“ชีวภัณฑ์” ผลิตใช้เอง ผลิตให้ชุมชน เสริมรายได้

“ชีวภัณฑ์” ผลิตใช้เอง ผลิตให้ชุมชน เสริมรายได้

ยิ่งเราทำบ่อยก็ยิ่งเชี่ยวชาญ ดูคุณภาพจากสปอร์ฟุ้ง ไม่มีเส้นใย ส่งตรวจมีปริมาณสปอร์ตามมาตรฐานที่ได้รับถ่ายทอดจาก สวทช. -สุนทร ทองคำ- “ไม่ได้มองว่าชีวภัณฑ์ที่เราผลิตจะเป็นรายได้หลัก แต่การส่งเสริมให้คนใช้ เป็นสิ่งที่ต้องทำมากกว่า” คำบอกเล่าจาก สุนทร ทองคำ ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลวังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี บ่งบอกความตั้งใจของเขาบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ที่มี ‘ชีวภัณฑ์’ เป็นอาวุธสำคัญ สุนทร เติบโตในครอบครัวชาวนา เห็นความยากลำบากในงานเกษตรมาแต่เล็ก เขาจึงปฏิเสธที่จะเดินตามอาชีพของครอบครัว มุ่งสู่ชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่เอื้อความสะดวกสบาย แต่เมื่อภาระงานประจำที่ถาโถม ทำให้เขาเริ่มหวนคิดถึงห้องทำงานในธรรมชาติ “ตอนนั้นมองทุกอาชีพ ถ้าไปขายของ ก็มองความแน่นอนไม่มี ถ้าจะไปรับจ้าง แล้วเราจะลาออกมาทำไม พรสวรรค์ตัวเองก็ไม่มี ก็เลยมองว่าเกษตรนี่ล่ะน่าจะตอบโจทย์ตัวเองที่สุด” สุนทร วางแผนและเตรียมตัวก่อนลาออกจากงานอยู่ 2 ปี เริ่มต้นเป็น “เกษตรกรวันหยุด” เรียนรู้การทำเกษตรบนพื้นที่

สท.-ม.แม่โจ้ ร่วมกับภาคเอกชน หนุนอาชีพให้ “ผู้พิการ” สร้าง “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ

สท.-ม.แม่โจ้ ร่วมกับภาคเอกชน หนุนอาชีพให้ “ผู้พิการ” สร้าง “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และห้างหุ้นส่วนลักกี้ ซี้ดอโกร จัดสร้างต้นแบบ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ให้ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.วังเหนือ จ.ลำปาง สนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้ให้สมาชิกชมรมและผู้ดูแลผู้พิการ พร้อมขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพในพื้นที่จังหวัดลำปาง นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มีบทบาทหนึ่งในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเผยแพร่สู่ชุมชน ซึ่งปัญหาที่พบจากชุมชนหรือเกษตรกรคือ ขาดองค์ความรู้การทำการเกษตร “สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเครือข่ายภาคเอกชน ดำเนินโครงการ “การพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และผู้ผลิตผักสดและเมล็ดพันธุ์ในชุมชน” ผ่านกระบวนการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านเกษตรอินทรีย์ เรื่องการผลิตผักสดคุณภาพ การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักสดคุณภาพ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการผลิตผักสดคุณภาพและการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักในระบบเกษตรอินทรีย์ไว้ใช้เอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร ตลอดจนสร้างรายได้และอาชีพ

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครสักคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางแสงสี เสียงและเงินทองในเมืองกรุงมาค่อนชีวิต จะหันหลังให้ความสุขสนุกแล้วมาลงแรงปลูกผักที่บ้านเกิด ที่แวดล้อมด้วยแสง สีและเสียงของธรรมชาติ สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่และโลดแล่นในวงการบันเทิงที่กรุงเทพฯ  พลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ เพียง 3 ปีบนเส้นทาง “เกษตรอินทรีย์” ผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ เดินทางสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และยังสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ จากประสบการณ์การทำงานในฐานะผู้จัดการร้านถ่ายภาพที่จับงานเองทุกขั้นตอนกว่า 8 ปี นำทางสู่สายงานภาพยนตร์กับบริษัทดังในหน้าที่จัดหานักแสดง ทิ้งทวนชีวิตวงการมายาด้วยบทบาทผู้กำกับภาพยนตร์ก่อนกลับคืนถิ่นที่บ้านเกิด “เราทำงานในวงการบันเทิงห้อมล้อมด้วยแสงสี ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย กินดื่มเที่ยวสารพัด ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีพอ พอเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ไม่มีใครดูแลเราเลย คนที่ดูแลเราคือแม่และคนในครอบครัว

ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น

ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น

‘เซ่ง ผลจันทร์’ ‘ขวัญเรือน นามวงศ์’ และ ‘ธนากร ทองศักดิ์’ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการผลิตพืชผักจากโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ที่มุ่งให้เกษตรกรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับประยุกต์การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐานและคุณภาพ เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แม้ล่วงสู่วัย 62 ปี เซ่ง ผลจันทร์ หรือลุงเซ่ง สมาชิกสหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ จำกัด อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ดูแลจัดการแปลงผักขนาดพื้นที่ 200 ตารางวา ตัดผักส่งสหกรณ์ฯ สัปดาห์ละ 3 วัน และผลิตผักส่งตามออเดอร์จากท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้ไม่ขาด มีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

กลางปี 2562 ดิเรก ขำคง เจ้าของฟาร์ม Be Believe Organic Farm จ.ราชบุรี และ ภัทรนิษฐ์ ภุมมา เจ้าของสวนกล้วยภัทรนิษฐ์ จ.นครปฐม ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มภายใต้เครือข่ายสามพรานโมเดล เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีไว้ใช้เอง” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใครจะคิดว่าหลังการอบรมวันนั้นเพียง 6 เดือน ชีวิตของเขาทั้งสองได้เปลี่ยนไป ดิเรก อดีตวิศวกรหนุ่มที่อิ่มตัวกับงานประจำ จับพลัดจับผลูเดินบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์กับผลผลิต “ต้นอ่อนผักบุ้ง” ที่เขาและภรรยาใช้เวลาถึงสองปีลองผิดลองถูกเพื่อหวังเป็นอาชีพใหม่ “แฟนผมแพ้เคมีทุกอย่าง แม้แต่ผงชูรส ตอนนั้นต้นอ่อนผักบุ้งมีน้อย เป็นต้นสั้นและใช้เคมี เรามองว่าถ้าปลูกเป็น ใช้เวลา 7 วันก็สร้างรายได้ แต่ข้อมูลการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งแทบไม่มี เราต้องลองผิดลองถูกกันเอง ทิ้งไปเยอะมาก กว่าจะได้ความยาวต้นที่เหมาะ

กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองมังจัดงาน “สะเต็มศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์”

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร เปิดเวทีเสวนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” จุดประกายความรู้ นำแนวคิดสะเต็มศึกษาพัฒนาการทำเกษตร พร้อมนำชมแปลงปลูก-แลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกรเจ้าของแปลง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ สวทช. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4 กรมวิชาการเกษตร สำนักงานพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชมรมคนรักในหลวงอุบลราชธานี บริษัท สังคมสุขภาพ เป็นต้น จัดโครงการประชารัฐภักดี เกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ เผยแพร่ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี กิจกรรมในงานประกอบด้วย เวทีเสวนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” ถ่ายทอดความรู้ แนวคิด และการประยุกต์ใช้ STEM กับการทำเกษตรอินทรีย์ จากผู้ร่วมเสวนา

เสวนา “สะเต็มศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์”

จากเวทีสัมมนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” ในงานโครงการประชารัฐภักดี เกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 จัดโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางและเครือข่ายพันธมิตร ณ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย คุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง คุณกัลยารัตน์ รัตนะจิตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช. คุณพเยาว์ พรหมพันธ์ใจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4 กรมวิชาการเกษตร คุณบุญถม กุมพล ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี กรมพัฒนาที่ดิน และคุณแขลดา จิตปัญญา ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมสุขภาพ บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด