magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by boonlert
formats

ศัพท์บัญญัติ “ละมุนภัณฑ์” มีจริงหรือ !!!!

นานมากแล้วมีได้ยินการพูดถึงศัพท์บัญญัติ software คือ ละมุนภัณฑ์ hardware คือ กระด้างภัณฑ์ ไมโครซอฟต์ คือ จิ๋วระทวย เพาเวอร์พ๊อยท์ คือ จุดอิทธฤทธิ์ stand alone คือ ยืนเอกา  joy strict คือ แท่งหฤหรรษ์ ซึ่งทำให้ตนเองสงสัยมาตลอดว่า “ราชบัณฑิตยสถาน” ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ผู้ใหญ่ระดับสูงของประเทศไทย จะบัญญัติด้วยคำดังกล่าวจริงหรือ ประกอบด้วยเป็นบุคลากรเนคเทคที่ค่อนข้างใกล้ชิดท่านราชบัณฑิต ท่านหนึ่งคือ รศ.ดร.ครรซิต มาลัยวงศ์ จึงได้เรียนถามท่าน ท่านก็ยืนยันว่าไม่มีการบัญญัติ และท่านก็ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ในเว็บของท่าน http://www.drkanchit.com/duties.html  ในราชบัณฑิตยสถานนั้นผมทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการบัญญัติศัพท์อยู่สองคณะคือ ศัพท์คอมพิวเตอร์ และศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ … มีคนพูดอย่างสนุกสนานอยู่เสมอว่า คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่ไม่ได้เรื่องออกมาให้ใช้ เช่นคำ software ก็บัญญัติว่า ละมุนภัณฑ์ แล้วก็ขยายต่อไปว่า hardware ก็บัญญัติว่า กระด้างภัณฑ์ ผมได้ฟังแล้วก็ได้แต่ปลง เพราะคนพูดบางคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ได้มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือไม่ได้สอบสวนศึกษาเรื่องแท้จริงก่อนว่า คำศัพท์ที่บัญญัติจริง ๆ คืออะไร แม้แต่หนังสือศัพท์บัญญัติที่ทางราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ก็ยังไม่มี เมื่อยังไม่ได้หาข้อมูลจนรู้ข้อเท็จจริงแล้วจะมาพูดวิจารณ์ได้อย่างไร ความจริงก็คือคณะกรรมการไม่เคยบัญญัติศัพท์แบบนี้เลย คนทั้งหลายได้แต่พูดต่อ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การปรับปรุงการพิมพ์กันสักนิดนะครับ

โดยส่วนตัวจะไม่สามารถยอมรับงานพิมพ์ที่มีการใช้ฟอนต์ที่แตกต่างกันในเอกสารได้ ดังภาพ ทั้งนี้จากปัญหาข้างต้น สามารถแก้ไขได้โดยการกำหนด Default Font ให้กับโปรแกรมพิมพ์งานก่อนสร้างเอกสาร โดยมีรายละเอียดังนี้ การกำหนดค่า Default Font ของ LibreOffice Writer การกำหนดค่า Default Font ของ OpenOffice.org Writer การกำหนดค่า Default Font ของ Microsoft Word 2003 การกำหนดค่า Default Font ของ Microsoft Word 2007 – ( 100 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความรู้ที่ผิดพลาดเกี่ยวกับแม่แบบ PowerPoint

กระแสการทำแม่แบบ PowerPoint เพิ่มมากขึ้นตามกระแส Corporate Identify หรืออัตลักษณ์องค์กร แต่ก็พบว่าความรู้ในการทำแม่แบบ PowerPoint ของหน่วยงานหลายหน่วยงานผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อน  โดยจะนำเข้าภาพด้วยคำสั่ง Insert Picture หรือไม่ก็ Copy/Paste ในโหมดการทำงานปกติ หรือที่เรียกว่า โหมด Normal ซึ่งภาพที่นำมาวางจะลอยในลักษณะ Layer ซ้อนกันไป ดังนั้นหน่วยงานที่สนใจเรื่องนี้ควรปรับปรุงความรู้ในส่วนนี้ เพราะการทำงานกับแม่แบบ PowerPoint จะต้องทำงานในโหมด Master Slide นะครับ ดังรายละเอียดตามลิงก์ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/26-ict/4128-ppt-template-image.html– ( 66 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประเมิน 360 องศา

ได้ข่าวแว่วๆ ว่า สวทช. จะนำการประเมิน 360 องศา หรือเกือบ 360 องศามาใช้งาน โดยก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว เนคเทค ได้นำการประเมินแบบนี้มาใช้ช่วงหนึ่ง และปรับเปลี่ยนเป็นระบบบริหารงานบุคคลเดียวกับ สวทช. ทำให้ต้องยุติลงไป แต่เมื่อ สวทช. นำมาใช้อีกครั้ง คงจะเป็นการใช้ทั้งภาพรวม สวทช. แน่นอน อย่างไรก็ดีก่อนที่จะมาถึง ก็ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการประเมิน 360 องศากันสักนิด การประเมิน 360 องศา เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติการ การประเมินด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยมีพัฒนาการมาจากปัญหาที่ว่า “การประเมินแบบเดิมบางรูปแบบ เกิดจากผลการประเมินไม่เป็นตามจริงด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ความเกรงอกเกรงใจ การรักษาน้ำใจ ความไม่ยุติธรรม ความลำเอียง” ดังนั้นจึงมีการปรับรูปแบบการประเมินให้เป็น 360 องศา เพื่อหวังผลอย่างน้อย 3 ประการได้แก่ การตื่นตัวของพนักงาน ซึ่งจะทราบถึงการเข้าใจตนเอง และเห็นว่าผู้อื่นเข้าใจเราอย่างไร เป็นผลให้มีการตื่นตัวของพนักงาน การป้องกันปัญหาอันเกิดจากความไม่ยุติธรรมในบางประการ การเพิ่มศักยภาพในการรับรู้ เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้จัดการ ซึ่งยังผลให้เป็นรากฐานของกระบวนการจัดการ และภาวะความเป็นผู้นำ อย่างไรก็ดี การประเมิน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประเด็นลิขสิทธิ์ที่ควรใส่ใจ

ยังพบว่ามีบุคคลจำนวนมากที่ละเลยในประเด็น “ลิขสิทธิ์” การเขียนแบบนี้ … รับรองไม่ถูกฟ้องแน่นอน งานห้องสมุด ไม่ถูกฟ้องหรอก ใส่อ้างอิงไว้แล้ว ไม่ถูกฟ้องแน่นอน เราเป็นครู อาจารย์ ใช้ได้ครับ ทั้งนี้หากท่านใดไม่เคยถูกฟ้องฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ย่อมไม่ทราบว่าทำไหมต้องให้ความสำคัญ และอาจจะละเลย รวมทั้งหลายๆ ท่านก็คงคิดว่าไม่เกิดแน่นอนกับตัวเอง แต่ก็อย่างว่านะครับ “อะไรอะไรก็เกิดได้” ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่เข้มข้น และมีการอธิบายประเด็นต่างๆ ที่เคยเป็น “นามธรรม” จนเป็น “รูปธรรม” มากขึ้น ดังรายละเอียดประเด็นน่าสนใจการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม …. สำหรับทุกท่าน ดังนั้นอยากเสนอว่า “อย่าทำอะไรให้เสี่ยงกันเลยครับ” ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกเนื้อหาของผู้อื่นมาประกอบการเขียน Blog การเขียนบทความ การทำผลงานวิชาการ … แล้วจะเขียนอย่างไร ทีมงาน Gotoknow ได้จัดทำเนื้อหา “เขียนอย่างไม่ละเมิดลิขสิทธิ์” ให้ท่านอ่านแล้ว รวมทั้งอาจจะศึกษาเพิ่มเติมจาก Thai Wikipedia ฝากอ่านกันด้วยนะครับ ต่อด้วย Clip Art ภาพถ่าย ภาพวาด ยังไงก็เลี่ยงๆ กันบ้างก็ดีครับ ไม่ว่าจะเป็นการค้นภาพจาก Google แล้ว Save

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบห้องสมุดกับผู้ใช้

สืบเนื่องจากที่ได้เข้าร่วมประชุมกำหนด TOR การว่าจ้างพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติหลายหน่วยงาน สิ่งหนึ่งได้เห็นเหมือนกันๆ คือ TOR ที่กำหนดเป็นการล้อจาก Spec ของระบบห้องสมุดที่สามารถหาข้อมูลได้ และเอามายำเป็น TOR การว่าจ้าง ประมาณว่า Spec มีอะไร ก็เอามาใช้ ซึ่งทุก Spec มีรายละเอียดเน้นหนักที่ระบบสำหรับบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ แทบจะไม่มีรายละเอียดที่สนับสนุนหรือดึงดูดผู้ใช้ ซึ่งเมื่อมีการเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้ลงไปก็พบว่า ไม่สามารถทำได้เนื่องจาก ILS ต่างๆ ไม่ได้กำหนดรายละเอียดส่วนนี้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้การประกวดราคา การจัดซื้อไม่สามารถทำได้ อันเป็นเหตุผลที่ระบบห้องสมุดหลายหน่วยงานจึงไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ ไม่สามารถดึงดูดผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมองได้ว่า “การจัดซื้อ” ระบบ เป็นการจัดซื้อภายใต้เงื่อนไขที่ผู้พัฒนา ผู้ขายกำหนดทิศทางไว้แล้ว อันเป็นการจัดซื้อเพื่อเอื้อให้ผู้ขายมากกว่าองค์กรตนเอง และผู้ใช้ นับว่าเป็น “การจัดซื้อที่ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง แต่ไม่น่าเชื่อว่าเป็นความจริงที่พบได้หลายองค์กร”– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประเด็นพิจารณาก่อนพัฒนาระบบบริหารจัดการ eBook

Published on July 28, 2013 by in e-Book

หลายหน่วยงานให้ความสนใจการจัดทำ/เผยแพร่หนังสือ สิ่งพิมพ์ในรูปแบบ eBook โดยคำถามที่ได้รับมากคำถามหนึ่งคือ ควรทำอย่างไร คำตอบที่ชัดเจนคงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ขอเสนอประเด็นพิจารณา ดังนี้ 1) ทราบกลุ่มเป้าหมายก่อน ใครคือผู้อ่าน .. นักวิชาการ นักการศึกษา กลุ่มเฉพาะ บุคคลทั่วไป เด็ก เยาวชน (ระดับใด อายุเท่าไร) เครื่องมือในการเข้าถึง … คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค Smart Phone หรือ eBook Reader หรือ Table PC 2) รู้จักสื่อของตนเอง ความยาวของเนื้อหา ความยาก ง่ายของเนื้อหา ความหลากหลายของสื่อในตัวเล่ม … ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว … ฟอร์แมตต้นฉบับของสื่อ … ตัวเล่ม, DTP, Microsoft Word ลิขสิทธิ์ 3) รู้เทคนิคที่ควรดำเนินการ ฟอร์แมตของ eBook ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จิตสำนักที่ควรมีต่อการพัฒนาเว็บไซต์ตามมาตรฐาน WCAG

