![]() |
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
![]() |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย ดร.อนุชา วรรณก้อน ดร.สมัญญา สงวนพรรค นายวิทยา ทรงกิตติกุล |
|
หน่วยงาน ทีมวิจัยอีโคเซรามิกและจีโอพอลิเมอร์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร สิทธิบัตร เรื่องอิฐมวลเบาคอมโพสิทจากจีโอโพลิเมอร์และวัสดุมวลเบาจากเศษแก้ว 1601005199 เมื่อ 9 กันยายน 2559 |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา อิฐมวลเบาที่ผลิตกันโดยทั่วไปมีความแข็งแรงต่ำและมักใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนผสมในปริมาณที่สูง ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการทำอิฐมวลเบาที่มีเศษแก้วเป็นส่วนผสมทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์บางส่วนและเสริมความแข็งแรง โดยใช้วัสดุจีโอโพลีเมอร์เป็นวัสดุคอมโพสิทเป็นตัวช่วยโดยต้นแบบนี้สามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิห้องพร้อมกันในกระบวนการเดียว จึงช่วยประหยัดพลังงานในการผลิตได้มาก และเนื่องจากเป็นอิฐมวลเบาที่มีผิวเรียบ ในการนำไปใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องมีการฉาบปูนทับอีก จึงช่วยลดต้นทุนและลดการใช้ปูนซีเมนต์ลงได้มาก |
สรุปเทคโนโลยี ส่วนผสมประกอบด้วย2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อิฐมวลเบาจากเศษแก้ว ใช้วัตถุดิบหลักเป็นผงแก้วบดละเอียด ผสมกับสารที่ทำให้เกิดฟอง ทำให้มีความพรุนตัวและน้ำหนักเบา ส่วนที่ 2 ส่วนชั้นเคลือบผิวเป็นวัสดุจีโอโพลิเมอร์ที่ใช้ เมตะเกาลิน เป็นวัตถุดิบหลักทำปฏิกิริยากับสารละลายด่าง เกิดการเชื่อมประสานทั้งสองส่วน ยึดติดกันอย่างแข็งแรงมีพื้นที่ผิวเนียนเรียบสวยงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้โดยไม่ต้องฉาบปูนซีเมนต์ทับผิวอีกรอบ ต้นแบบนี้มีความหนาแน่น 0.9-1.0 g/cm3และมีความต้านทานต่อแรงอัด 10-14 MPa |
จุดเด่นของเทคโนโลยี สามารถผลิตได้โดยใช้เครื่องมือง่ายๆ และสามารถนำไปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้เป็นวัสดุทดแทนอิฐมวลเบาในการก่อสร้างผนังอาคารต่างๆ โดยจะให้ความแข็งแรงมากกว่าอิฐมวลเบาทั่วไป และเนื่องจากมีผิวเรียบอยู่แล้ว จึงช่วยลดการใช้ปูนซีเมนต์ในการฉาบปูนทับได้ |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 02564 7000 ต่อ 1617 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |