สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
โรงเรือนอัจฉริยะชนิดโรงเรือนหลังคาสองชั้นแบบ Knockdown
นักวิจัย
คุณเฉลิมชัย เอี่ยมสอาด
หน่วยงาน
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (AGRITEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2002000091 เรื่อง ฐานรากโลหะ ยื่นคำขอวันที่ 10 มกราคม 2563
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2002000092 เรื่อง เสาโรงเรือนเกษตร ยื่นคำขอวันที่ 10 มกราคม 2563
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003000052 เรื่อง ฐานรากโลหะ ยื่นคำขอวันที่ 10 มกราคม 2563
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003000053 เรื่อง เสาโรงเรือนเกษตร ยื่นคำขอวันที่ 10 มกราคม 2563
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบัน การสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการเกษตร เป็นสิ่งที่มนุษย์จะปรับตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และหันมาใส่ใจการผลิตอาหารมากขึ้น ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้พัฒนา 'โรงเรือนอัจฉริยะ' นวัตกรรมโรงเรือนปลูกพืชที่สามารถควบคุมระบบการปลูกพืชผ่านสมาร์ทโฟน ช่วยให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และเกษตรกรทำงานได้สะดวกมากขึ้น พร้อมทั้งที่ผ่านมาได้มีการร่วมกับภาคเอกชน เพื่อทดสอบการปลูกพืชในระบบโรงเรือนอัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายทดสอบการปลูกเมลอนให้มีขนาดผลและความหวานได้คุณภาพและตรงตามมาตรฐานของท้องตลาด เพื่อนำไปสู่การขยายผลความรู้แบบครบวงจรให้แก่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการ
สรุปเทคโนโลยี
โรงเรือนอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นเป็นโรงเรือนแบบน็อกดาวน์โครงสร้าง SMART Greenhouse Knockdown สามารถขึ้นโครงและติดตั้งได้ในทุกพื้นที่ มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 5.6 เมตร ออกแบบหลังคา 2 ชั้นพร้อมพัดลมระบายอากาศ และประตูกันแมลง 2 ชั้น ช่วยลดปัญหาแมลงเล็ดลอดเข้าไปในแปลงปลูก การทำงานของโรงเรือนอัจฉริยะได้นำระบบเทคโนโลยี IoT (Internet of Thing) ทีมีเซนเซอร์ต่างๆ มาช่วยควบคุมสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก ได้แก่ เซนเซอร์วัดความเข้มแสง ควบคุมการทำงานของม่านพรางแสง เซนเซอร์วัดความชื้นดิน ควบคุมการทำงานของระบบน้ำหยด เซนเซอร์วัดความชื้นอากาศ ควบคุมการทำงานของระบบพ่นหมอก และเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ควบคุม การทำงานของพัดลมใต้หลังคา โดยเซนเซอร์ทั้งหมดสามารถแสดงผล แจ้งเตือน และควบคุมการทำงานผ่าน Smart phone และ Web base ด้วยเทคโนโลยีเพื่อทดสอบและพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมในการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1617
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th