เริ่มเห็นหน่วยงานต่างๆ พัฒนาเว็บไซต์ตามข้อกำหนดการทำให้เนื้อหาเว็บสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (Web Content Accessibility Guidelines: WCAG) ที่ออกโดยองค์การมาตรฐาน เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web Consortium: W3C) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ช่วยให้คนพิการทุกกลุ่ม รวมทั้งคนปกติแต่อยู่ในสภาวะที่อาจจะไม่สามารถใช้งานเว็บได้ตามปกติ สามารถเข้าถึงเนื้อหาเว็บ และใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ได้ โดยเว็บที่พัฒนาตามข้อกำหนดนี้ มักจะติดโลโก้แสดงว่าเว็บของตนผ่านมาตรฐาน ดังนี้ อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญของการพัฒนาเว็บไซต์ที่อยากนำเสนอในครั้งนี้คือ อย่ามุ่งเน้นการนำเสนอว่าผ่านมาตรฐานดังกล่าวและต้องมี Logo ติดเพื่อประกาศให้ทุกคนทราบว่าเว็บได้มาตรฐาน แต่ควรหันกลับไปทบทวนจุดประสงค์จริงๆ ว่าข้อกำหนดดังกล่าวทำเพื่ออะไร และเว็บของเราได้ตอบจุดประสงค์ดังกล่าวแล้วหรือไม่อย่างไร เช่น ได้ทดสอบเว็บที่ผ่านการตรวจสอบว่าได้มาตรฐาน WCAG กับกลุ่มคนพิการหลากหลายกลุ่มแล้วหรือไม่ ผลการทดสอบจริงจากคนพิการดังกล่าวเป็นอย่างไร หากพัฒนาเว็บและติด Logo ว่าได้มาตรฐานแต่ไม่เคยทดสอบจริง ก็คงไม่สามารถตอบได้ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวรองรับการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง เพราะระบบตรวจสอบก็คงตรวจสอบได้ในมิติของคำสั่งที่วางไว้ โดยไม่ครอบคลุมความหมายที่แท้จริงของเว็บไซต์ที่คนพิการต้องการทราบ เช่น หากมีภาพแสดงกราฟข้อมูลยอดขาย แล้วใส่คำอธิบายเพียง “กราฟ” ระบบอ่านบนจอ (Sreen Reader) ก็คงอ่านออกมาให้คนตาบอดว่า “กราฟ” ซึ่งเค้าก็คงไม่ทราบรายละเอียดว่าเป็นกราฟอะไร รายละเอียดอย่างไร ดังนั้นการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ติด Logo

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คุณลักษณะ 7 ประการที่ช่วยให้มนุษย์มีพลังอำนาจ

คุณลักษณะ 7 ประการที่ช่วยให้มนุษย์มีพลังอำนาจ นอบน้อม เพราะคนนอบน้อมจะไปทำอะไร ที่ไหน ย่อมไม่เป็นที่เกลียดชังของคนทั่วไป เมตตากรุณา เพราะคนมีเมตตากรุณา มักจะมี positive aura บนใบหน้าที่ทำให้สามารถเอาชนะใจคนได้โดยง่าย จริงใจ เพราะจะส่งผลให้มีบุคลิกซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของผู้อยู่เหนือกว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลทั่วไป จริงจัง เพราะย่อมทำทุกสิ่งทุกอย่างลุล่วงลงได้ ใจคอกว้างขวาง เพราะย่อมใช้ให้คนทำงานแทนได้ และสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ ไม่กินอิ่มเกินไป ไม่แสวงหาความสะดวกสบายจนเกินไป เพราะจะทำให้กลายเป็นคนเกียจคร้าน ไม่แสวงหาหนทางปรับปรุงชีวิต พัฒนาตนเองในขณะที่ยังมีกำลังวังชา และสติปัญญาสมบูรณ์ มีอารมณ์มั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย ถ้ากล่าวแบบคนสมัยใหม่ ก็คือการมี EQ สูงนั่นเอง ที่มา: Wellness2012. [2013]. In Facebook. Retrieved July 28, 2013 from https://www.facebook.com/2012Wellness– ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หลากหลายประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ eBook

Published on July 27, 2013 by in e-Book

eBook เป็นคำที่มีการใช้นานแล้ว และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ขอนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับ eBook ดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับ e-Book รูปแบบ eBook ePublishing การสร้างเอกสาร PDF ด้วย Microsoft Office + Acrobat 6 การสร้างเอกสาร PDF ด้วย OpenOffice.org รูปแบบการนำเสนอ eBook แบบ Flip eBook พัฒนา Multimedia eBook ด้วย FlipAlbum 6 eBook ที่ร่วมทำกับสถาบันศิลปะและวัฒนธรรม ม.บูรพา : ด้วย FlipAlbum สร้างสรรค์ Multimedia eBook ด้วย DeskTopAuthor ต้นแบบ Flash flip eBook ที่รองรับการสืบค้นภาษาไทย รวมเครื่องมือแปลง PDF เป็น Flash

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments