magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "ASEAN" (Page 3)
formats

บุกเออีซีด้วยซอฟต์แวร์

ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) ร่วมกับโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขอเชิญร่วมสัมมนาฟรี ในงาน Intermach 2013 หัวข้อ “เปิดแนวรุกบุก AEC ด้วย Customize Engineering Software” ผู้ร่วมงานจะได้รับฟังเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ Engineering Software เพื่อช่วยภาคอุตสาหกรรมการสร้างนวัตกรรมให้ธุรกิจด้วย Software หลักเกณฑ์และขั้นตอนการขอรับการสนับสนุนด้านการเงินจาก iTAP ทิศทางการให้บริการวันศุกร์ที่ 17 พ.ค.นี้ เวลา 13.00-15.30 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา รายการอ้างอิง : บุกเออีซีด้วยซอฟต์แวร์. โพสต์ทูเดย์ (ปฏิทิน). ฉบับวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. – ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558

หัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ เรื่อง รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่  AEC ในปี 2558 เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ หัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี  เนื้อหาการบรรยายโดยสรุป ประเด็นร้อนของภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ คือการเปิดเสรีของประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งระบบรางเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ระบบรางที่ถูกกล่าวขานกันมากในภูมิภาคอาเซียน คือรถไฟความเร็วสูง ปี 2552 ประเทศเวียดนามตกเป็นข่าวอย่างร้อนแรงในการที่จะเป็นชาติแรกที่สร้างทางรถไฟความเร็วสูง แต่ในที่สุดรัฐสภาเวียดนามก็มีมติไม่เห็นชอบกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองเดียวที่รัฐบาลรับรัฐสภามักจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหลังจากเวียดนามชะลอโครงการรถไฟความเร็วสูงไปแล้ว ก็เกิดกระแสรถไฟความเร็วสูงขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทยโดยคาดหวังว่าจะมีการสร้างรถไฟทางกว้าง 1.435 เมตรจากคุณหมิงมายังเวียงจันทน์ แล้วเลยเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งหากเป็นจริงแล้วก็จะเป็นการเชื่อมทางรถไฟจากประเทศจีนเข้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งใช้ทางรถไฟเป็นขนาดกว้าง 1

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร

การเสวนาเรื่อง ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร เป็นหนึ่งในหัวข้อการเสวนาหัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปการเสวนาได้ดังนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด จึงต้องอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติมากที่สุด แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปรวมถึงเกิดปัญหาต่างๆ มากมาย จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในปัจจุบัน โดยการหาวิธีการ กระบวนการ ตลอดจนแนวความคิดต่างๆ เพื่อปรับปรุงผลผลิตให้ดีขึ้น เพื่อผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการเสวนาดังกล่าวมีการกล่าวถึงการทำเกษตรอย่างไรให้ได้ผลผลิตที่ดี ทั้งคุณภาพและปริมาณ รวมตลอดถึงผลตอบแทนที่จะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำนาข้าว  การปลูกพืชและผักอินทรีย์และการทำเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น การทำนาโดยวิธีแกล้งข้าว เพื่อให้ผลผลิตของข้าวได้มากขึ้น ไม่ว่าข้าวนั้นจะปลูกในนาใดก็ตาม คุณศุภชัย ปิติวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการขาย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ถอดบทเรียน ‘หุบเขาอาหาร’ นำร่องสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก

อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร     เนื่องจากผู้ผลิตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตการเกษตร ผ่านกระ บวนการแปรรูปให้เป็นอาหารที่ผู้บริโภคต้องการ คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีความต้อง การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 150 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอาหารแปรรูปคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกถึง 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2556 และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ.2558 อย่างเต็มตัว– ( 131 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)

AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)  เป็นอีกหัวข้อหนึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) เป็นการบรรยายวันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 13.30-15.30 น. เนื่องจากในระยะเวลาเพียง 3 ปี ต่อจากนี้  ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) บุคลากรในสาขาต่างๆ จะมีทางเลือกในการทำงานอย่างเปิดกว้าง กระแสของการหมุนเวียนแรงงานจะเปิดกว้างมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ทุกภาคส่วนจะต้องมีกลยุทธ์ในการจูงใจและรักษาคนเก่ง แรงงานก็ต้องพัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและองค์กร เพื่อรักษางาน และสร้างจุดแข็งให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศได้ การนำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศของวิทยากรในหัวข้อนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านกำลังคนด้าน ว และ ท คุณลักษณะเด่นของ Talent บุคลากรคุณภาพภายในองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถาปนิกอาเซียน

