magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN ความพร้อมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
formats

ความพร้อมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แนวโน้มทั่วโลกในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้หลายประเทศหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างหนึ่งคือการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ประเทศไทยไม่แค่เพียงต้องการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพแต่ต้องการเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในอาเซียนและในโลก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบคือ มันสำปะหลัง อ้อย อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยขาดเทคโนโลยีและตลาด ในอาเซียนประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำทางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเหมือนกับสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่การลงทุนจากต่างประเทศไทยยังมีน้อยกว่าสิงคโปร์ ส่วนเมื่อมองระดับโลกยุโรปและอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ในขณะที่ในเอเชียเกาหลี ญี่ปุ่น มีนโยบาย เทคโนโลยี แต่ไม่มีวัตถุดิบ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ทำงานวิจัยด้านพลาสติกมานานกว่า 10 ปี โดยหลายปีแรกเน้นงานวิจัยการผลิตพลาสติกจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีเพียงในระยะหลังสนใจงานวิจัยการผลิตพลาสติกจากอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ โดยเน้นงานวิจัยที่นำเอาพลาสติกชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น งานวิจัยฟิล์มที่ทำจากพลาสติกชีวภาพในการห่อหุ้มผัก ผลไม้ ที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น ฟิล์มที่ทำจากพลาสติกชีวภาพชนิด PLA (polylactic acid) นอกจากนี้ฟิล์มชนิด PLA ยังยอมให้ก๊าซออกซิเจนและไอน้ำผ่านได้จึงเหมาะสมในการห่อหุ้มผัก ผลไม้สด เอ็มเทคยังมีการศึกษาวิจัยในเชิงลึก เช่น การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของ PLA การปรับปรุงคุณสมบัติของ PLA ให้มีลักษณะตามต้องการ เช่น ปรับปรุงคุณสมบัติการทนต่อความร้อนและความเหนียว นอกจากนี้เอ็มเทคยังรับทดสอบว่าเป็นพลาสติกชีวภาพชนิดย่อยสลายได้ (compostable plastic) หรือไม่ โดยผ่านการทดสอบ 4 ข้อคือ 1.Chemical characterization 2.Biodegradation test 3.Disintegration test และ 4.Ecotoxicity test (การทดสอบความเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อมโดยทดสอบกับพืชและสัตว์ ในการทดสอบกับสัตว์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์การรอดของไส้เดือน น้ำหนักที่เปลี่ยนไป) โดยเอ็มเทครับทดสอบจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกและยังมีส่วนในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการรับทดสอบในบางประเทศ

ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพมีใช้น้อยมากในประเทศส่วนใหญ่ส่งออกไปยังต่างประเทศเนื่องจากยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานมารองรับและการประยุกต์ใช้พลาสติกชีวภาพในการแพทย์เป็นไปได้ยากเนื่องจากต้องผ่านการทดสอบทางคลีนิกซึ่งใช้ระยะเวลานาน

เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 วันที่ 1 เมษายน 2556 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-305 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย– ( 134 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


one + = 3

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>