สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
ลิปสติกบำรุงริมฝีปากจากอนุภาคนาโนสารสกัดไขอ้อย
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
นักวิจัย
ดร.ชญานันท์ เอี่ยมสำอางค์ และคณะ
หน่วยงาน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1501000588 เรื่อง สูตรผสมของผลิตภัณฑ์ลิปสติกบำรุงฝีปากที่มีอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิด แคริเออร์จากไขอ้อยบรรจุวิตามินอีเป็นส่วนประกอบ ยื่นคำขอวันที่ 29 กันยายน 2557
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1501000587 เรื่อง อนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์จากไขอ้อยบรรจุวิตามินอี ยื่นคำขอวันที่ 29 กันยายน 2557
สถานะงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก มีโรงงานน้ำตาลซึ่งผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 7 ล้านตัน/ปี ในกระบวนการผลิตน้ำตาลจะมีของเสียและของเหลือทิ้งจำนวนมาก ได้แก่ กากอ้อย กากน้ำตาลและกากหม้อกรอง กากหม้อกรองประกอบด้วยไขจากเปลือกอ้อยซึ่งประกอบด้วยสารประกอบหลายชนิด เช่น กรดไขมัน ไฟโตสเตอรอล ฯลฯ ที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุนำส่งสารสำคัญในรูปแบบของอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิด(Nanostructured lipid carrier; NLC) กากหม้อกรองไขอ้อยดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาตำรับยาและเครื่องสำอางมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวัสดุนำส่งสารในตำรับยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง เพื่อทดแทนการนำไขมันแข็งธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชอื่นๆซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้สามารถขยายโอกาสในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทย นอกจากนี้ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ทำการพัฒนายังทำให้ขนาดของอนุภาคไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อทำการเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลานานและผลิตภัณฑ์มีความคงตัวสูง
สรุปเทคโนโลยี
การพัฒนาสูตรตำรับลิปสติกบำรุงริมฝีปากผสมอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์กักเก็บวิตามินอีจากไขอ้อยเปรียบเทียบกับสูตรอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์กักเก็บวิตามินอีจากไขคาร์นูบา พบว่า สูตรลิปสติกที่มีส่วนประกอบของไขอ้อยที่มีอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์ไขอ้อยที่พัฒนาขึ้น มีความคงตัว ให้ความรู้สึกเมื่อทาที่นุ่มกว่า มีการกระจายตัวที่ดีกว่าสูตรลิปสติกที่มีส่วนประกอบของไขคาร์นูบา ผลการทดสอบสภาวะความคงตัวเก็บที่สภาวะอุณหภูมิต่างๆ พบว่า สูตรลิปสติกทั้ง 2สูตรมีความคงตัวทางกายภาพที่ดี
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 025627000 ต่อ 1616
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th