สภาสถาปนิก  ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน ได้รวบรวมข้อมูลในส่วนของประเทศไทยที่มีการผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมภายใต้กรอบ AFAS (ASEAN Framework Agreement on Service) หรือ กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ซึ่งมีการกำหนดให้เปิดตลาดการค้าบริการให้เป็นตลาดการค้าบริการที่เสรีและเป็นตลาดเดียวภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และยอมรับร่วมกันของอาเซียนด้านการบริการสถาปัตยกรรม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services: MRAs) เพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษา ประสบการณ์การทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อให้สถาปนิกในกลุ่มประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ทั้งนี้ ติดตามข้อมูลรายละเอียดของสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน (ASEAN Architect Council – AAC) ได้ที่ http://www.aseanarchitectcouncil.org/about.html  และติดตามข้อมูลของสภาสถาปนิก ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรม ได้ที่ http://www.act.or.th/th/asean_architect/– ( 132 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สมาคมประกันสังคมอาเซียน (ASEAN Social Security Association – ASSA)

จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนางานประกันสังคม และแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการและประสบการณ์ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อการรวมตัวกันจะส่งผลให้มีสิทธิและเสียงในสมาคมประกันภัยระหว่างประเทศมากขึ้น มีการจัดทำเว็บไซต์ ASSA ที่ http://www.asean-ssa.org/ ประเทศไทยมีหน่วยงานที่เป็นสมาชิก คือ สำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th) กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (www.gpf.or.th) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (www.nhso.go.th) – ( 186 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA)

เดิมชื่อว่า องค์การรัฐสภาพอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 เพื่อสร้างความร่วมมือของรัฐสภาแห่งชาติในอาเซียนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเมื่อการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียนครั้งที่ 27 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีการเปลี่ยนชื่อจากองค์การรัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) มาเป็นสมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร และบูรณาการการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้มีรูปธรรม ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างรัฐสภาในประเทศสมาชิกอาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นปรับปรุงโครงสร้างการทำงานขององค์กร เพิ่มช่องทางการทำงานร่วมกันกับ ASEAN โดยการแลกเปลี่ยนการเข้าร่วมประชุมระหว่างประธาน AIPA และประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน และให้อำนาจกับที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในการริเริ่มการจัดทำกฎหมายในประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสนใจร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ติดตามความกิจกรรมความเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.aipasecretariat.org/ และ http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14330&filename= – ( 152 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ศูนย์สารสนเทศอาเซียน มรภ. มหาสารคาม

ศูนย์สารสนเทศอาเซียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ASEAN Information Center, Rajabhat Mahasarakham University) ให้บริการสารสนเทศอาเซียน เพื่อให้ความรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับโรงเรียน สถานศึกษา ซึ่งสามารถนำไปเป็นต้นแบบในกรจัดทำศูนย์อาเซียนศึกษาได้ ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยเอกสารข้อมูล นิทรรศการ และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งสารสนเทศอาเซียนอื่นๆ และที่ทางศูนย์ฯ พัฒนาขึ้นเอง สามารถเข้าถึงสารสนเทศและกิจกรรมของศูนย์ฯ ได้ที่  http://arcm.rmu.ac.th/~asean/asean_web/home.php – ( 154 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สหกรณ์ตรังร่วมประชุมสวทช.ปรับปรุงผลิตปาล์มสู่อาเซียน

ตรัง :นายนันทวัฒน์ แก้วอำดีสหกรณ์จังหวัดตรัง นำคณะกรรมการดำเนินการ และผู้จัดการสหกรณ์ในจังหวัดตรัง เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2556 (NAC 2013) หัวข้อเรื่องจากปาล์มน้ำมัน สู่น้ำมันปาล์ม : วิกฤตหรือโอกาสในการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายนันทวัฒน์ กล่าวว่า งานในวันนี้จัดขึ้นโดย สวทช. เพื่อมุ่งเน้นและสะท้อนบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่มีต่อยุทธศาสตร์และทิศทางของประเทศ ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)อย่างเต็มรูปแบบ ในหัวข้อ ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื่องจาก สวทช. เล็งเห็นว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2558 จะเป็นโอกาสหรือความท้าทายต่อภาคธุรกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ ก็ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการปรับตัวของภาคธุรกิจ และการเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในประเทศเพื่อให้ภาคธุรกิจไทยสามารถแข่ง ขันได้ สหกรณ์จังหวัดตรัง กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นระหว่างทุกภาคส่วนถึงความต้องการและศักยภาพในการพัฒนาและประยุกต์ ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments