ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้พัฒนาความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยกระดับการผลิตและผลิตภัณฑ์ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยดำเนินงานผ่านโครงการดังนี้ โครงการบ่มเพาะเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเป็น Top Smart New Gen (ปี 2564) มีผู้ได้รับการสนับสนุน 20 ราย โครงการพัฒนาศักยภาพ New Gen, Smart Farmer และ Young Smart Farmer ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ ธ.ก.ส. ปี 2565-2566) มีผู้ได้รับการสนับสนุน 30 ราย

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”

เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” และ “เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดมิลค์กี้เชิงพาณิชย์” โดยได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้ประกอบการและนักศึกษารวมกว่า 60 คน ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การอบรมในหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” จัดขึ้น ณ ห้องประชุมประถม ใจจิตร อาคารกุลละวณิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข นักวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “สิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และโมเดลการเลี้ยงกุ้งแบบธรมชาติ: ลดต้นทุน

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา”

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา”

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมออนไลน์หัวข้อ “การเพิ่มผลผลิตทุเรียนภายใต้ปรากฎการณ์เอลนีโญ-ลานีญา” โดยมี ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล ประธานกลุ่มสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เป็นวิทยากรให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือการผลิตทุเรียนในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง คลิกชมวิดีโอย้อนหลัง อนึ่ง กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี‎

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยมุ่งเน้นเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีด้านเกษตรและประมง บูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และมหาวิทยาลัยฯ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม กิจกรรม/ประชาสัมพันธ์ สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT” สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร

วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ

จากบันทึกความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรร่วมกันนั้น สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้รับมอบหมายให้พัฒนาความร่วมมือ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้ด้านเกษตร” กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ จึงได้นำร่องจัดตั้งแหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย หรือหนอน BSF จากเศษขยะอินทรีย์ และแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงปทุมมา สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม กิจกรรม สื่อความรู้ กิจกรรม สท. นำร่อง “หนอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ในปี พ.ศ. 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) มีความร่วมมือพัฒนาสถานีเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่สาธิต ทดสอบและเรียนรู้การปรับใช้เทคโนโลยีเกษตร/เกษตรสมัยใหม่ ให้เกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกษตร ยกระดับทักษะความรู้บุคลากรภาคการเกษตร พัฒนาเกษตรกรแกนนำ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) อีกทั้งเป็นพื้นที่ขยายผลองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสวทช. สู่ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเกษตรปลอดภัยและผลิตสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยนำร่องในจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา การบริหารจัดการสถานีเรียนรู้ด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ ดำเนินการโดยสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย มีคณะกรรมการกำกับ ติดตาม