สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
ชุดทดสอบอย่างง่ายสำหรับการตรวจวัดไอออนนิกเกิล(Test Kit for Nickel(II) Determination)
นักวิจัย
ดร. ศุภมาส ด่านวิทยากุล
หน่วยงาน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ โดยจะทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีในรูปแบบการอบรมเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการที่สนใจ
สถานภาพสิทธิบัตร
ชุดทดสอบอย่างง่ายสำหรับการตรวจวัดไอออนนิกเกิลยื่นคำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1403001634 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557
รหัสโครงการ
TT115
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นิกเกิลในน้ำจะอยู่ในรูปไอออน (Ni(II)) เมื่อนิกเกิลถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ทางผิวหนัง และจากทางเดินอาหาร การสัมผัสนิกเกิลทางการหายใจจะทำให้เป็นไข้ ไอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดศีรษะ อาจเกิดภาวะปอดอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะการหายใจล้มเหลว การสัมผัสนิกเกิลที่ผิวหนัง อาจทำให้เกิดภาวะผิวหนังอักเสบเป็นผื่นสัมผัส หรือเป็นผื่นแพ้ในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยที่แพ้จะเกิดผื่นได้แม้สัมผัสนิกเกิลเพียงเล็กน้อย ผู้ที่ดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนนิกเกิล อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวนท้อง และท้องเสีย มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในโพรงจมูก และที่ปอดเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนงานที่รับสัมผัสนิกเกิล

โดยทั่วไปการตรวจหาไอออนของนิกเกิลจะใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการที่สามารถทดสอบได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ แต่มีข้อจำกัด เช่น เครื่องมือมีราคาแพงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบและไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้ดังนั้นห้องปฏิบัติการวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารอันตรายหน่วยวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติจึงได้พัฒนาชุดทดสอบอย่างง่ายสำหรับการตรวจหาไอออนของนิกเกิล (test kit for nickel ion determination) ที่มีต้นทุนต่ำเหมาะกับการตรวจวัดน้ำที่เป็นน้ำเสียหลังบำบัดก่อนปล่อยทิ้งซึ่งได้ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเมื่อ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557
สรุปเทคโนโลยี
ชุดทดสอบอย่างง่ายสำหรับการตรวจหาไอออนของนิกเกิล (test kit for nickel ion determination)ต้นทุนต่ำ ทดสอบได้ง่ายใช้สำหรับทดสอบไอออนนิกเกิลในน้ำเหมาะกับน้ำที่มีความเข้มข้นของไอออนนิกเกิลในช่วง 0.5-5มิลลิกรัมต่อลิตรวิธีการทดสอบทำโดยเติมสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับไอออนนิกเกิล และเกิดเป็นอนุภาคของแข็งของสารประกอบเชิงซ้อนดังกล่าวที่มีสีชมพูแดง จากนั้นกรองอนุภาคดังกล่าวผ่านชุดกรอง สีที่ปรากฏบนกระดาษกรองเมื่อนำมาเทียบแผนภูมิสีจะใช้บอกความเข้มข้นของไอออนนิกเกิลได้
จุดเด่นของเทคโนโลยี
● ง่าย สะดวก และรวดเร็วภายใน 5-10 นาที
● เหมาะกับการตรวจน้ำเสียที่บำบัดแล้วก่อนปล่อยทิ้ง
● ช่วงการทำงาน 0.25-2 มิลลิกรัมต่อลิตร
● ราคา < 30 บาท/การทดสอบ
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช
โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1617
โทรสาร: 0 2564 7003
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th