พัฒนาเชิงพื้นที่ อนุรักษ์-ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน: ชุมชนฮาลา-บาลา

พัฒนาเชิงพื้นที่ อนุรักษ์-ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน: ชุมชนฮาลา-บาลา

“ป่าฮาลา-บาลา” ผืนป่าดืบชื้นบนพื้นที่เกือบ 4 แสนไร่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลาและนราธิวาส ขึ้นชื่อว่าเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากแห่งหนึ่งของประเทศทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ด้วยอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ ไม่เพียงการรักษาสิ่งมีชีวิตในพื้นป่าให้คงอยู่ หากการพัฒนาชีวิตผู้คนในพื้นที่ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การเกิดขึ้นของ “หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลา-บาลา” โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อเกือบ 20 ปี คือจุดเริ่มต้นของการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่า และขยายสู่การทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่ของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ในชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลา ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้จากทรัพยากรท้องถิ่นโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลาเป็นพื้นที่ทำงานเชิงพื้นที่ของ สท. ในระดับ 2 ดาว ที่มีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ แต่ชุมชนยังประสบปัญหาด้านอาชีพและรายได้ และด้วยบริบทของพื้นที่ที่อิงแอบกับความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า หากเกิดการเรียนรู้และรู้จักใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่อย่างเข้าใจ

พัฒนาเชิงพื้นที่ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่ ‘บ้านสา’

พัฒนาเชิงพื้นที่ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่ ‘บ้านสา’

ชุมชนบ้านสามัคคี ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินงาน (area based) ของ สท. ในระดับ 2 ดาว ซึ่ง สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ทำงานในพื้นที่ดังกล่าวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เทศบาลตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง แก้ปัญหาราคาผลผลิตสับปะรดตกต่ำผ่านการถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับราคาสับปะรด ตั้งแต่การผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน GAP การผลิตนอกฤดู การเพิ่มมูลค่าผลสดและการแปรรูปที่ได้รับมาตรฐาน อย. จนสามารถยกระดับรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากเดิม 35,000- 40,000 บาท/คน/ปี เป็น 57,000 บาท/คน/ปี (ปี พ.ศ.2565) ตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ จากฐานการทำงานในพื้นที่ดังกล่าวและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เทคโนโลยีการทำเกษตรอินทรีย์ @ ฆ้องชัยพัฒนา

การผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ การเพาะกล้าที่สวนปันบุญ การเลี้ยงชันโรงที่สวนจิราภาออร์แกนิค

มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ

มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ

“มะเขือเทศอินทรีย์” อีกหนึ่งผลผลิตคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ที่ผสานทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของสมาชิกกลุ่ม ทำให้ได้มะเขือเทศอินทรีย์ที่มีรสชาติหวาน เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า โดยพันธุ์ที่กลุ่มฯ ปลูก คือ พันธุ์ซันไซน์ พันธุ์แดงโกเมน (พันธุ์ที่ปรับปรุงโดย สวทช.) และพันธุ์โซลาริโน่ (พันธุ์การค้า) เรื่องต้องรู้ก่อนตัดสินใจปลูกมะเขือเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ วางแผนบริหารจัดการให้สอดคล้องกับตลาดและต้นทุนของตนเอง (ทุน แรงงาน) เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการปลูก ทั้งด้านการผลิต การตลาด การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง o รู้ตลาด ความต้องการของตลาด เพื่อเลือกชนิดพันธุ์มะเขือเทศ วางแผนการปลูก  o รู้สภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น แสง โรคและแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงดิน น้ำ ปัจจัยการผลิต เพื่อวางแผนการบริหารจัดการ เลือกวิธีป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่มีโอกาสเกิดขึ้น o รู้จักเทคโนโลยี เลือกใช้ตามความจำเป็นและทุน

การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง

การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง

สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดลำปาง สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกร/ชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำปางด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่  การดำเนินงานของ สท./สวทช. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกษตรกร/ชุมชนตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่ นำไปสู่การยกระดับการผลิตและขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกร/ชุมชนอื่น  ดังเช่น > ภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของฟาร์ม “สุขใจฟาร์ม” ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  > จุฬารัตน์ อยู่เย็น เจ้าของฟาร์ม “คนทำฟาร์ม” หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ ที่จัดโดย สวทช. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ที่มุ่งเน้นบ่มเพาะคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์”  > กลุ่มแปลงใหญ่สับปะรดบ้านสา

วิสาหกิจชุมชนปันบุญ

วิสาหกิจชุมชนปันบุญ

เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยาก แต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ -สุจารี ธนสิริธนากร- คือที่มาของชื่อ “สวนปันบุญ” แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ที่คนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปัน นับแต่ก่อตั้งกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนปันบุญ” เมื่อปลายปี 2555 โดยมี สุจารี ธนสิริธนากร เป็นหัวเรือสำคัญที่เปิดรับและปรับเปลี่ยนนำพากลุ่มฯ พัฒนาจนกลายเป็น “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ปันบุญ” ที่ผลผลิตทั้งข้าวและผักได้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมดำเนินงานกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญเมื่อปี 2561 ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง โดยทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ (ศวพ.กาฬสินธุ์) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) และบริษัท