สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
เนื้อหมูนุ่มที่ผ่านกระบวนการปรับเนื้อสัมผัสให้บดเคี้ยวง่ายสำหรับผู้สูงวัยและผู้มีปัญหาการเคี้ยวและการกลืนลำบาก
นักวิจัย
ดร.นิสภา ศีตะปันย์
หน่วยงาน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003000806 ยื่นคำขอวันที่ 17 เมษายน 2563
ความลับทางการค้า
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เนื้อสัตว์ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ และมีสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หลังจากทำให้สุกมักจะมีเนื้อสัมผัสที่เหนียว แข็ง และทำให้บดเคี้ยวยาก โดยเฉพาะเนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาเคี้ยวและกลืนลำบากหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ จนนำไปสู่ภาวะการขาดสารอาหารและโรคต่าง ๆ ตามมา ดังนั้น ทีมวิจัยจึงคิดค้นสูตรและกระบวนการปรับเนื้อสัมผัสเนื้อหมูให้มีความนุ่ม ฉ่ำน้ำ และคงรูปร่างได้ ซึ่งสามารถออกแบบให้มีความนุ่มที่ระดับแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ที่มีปัญหาการเคี้ยวและกลืนในแต่ละระดับเนื้อหมูที่ปรับเนื้อสัมผัสนี้สามารถนำไปเตรียมเป็นเมนูอาหารที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม บดเคี้ยวง่ายเหมาะสำหรับผู้มีปัญหาการบดเคี้ยว รวมถึงนำไปใช้เตรียมเมนูอาหารสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบากที่อ้างอิงระดับความแข็งจากมาตรฐานอาหารสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก หรือ IDDSI (International Dysphagia Diet Standardization Initiative) ที่ระดับ IDDSI 5-7
สรุปเทคโนโลยี
1. เนื้อหมูปรับเนื้อสัมผัสมีลักษณะกึ่งแข็ง จึงสามารถคงรูปร่างเหมือนชิ้นเนื้อ แต่มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม บดเคี้ยวและกลืนง่าย มีความฉ่ำน้ำ
2. เนื้อหมูปรับเนื้อสัมผัสนี้สามารถนำไปประกอบเมนูอาหารได้หลากหลาย มีลักษณะปรากฏคล้ายคลึงเมนูอาหารที่เตรียมจากเนื้อหมูปกติ
3. อาหารที่เตรียมจากเนื้อหมูปรับเนื้อสัมผัสนี้นอกจากบดเคี้ยวได้ง่ายเหมาะกับผู้สูงอายุแล้ว ยังสามารถปรับให้มีขนาดอนุภาคและระดับความแข็งอ้างอิงตามมาตรฐาน IDDSI สำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก ระดับ 5-7 อีกด้วย
4. เนื้อหมูนุ่มนี้สามารถทำเป็นเมนูอาหารไทยได้หลายประเภทเพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาการเคี้ยวและกลืนได้รับประทานอาหารที่มีลักษณะปรากฏและรสชาติที่คุ้นเคย
สนใจสอบถามข้อมูล
นายชนิต วานิกานุกูล
งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ศว.
โทรศัพท์: 025646500 ต่อ 4788
E-mail: chanitw@mtec.or.th