มะเขือเทศเชอรี่สีดำอินทรีย์

กิจกรรม “ศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง” เป็นหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานโครงการประชารัฐภักดี เกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่ง “การปลูกมะเขือเทศแบล็คเชอรี่อินทรีย์ หรือมะเขือเทศเชอรี่สีดำอินทรีย์” ของคุณสุรทอน เหมือนมาด หนึ่งในสมาชิกกลุ่มฯ ได้รับความสนใจจากผู้เยี่ยมชมแปลงไม่น้อย เมื่อปี 2557 ลูกสาวคุณสุรทอน ซึ่งเรียนอยู่ที่ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับผลมะเขือเทศแบล็คเชอรี่จาก ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ แล้ว คุณสุรทอนและภรรยาได้ช่วยกันเก็บเมล็ดพันธุ์ โดยตั้งใจปลูกเป็นพืชหลังนา ปีแรกปลูกเพื่อทำพันธุ์ ปีที่สองปลูกขายซึ่งได้ผลผลิตไม่มาก และเริ่มปลูกขายครั้งที่สองเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2559 ระยะเวลาปลูกประมาณ 120 วัน เก็บผลผลิตในช่วงอายุ 70 วัน การปลูกและดูแลทำเช่นเดียวกับการปลูกมะเขือเทศเชอรี่สแนคสลิม ผลผลิตที่ได้ประมาณ 2-3

เทคนิคปลูก “หอมอินทรีย์สำลีแดง-กระเทียมแก้ว” ให้ได้หัวใหญ่ คุณภาพดี

นอกจาก “ผักสลัด มะเขือเทศ และข้าวอินทรีย์” จะเป็นผลผลิตอินทรีย์ที่ขึ้นชื่อของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานีแล้ว “หอมแดงและกระเทียม” ที่มีขนาดใหญ่ คุณภาพดี ก็ได้รับการตอบรับไม่แพ้กัน คุณสำลี บัวเงิน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์โนนกลาง เจ้าของหอมแดงพันธุ์ “สำลีแดง” ชื่อสายพันธุ์ที่คุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มฯ ตั้งให้ ด้วยเป็นพันธุ์ที่ส่งต่อจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ และคุณสำลีเก็บและต่อพันธุ์เอง ส่วนกระเทียมเป็นพันธุ์กระเทียมแก้ว ผลผลิตหอมแดงและกระเทียมของคุณสำลีมีขนาดใหญ่ สีสวย เก็บได้นาน และคุณภาพดี สร้างรายได้หลักแสนต่อไร่ คุณสำลี บอกว่า การเตรียมดินเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ได้หอม กระเทียม ที่ดีและใหญ่ การตรวจวัดค่า pH ดิน (ค่าความเป็นกรดด่าง) จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งค่า pH

เคล็ดวิชาเกษตรอินทรีย์

“ผลผลิตอินทรีย์” เป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่ให้ความใส่ใจอาหารการกินมากขึ้น แม้ราคาจำหน่ายจะค่อนข้างสูง แต่เพื่อสุขภาพแล้ว ผู้คนไม่น้อยยินดีที่จะจ่าย เมื่อความต้องการ “ผลผลิตอินทรีย์” มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของฟากผู้ผลิตอย่าง “เกษตรกร” ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของอาชีพเกษตรกรให้ดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ “คุณภาพของผลผลิตอินทรีย์” ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคได้เพียงใด “การทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีอุดมการณ์และมีวิชาการ” ผลึกความคิดที่ตกตะกอนจากการเรียนรู้และมุ่งมั่นกับการทำเกษตรอินทรีย์มากว่า 20 ปีของคุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี และอดีตอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ “อุดมการณ์ คือ ความมุ่งมั่น มีศรัทธาและความเชื่อมั่นในวิชาชีพเกษตรกรของตัวเอง เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ และส่งต่อความรู้ให้ชุมชนได้ วิชาการ คือ เกษตรกรเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ แต่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการได้ เกษตรกรต้องเรียนรู้” คุณปิยะทัศน์ ขยายความสิ่งที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ ประกอบด้วย ดิน เพราะดินคือหัวใจของการทำเกษตร เกษตรกรต้องรู้ว่า

สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ

สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ

“ถ้าคนรุ่นใหม่สนใจงานด้านการเกษตรจะช่วยต่อยอดงานเกษตรได้ เพราะคนรุ่นใหม่เข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้ง่ายกว่า เวลามีข่าวหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาก็จะเปิดรับและปรับตัวได้ง่ายกว่า” ในยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี มีคนรุ่นใหม่ไม่มากนักที่สนใจหรืออยากทำงานกลางแดดแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน หนึ่งในนั้นมี “น้ำ” กัลยาณี เหมือนมาต ทายาทเกษตรกรผู้มีทั้งพ่อและแม่เป็นต้นแบบการดำเนินชีวิต จนเป็นแรงบันดาลใจให้เธอตัดสินใจเลือกเรียนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเกิดที่บ้านโคกสว่าง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี กัลยาณี เป็นลูกสาวคนโตของ พ่อสุรทอนและแม่สำรอง เหมือนมาต งานของพ่อแม่ในความทรงจำครั้งเป็นเด็กของเธอ คือ การทำนาสลับกับปลูกพืชหลังนาและการใช้สารเคมีบนผืนนาหลายสิบไร่ “เห็นพ่อทำเกษตรโดยใช้เคมีมาตลอด หลังจากปลูกข้าวแล้วก็ปลูกพริกส่งขายตลาด พ่อมีอาการแพ้ถึงขั้นเลือดกำเดาไหล ส่วนมากมาจากการฉีดยาฆ่าแมลงจำพวกแมลงวันทองที่พบมากในพริก ต้องฉีดสัปดาห์ละครั้ง แม้จะป้องกันตัวเองแต่ก็ยังทำได้ไม่ได้ดี” ผลกระทบต่อสุขภาพในครั้งนั้นทำให้ สุรทอน ตัดสินใจหันหลังให้การทำเกษตรแบบใช้สารเคมีโดยเด็ดขาดก่อนตั้งต้นเดินหน้าทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ปัจจุบัน สุรทอนและสำรอง เหมือนมาต เป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ยืนหยัดปลูกข้าวและผักอินทรีย์ส่งขายเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวมาร่วม 14

พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ

พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ

ธรรมชาติของการรวมกลุ่มก่อเกิดจากคนที่มีความคิดอ่านคล้ายกัน ยอมรับในข้อกำหนดหรือแนวทางที่ตกลงร่วมกัน เช่นเดียวกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ที่หลอมรวมขึ้นจากสมาชิกผู้มุ่งมั่นทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มีเจตจำนงแน่วแน่ในการลดใช้สารเคมี ปฏิเสธสารสังเคราะห์ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค สร้างระบบนิเวศที่สมดุล ควบคู่กับการสร้างอาชีพที่มั่นคง และเป็นแบบอย่างการเรียนรู้แก่ผู้สนใจ กว่าสมาชิกจาก 14 ครัวเรือนจะฝังรากบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ได้ แทบทุกคนเคยผ่านการทำเกษตรเคมีมาแล้ว บางคนต้องล้มป่วยเพราะผลจากการใช้สารเคมีอย่างหนักจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ดังเช่น สุรทอน เหมือนมาต “ตอนทำเกษตรเคมีลงทุนเยอะ ทั้งทุน ทั้งสุขภาพ ทำไปทำมาไม่คุ้ม ตอนแรกดินยังดี แต่พอ 5 ปีขึ้นไปดินเริ่มเสีย พืชเริ่มเป็นโรค ยิ่งใช้สารเคมีหนัก จนมีอาการเหมือนมีลมดันในจมูกขึ้นไปสมอง หายใจไม่อิ่ม นอนก็ไม่อิ่ม ไม่เหมือนทำเกษตรอินทรีย์ใช้ลูกเก็บผักได้เพราะรู้ว่าปลอดภัย” ถวัลย์ ถีระทัน เป็นอีกคนที่ “เคยสนุกกับการทำเคมีและไม่รู้สึกว่าเป็นคนนำสารพิษมาให้ภรรยาและลูก” กระทั่งภรรยาแพ้สารเคมีอย่างหนักจนเข้าออกโรงพยาบาลประจำ จึงทดลองปลูกผักอินทรีย์ตามคำเชิญชวนของ ปิยะทัศน์ ทัศนิยม ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง หลังจากปลูกผักอินทรีย์ขายได้ 2 ปี ถวัลย์มีรายได้มากกว่าอาชีพขายเสื้อผ้าเร่ที่ทำอยู่เดิม แถมได้สุขภาพที่แข็งแรงของภรรยากลับมา