เทคโนโลยีการทำเกษตรอินทรีย์ @ ฆ้องชัยพัฒนา

การผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ การเพาะกล้าที่สวนปันบุญ การเลี้ยงชันโรงที่สวนจิราภาออร์แกนิค

สท. พร้อมเปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

สท. พร้อมเปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. เตรียมพร้อมเปิด AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 โดยจะนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ อาทิ โรงเรือนอัจฉริยะ, ไวมาก: ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT, HandySense: ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชจากผลงานวิจัยของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร อาทิ พริกพันธุ์อัคนีพิโรธ เพชรมอดินแดง เรดซันอีสาน หยกขาวมอดินแดง มะเขือเทศพันธุ์นิลมณี ชายนี่ ควีน ซัมเมอร์ซัน

หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

“การทำอาหารให้ได้คุณภาพ วัตถุดิบเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้นทางวัตถุดิบมาจากการทำเกษตรที่ดี” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอัตลักษณ์อันโดดเด่นด้านอาหารมาเนิ่นนาน นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นโรงเรียนการเรือนจวบจนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารออกสู่สังคมโดยคำนึงความอร่อย  คุณค่าและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อน โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ หรือ หอมขจรฟาร์ม บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อดำเนินงานส่งเสริมคุณค่าห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัยจากต้นน้ำไปจนกระทั่งถึงปลายน้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและชุมชน “เราไม่ได้ต้องการทำเกษตรดั้งเดิม แต่จะนำเทคโนโลยีมาบูรณาการกับการเกษตรที่ดีและความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปที่เป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัย” รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวถึงความตั้งใจของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนโครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ ที่ไม่ใช่แค่การดำเนินงานเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเท่านั้น หากยังบูรณาการการดำเนินงานของแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะเป็นฐานการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้บุคคลทุกช่วงวัย ทั้งนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ เกษตรกรและผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรือนเพาะปลูกพืชขนาด 6x20x5.6 เมตร จำนวน 3 โรงเรือนตั้งเรียงตระหง่านบนพื้นที่หอมขจรฟาร์ม เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีเป้าหมายเพื่อ “พัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”

ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”

“ตื่นเต้น รู้สึกว่าเท่ แปลกใหม่ โรงเรือนที่เคยเห็นก็ธรรมดา ไม่มีเทคโนโลยี” มายด์-สุภนิดา นามโบราณ นักเรียนทวิศึกษาสาขาเกษตรนวัต โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ โรงเรียนวังจันทร์วิทยา เล่าถึงความรู้สึกแรกที่ได้รู้จักโรงเรือนอัจฉริยะ “โรงเรือนอัจฉริยะ” คือโรงเรือนปลูกพืชที่ติดตามและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นอากาศ ความเข้มแสง และความชื้นดิน โดยใช้ชุดเซนเซอร์และระบบควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยอัตโนมัติตามความต้องการของพืช สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ติดตั้งโรงเรือนอัจฉริยะ ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง ขณะเดียวกันยังเป็นหนึ่งในหัวข้อเรียนรู้ของนักเรียนหลักสูตร “เกษตรนวัต” อีกหนึ่งโครงการความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2562 เหล่านักเรียนเกษตรนวัตจำนวน 21 คน ใช้เวลาช่วงบ่ายในแต่ละวันเรียนรู้เรื่องพืช

“เมล่อนคุณภาพ” ผลผลิตจากโรงเรือนอัจฉริยะ

“เมล่อนคุณภาพ” ผลผลิตจากโรงเรือนอัจฉริยะ

กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผลผลิตเมล่อนจำนวนกว่า 250 ลูก จากโรงเรือนอัจฉริยะ บริเวณ AGRITEC Station อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ส่งมอบถึงบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และเทศบาลเมืองท่าโขลง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับบริษัท นาวิต้าฟู้ดส์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล่อนมากว่า 30 ปี ทดลองปลูกเมล่อน 4 สายพันธุ์ในระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ได้แก่ พันธุ์เพิร์ลเมล่อน เนื้อสีส้ม พันธุ์เพิร์ลเมล่อน เนื้อสีเขียว พันธุ์กาเลียเมล่อน และพันธุ์เมล่อนเนื้อสีทอง โดยใช้ความสามารถของระบบ IoT (Internet of Thing) ในโรงเรือนอัจฉริยะ บริหารจัดการการปลูก

ทำน้อย มากด้วยคุณภาพ

ทำน้อย มากด้วยคุณภาพ

“ทำน้อยแต่มากด้วยคุณภาพผลผลิต ระบบจัดการที่เล็ก แต่เป็นระเบียบ”  เกล้า เขียนนุกูล สมาชิก “สวนภูภูมิ” บอกเล่าถึงแนวคิดการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยวที่เป็นทั้งรีสอร์ทและสวนเกษตร โดยมี “สตอร์วเบอร์รี่อินทรีย์” เป็นผลผลิตขึ้นชื่อ “สวนภูภูมิ” เกิดขึ้นจากความตั้งใจและความชื่นชอบการทำเกษตรของ พันโทกิติภูมิ เขียนนุกูล อดีตข้าราชการทหารที่ตัดสินใจลาออกจากราชการเพื่อทำเกษตรเชิงท่องเที่ยวมากว่า 5 ปีที่บ้านเข็กกลาง อ.นครไท จ.พิษณุโลก บนพื้นที่ 20 ไร่ โดยมีโรงเรือนปลูกสตอร์เบอร์รี่ขนาด 1 ไร่ ก่อนจะโยกย้ายสมาชิกครอบครัวมาปักหลักทำรีสอร์ทได้เพียงสองปีที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ บนพื้นที่ 3 ไร่ พร้อมแปลงสตอร์วเบอร์รี่เพียง 1 งาน “สตอร์วเบอร์รี่อินทรีย์สวนภูภูมิ” เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบผลไม้เมืองหนาวนี้ ไม่เพียงปราศจากสารเคมี แต่ด้วยรสชาติที่เข้มข้น เนื้อแน่น หวานกรอบ ผลผลิตไม่เละ และเก็บได้นาน ทำให้มีลูกค้าสั่งจองตั้งแต่เริ่มปลูกและเฝ้ารอผลผลิตจากสวนแห่งนี้ทุกปี “เราไม่ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เคมีไม่ยุ่งเลย ใส่แต่ขี้หมูขี้ไก่ล้วนๆ จนคนม้งยังบอกว่าบ้า จะทำได้เหรอ แต่เราก็ได้ผลผลิต

สวทช.-ม.แม่โจ้ ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

สวทช.-ม.แม่โจ้ ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

สวทช. ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และผศ.พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี ม.แม่โจ้ ร่วมลงนามภายในงาน สวทช.-วิทย์สัญจร จ.เชียงใหม่ ประจำปี 2563 เพื่อร่วมพัฒนาองค์ความรู้ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของภาคการเกษตรไทย พร้อมกันนี้คณะผู้บริหาร สวทช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ม.แม่โจ้ สัมผัสตัวอย่างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่แปลงวิจัยลำไย ทดสอบการใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อการเกษตร และระบบการให้น้ำอัตโนมัติสำหรับพืชไร่และพืชสวน ผ่าน Smart IoT รวมถึงเยี่ยมชมแปลงทดสอบผลิตมะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ของ สวทช.