กับเกษตรกรมาช้านานคือ รถอีแต๋น ซึ่งเกษตรกรนิยมใช้ในปัจจุบันเป็นพาหนะที่ได้จากการนำชิ้นส่วนโครงฐานรถเก่าและอะไหล่เก่ามาดัดแปลงและประกอบ จึงไม่ปลอดภัยในการใช้งานและจดทะเบียนรถยนต์ไม่ได้ รวมทั้งเกิดปัญหาขณะใช้งานบ่อย ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งของเกษตรกรเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวและเป็นการลดทอนความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมมือกับ บริษัทสามมิตรมอเตอร์แมนูแฟคเจอริง จำกัด  (มหาชน) ดำเนินการพัฒนารถยนต์อเนกประสงค์สำหรับเกษตรกรชุมชน โดยใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานตามหลักวิศวกรรมของโครงฐานรถสำคัญ 5 ชิ้นส่วน ได้แก่ แชชซี ดุมล้อและระบบเบรก ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกำลังส่ง และระบบส่งกำลังสะทือน มาประกอบเป็นรถอเนกประสงค์ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาชิ้นส่วนโครงฐานที่ไม่ได้มาตรฐาน และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงอาจนำไปจดทะเบียนรถได้ เนื่องจากมีการออกแบบและคำนวณตามหลักวิศวกรรมที่ถูกต้อง http://nstda.or.th/nac2013/1-seminar.php รายการอ้างอิง : การพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสำหรับชุมชนเกษตรไทยใน AEC. NAC2013 (ห้องประชุม CC-306 อาคารศูนย์ประชุมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย). วันที่ 1 เมษายน 2556.  – ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Machine Translation)

Published on April 4, 2013 by in ASEAN, IT Tech

ระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน หรือ ASEAN Machine Translation เป็นโครงการที่หลายประเทศในอาเซียนหวังว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายกำแพงด้านภาษาในกลุ่มของสมาชิกอาเซียนให้เข้าใจและสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น ภายใต้เครือข่ายวิจัยนานาชาติยู-สตาร์ U-STAR ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมพัฒนาแอพพลิเคชั่นล่ามอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “Voice Tra 4 U” ซึ่งรองรับได้ถึง 23 ภาษาและแปลงเสียงพูดได้ถึง 17 ภาษา ดาวน์โหลดฟรีได้ที่แอพสโตร์– ( 201 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน

หัวข้อบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการ สวทช. NAC 2013 ก็คือ การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (The ASEAN Machine Translation Project) อันเป็นหนึ่งโครงการของคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology- COST) โดยมีทีมนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นผู้นำทีมการพัฒนา อันมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกระบวนการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ระหว่างชาติอาเซียน โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย ก็คงจะทำให้ทุกคนในอาเซียนสามารถสื่อสารได้สะดวกยิ่งขึ้น– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)

การสัมมนา เรื่อง ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น โรคอาหารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ก่อโรคและอันตรายทางเคมี เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขสำาคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของประชาชน และเป็นอุปสรรคสำาหรับการค้าอาหารระหว่างประเทศที่ทำาให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระบบความปลอดภัยของอาหารที่มีประสิทธิภาพจึงจัดว่าเป็นเรื่องที่สำาคัญและเป็นประเด็นท้าทายสำาหรับทั้งผู้ผลิต และหน่วยงานรัฐที่ดูแลความปลอดภัยอาหาร ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งของการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของประชาคมอาเซียน และเป็นการเร่งให้เกิดโอกาสขนาดใหญ่ต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็นอย่างยิ่งโดยสินค้าอาหารของอาเซียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกอาเซียนจึงเน้นความสำาคัญเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยของอาหารรวมถึงการจัดทำาระบบการรับรองสินค้าอาหารและเกษตรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างระบบและกระบวนการในการควบคุมคุณภาพของอาหารและมีความปลอดภัยมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน วิทยากรประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) – ( 563 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความพร้อมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แนวโน้มทั่วโลกในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้หลายประเทศหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างหนึ่งคือการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ประเทศไทยไม่แค่เพียงต้องการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพแต่ต้องการเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในอาเซียนและในโลก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบคือ มันสำปะหลัง อ้อย อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยขาดเทคโนโลยีและตลาด ในอาเซียนประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำทางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเหมือนกับสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่การลงทุนจากต่างประเทศไทยยังมีน้อยกว่าสิงคโปร์ ส่วนเมื่อมองระดับโลกยุโรปและอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ในขณะที่ในเอเชียเกาหลี ญี่ปุ่น มีนโยบาย เทคโนโลยี แต่ไม่มีวัตถุดิบ – ( 133 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments