![]() |
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
![]() |
นักวิจัย ดร.ดนุ พรหมมินทร์ |
|
หน่วยงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร • อุปกรณ์ขนย้ายผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยแบบสามส่วน เลขที่สิทธิบัตร 33523 • ระบบการพับสามส่วนสำหรับอุปกรณ์ เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบสอดทีละจุด เลขที่คำขอ 1001001009 • ระบบข้อต่อหัวท้ายสำหรับอุปกรณ์ขนย้ายผู้บาดเจ็บแบบตัก เลขที่คำขอ 1001000804 |
|
รหัสโครงการ TT-2558-123 |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเป็นผู้ป่วยวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ ในกลุ่มนี้ ต้องมีระบบการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงจะสามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้ ความล่าช้าแม้จะเป็นเพียงเวลาไม่กี่นาทีอาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลการ รักษาได้ไม่ว่าจะพิการหรือเสียชีวิต เป็นความสูญเสียที่มีความหมาย ต่อชีวิตชีวิตหนึ่งหรือต่อครอบครัวครอบครัวหนึ่ง โดยในการเกิดอุบัติเหตุอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บสูงที่สุด คือ ศีรษะ พบถึงร้อยละ 35.4 และเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดการสูญเสียชีวิตสูงที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 33.6 (ทะเบียนผู้ป่วยอุบัติเหตุ โรงพยาบาลขอนแก่น, 2542) และได้ทราบปัญหาจากแพทย์ที่รับผิดชอบโดยตรงด้านอุบัติเหตุที่โรงพยาบาลธรรม ศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บผิดวิธีโดย เฉพาะคนเจ็บที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอัมพาต ทำให้มีหลายกรณีไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้หลังได้รับการรักษา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากขาดความรู้ความเข้าใจในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ถูกวิธี |
สรุปเทคโนโลยี ด้วยการออกแบบให้มีการขยับตัวผู้ป่วยทีละจุดทำให้มีการขยับตัวน้อยมาก รวมทั้งสามารถเก็บพกพาและประกอบได้สะดวก ขนย้ายได้เร็ว ประกอบกับการวิเคราะห์ทางกลเสมือนจริงด้วยวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ ทำให้มีคุณสมบัติความแข็งการรับน้ำหนักได้มากถึง 160 กิโลกรัม ทำให้มีความปลอดภัยสูงและผู้ช่วยผู้ประสบภัยฉุกเฉินสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว |
จุดเด่นของเทคโนโลยี อุปกรณ์ขนย้ายผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บแบบสามส่วน ทำให้ผู้บาดเจ็บมี การขยับตัวน้อยที่สุด เมื่อทำการเคลื่อนผู้บาดเจ็บ ซึ่งเปลที่มีใช้ในรถพยาบาลหรือตามหน่วยกู้ภัยที่มีใช้อยู่นั้นไม่สามารถทำได้นอกจากนี้ จากการถอดประกอบทำได้ง่ายและมีความคล่องตัวสูง ทำให้เข้าถึงพื้นที่อุบัติเหตุได้รวดเร็ว จะทำให้ผู้บาดเจ็บได้รับการส่งต่อถึงมือแพทย์ มีโอกาสที่ได้รับการรักษาและผ่าตัดสำเร็จสูงกว่าเมื่อเทียบกับการขนย้ายผู้ ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่ควรจะเป็น เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและไม่เสียทรัพย์สินในการดูแลรักษาผู้พิการที่อาจ เกิดจากการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บผิดวิธี จากต้นแบบนี้คาดว่า จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าอุปกรณ์ขนย้ายผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีมูลค่ามากกว่า 20,000 บาทลงได้ไม่น้อยกว่า 50% นอกจากโรงพยาบาลจะได้รับประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่ลดลงแล้ว จะยังช่วยให้หน่วยกู้ภัยสามารถนำเปลต้นแบบไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีการช่วยเหลือชีวิตที่รวดเร็วและลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมากมาย |
สนใจสอบถามข้อมูล คุณธินีนุช ศรีจันทร์ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช. โทรศัพท์: (02) 564 7000 ต่อ 1618 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |