เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน” ณ สุขใจฟาร์ม ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์
การประยุกต์ใช้แหนแดง เพื่อทำวัสดุเพาะกล้า
ดาวน์โหลดเอกสาร
สท.-ม.แม่โจ้ ร่วมกับภาคเอกชน หนุนอาชีพให้ “ผู้พิการ” สร้าง “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และห้างหุ้นส่วนลักกี้ ซี้ดอโกร จัดสร้างต้นแบบ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ให้ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.วังเหนือ จ.ลำปาง สนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้ให้สมาชิกชมรมและผู้ดูแลผู้พิการ พร้อมขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพในพื้นที่จังหวัดลำปาง นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มีบทบาทหนึ่งในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเผยแพร่สู่ชุมชน ซึ่งปัญหาที่พบจากชุมชนหรือเกษตรกรคือ ขาดองค์ความรู้การทำการเกษตร “สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเครือข่ายภาคเอกชน ดำเนินโครงการ “การพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และผู้ผลิตผักสดและเมล็ดพันธุ์ในชุมชน” ผ่านกระบวนการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านเกษตรอินทรีย์ เรื่องการผลิตผักสดคุณภาพ การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักสดคุณภาพ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการผลิตผักสดคุณภาพและการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักในระบบเกษตรอินทรีย์ไว้ใช้เอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร ตลอดจนสร้างรายได้และอาชีพ
‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’
คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครสักคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางแสงสี เสียงและเงินทองในเมืองกรุงมาค่อนชีวิต จะหันหลังให้ความสุขสนุกแล้วมาลงแรงปลูกผักที่บ้านเกิด ที่แวดล้อมด้วยแสง สีและเสียงของธรรมชาติ สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่และโลดแล่นในวงการบันเทิงที่กรุงเทพฯ พลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ เพียง 3 ปีบนเส้นทาง “เกษตรอินทรีย์” ผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ เดินทางสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และยังสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ จากประสบการณ์การทำงานในฐานะผู้จัดการร้านถ่ายภาพที่จับงานเองทุกขั้นตอนกว่า 8 ปี นำทางสู่สายงานภาพยนตร์กับบริษัทดังในหน้าที่จัดหานักแสดง ทิ้งทวนชีวิตวงการมายาด้วยบทบาทผู้กำกับภาพยนตร์ก่อนกลับคืนถิ่นที่บ้านเกิด “เราทำงานในวงการบันเทิงห้อมล้อมด้วยแสงสี ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย กินดื่มเที่ยวสารพัด ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีพอ พอเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ไม่มีใครดูแลเราเลย คนที่ดูแลเราคือแม่และคนในครอบครัว
“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”
กลางปี 2562 ดิเรก ขำคง เจ้าของฟาร์ม Be Believe Organic Farm จ.ราชบุรี และ ภัทรนิษฐ์ ภุมมา เจ้าของสวนกล้วยภัทรนิษฐ์ จ.นครปฐม ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มภายใต้เครือข่ายสามพรานโมเดล เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีไว้ใช้เอง” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใครจะคิดว่าหลังการอบรมวันนั้นเพียง 6 เดือน ชีวิตของเขาทั้งสองได้เปลี่ยนไป ดิเรก อดีตวิศวกรหนุ่มที่อิ่มตัวกับงานประจำ จับพลัดจับผลูเดินบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์กับผลผลิต “ต้นอ่อนผักบุ้ง” ที่เขาและภรรยาใช้เวลาถึงสองปีลองผิดลองถูกเพื่อหวังเป็นอาชีพใหม่ “แฟนผมแพ้เคมีทุกอย่าง แม้แต่ผงชูรส ตอนนั้นต้นอ่อนผักบุ้งมีน้อย เป็นต้นสั้นและใช้เคมี เรามองว่าถ้าปลูกเป็น ใช้เวลา 7 วันก็สร้างรายได้ แต่ข้อมูลการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งแทบไม่มี เราต้องลองผิดลองถูกกันเอง ทิ้งไปเยอะมาก กว่าจะได้ความยาวต้นที่เหมาะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นอีกหน่วยงานพันธมิตรที่สำคัญของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดยดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านเกษตร สู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรอินทรีย์ สมุนไพร เกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น ทั้งนี้ สวทช. ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” เพื่อร่วมพัฒนาองค์ความรู้ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของภาคการเกษตรไทย ฐานเรียนรู้ สื่อความรู้ กิจกรรม ฐานเรียนรู้ “ฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์” ตั้งอยู่ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่) ประกอบด้วยฐานเรียนรู้ 10 ฐานย่อย การผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือน
สวทช.-ม.แม่โจ้ ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
สวทช. ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และผศ.พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี ม.แม่โจ้ ร่วมลงนามภายในงาน สวทช.-วิทย์สัญจร จ.เชียงใหม่ ประจำปี 2563 เพื่อร่วมพัฒนาองค์ความรู้ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของภาคการเกษตรไทย พร้อมกันนี้คณะผู้บริหาร สวทช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ม.แม่โจ้ สัมผัสตัวอย่างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่แปลงวิจัยลำไย ทดสอบการใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อการเกษตร และระบบการให้น้ำอัตโนมัติสำหรับพืชไร่และพืชสวน ผ่าน Smart IoT รวมถึงเยี่ยมชมแปลงทดสอบผลิตมะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ของ สวทช.