สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
GASSET เทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจจับแก๊ส ประหยัดพลังงาน ต้นทุนต่ำ
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
นักวิจัย
ดร.คทา จารุวงศ์รังสี
หน่วยงาน
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801005900 ยื่นคำขอวันที่ 26 กันยายน 2561
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1701005321 ยื่นคำขอวันที่ 15 กันยายน 2560
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในแต่ละปี ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการสูดดมแก๊สอันตรายอยู่เสมอ ดังเช่นการเสียชีวิตจากแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือ แก๊สไข่เน่า โดยคนส่วนใหญ่เมื่อได้กลิ่นแก๊สไข่เน่า ในช่วงแรกจะรู้สึกเหม็นแล้วสักพักก็เกิดการชินกลิ่นและทำงานต่อไป แต่ทราบหรือไม่ว่า คุณสามารถเสียชีวิตจากการสูดดมแก๊สไข่เน่าที่ความเข้มข้น 100 ppm ในเวลา 30 นาที และถ้าเป็นแก๊สไข่เน่าที่มีความเข้มข้น 1,000 ppm คุณจะเสียชีวิตภายใน 3 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นถ้ามีอุปกรณ์พกพาที่ช่วยแจ้งเตือนแก๊สอันตรายได้ จะช่วยรักษาชีวิตผู้คนได้อีกจำนวนมาก
สรุปเทคโนโลยี
เป็นผลิตภัณฑ์เซนเซอร์ตรวจจับแก๊สชนิดฟิล์มบางสารกึ่งตัวนำโลหะออกไซด์ (Metal Oxide Semi-conductor Gas Sensor : MOS Gas Sensor) มีความไวสูง และใช้พลังงานต่ำเทียบเคียงเซนเซอร์ตรวจจับแก๊สชนิดเมมส์ (Micro Electro Mechanical System Gas Sensor : MEMS Gas Sensor) โดยใช้พลังงานประมาณ 1 ใน 3 ของเซนเซอร์มาตรฐาน และ 1 ใน 10 เมื่อเทียบกับเซนเซอร์ราคาถูก ไม่ใช้วัสดุฐานทั่วไปอย่างซิลิกอน แต่สร้างขึ้นด้วยวัสดุฐานและวิธีการเฉพาะทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ รองรับการผลิตเชิงพาณิชย์ ที่สำคัญล่าสุดได้มีการพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ “อุปกรณ์ตรวจจับแก๊สอันตรายชนิดพกพา” เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ทำงานในพื้นที่เสี่ยง ด้านคุณสมบัติในการรับรู้แก๊สนั้นจะประกอบร่วมกับอีกปัจจัยหนึ่งคือ วัสดุรับรู้แก๊ส ซึ่งทีมวิจัยได้พัฒนาให้มีความไวและความจำเพาะต่อแก๊สไม่ด้อยไปกว่าคู่แข่งในตลาดโลก อีกทั้งยังมีงานวิจัยของนักวิจัยไทยจำนวนมากที่ศึกษาวัสดุรับรู้แก๊สที่มีคุณสมบัติโดดเด่น ซึ่งสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แก๊สเซนเซอร์เชิงพาณิชย์ได้ด้วยเทคโนโลยี GASSET นี้
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 0 2564 7000
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th