สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
ชิปขยายสัญญาณรามาน (OnSpec Lite)
นักวิจัย
ดร.นพดล นันทวงศ์
หน่วยงาน
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1501003964 ยื่นคำขอวันที่ 10 กรกฎาคม 2558
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ชิปขยายสัญญาณรามาน (OnSpec Lite) สร้างด้วยเทคนิคการเคลือบฟิล์มขั้นสูงที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษโดยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีฟิล์มบางเชิงแสง ทำให้ได้ฟิล์มบางโครงสร้างนาโนของโลหะเงินที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวสามารถขยายสัญญาณรามานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีค่าอัตราการขยายสัญญาณสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่มีขายในท้องตลาดกว่า 100 เท่า ในขณะที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า พื้นผิวขยายสัญญาณประกอบด้วยชิปคู่ขนาด 4.5 mm×4.5 mm บรรจุในถุงฟอยด์ป้องการทำปฏิกริยากับอากาศ จึงสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการตรวจวัดสารตัวอย่างที่มีความเจือจางมากในระดับ trace concentration ซึ่งไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยเทคนิคการตรวจวัดสัญญาณรามานแบบปกติ
สรุปเทคโนโลยี
1. ชิปพื้นผิวขยายสัญญาณรามานชนิดแผ่นโลหะอะลูมิเนียมที่มีโครงสร้างนาโนเมตรฝั่งอยู่บนโครงสร้างระดับไมโครเมตร และยึดติดด้วยอนุภาคโลหะทองที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวสามารถขยายสัญญาณรามานได้สูง
2. พื้นที่ขยายสัญญาณขนาด 4.0 มม. x 4.0 มม. (ปรับขนาดได้ตามความต้องการ)
3. ฐานรองแผ่นโลหะอะลูมิเนียมหนา 0.04 มม.
4. ขยายสัญญาณรามานได้ไม่น้อยกว่า 105 เท่า (Methylene blue)
5. สามารถใช้ได้กับเครื่องวัดสัญญาณรามานที่ใช้ความยาวคลื่น 500 ถึง 800 นาโนเมตร
6. สามารถตรวจวัด Nitrate, TNT, RDX, Paraquat และ Cabaryl ที่ความเข้มข้นต่ำกว่า 10-3 โมล่าร์
7. พื้นผิวของชิปขยายสัญญาณรามานมีสมบัติไม่ชอบน้ำ (Hydrophobic) ดังนั่นการตรวจวัดสัญญาณรามานของสารตัวอย่างที่มีตัวทำละลายเป็นน้ำ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ปลายแหลมสะอาดช่วยสะกิดสารตัวอย่างลงบนชิป
8. อายุการใช้งาน 2 ปี
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 0 2564 7000
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th