สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
ชีวภัณฑ์ควบคุมวัชพืชใบกว้าง
นักวิจัย
ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสินและคณะ
หน่วยงาน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 19603
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
หนึ่งในปัญหาของเกษตรกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศไทย คือ วัชพืชใบกว้าง วัชพืชนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เกษตรกรจึงเลือกใช้สารเคมีในการกำจัด ซึ่งในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและปริมาณมาก ส่งผลให้วัชพืชสามารถปรับตัวให้ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืชได้ ขณะเดียวกันก็มีความเป็นพิษต่อมนุษย์ ส่งผลกระทบและตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีการใช้จุลินทรีย์จากธรรมชาติหรือสารสกัดจากจุลินทรีย์มาทำการควบคุมและทำลายวัชพืช มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยราก่อโรคในวัชพืช ได้แก่รา Colletotrichum siamense และ รา Phoma multirostrata สามารถสร้างสปอร์เข้าไปก่อโรคและทำลายวัชพืชใบกว้างได้แก่ ตีนตุ๊กแก บานไม่รู้โรยป่า และวัชพืชใบกว้างชนิดอื่นๆ ได้โดยไม่เข้าไปทำลายพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ มีความจำเพาะเจาะจงสูงกับวัชพืชเป้าหมาย การใช้งานง่าย ทำให้วัชพืชตายภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ สามารถใช้ทดแทนสารเคมีโดยไม่ตกค้างในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม
สรุปเทคโนโลยี
• มีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชเป้าหมายได้ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์
• มีความจำเพาะเจาะจงกับวัชพืชใบกว้างเป้าหมาย โดยไม่ส่งผลกระทบกับพืชเศรษฐกิจ
• ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ปลอดภัย สามารถย่อยสลายได้ ไม่ตกค้างในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม
• กระบวนการผลิตและกรรมวิธีการใช้งาน ง่ายและไม่ยุ่งยาก
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1357
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th