สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
ของเล่นเด็กจากยางธรรมชาติ (Para Plearn Series)
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
นักวิจัย
ดร.ปณิธิ วิรุฬห์พอจิต คุณกรรณิกา หัตถะปะนิตย์ คุณกฤตพร อุตรา และ คณะ
หน่วยงาน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001002221 ยื่นคำขอวันที่ 21 เมษายน 2563
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001002217 ยื่นคำขอวันที่ 21 เมษายน 2563
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801006042 ยื่นคำขอวันที่ 28 กันยายน 2561
ความลับทางการค้า
สถานะงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากสถานการณ์ที่ยางพารา (ยางธรรมชาติ) ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย มีราคาผันผวนตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อช่วยส่งเสริมการรักษาเสถียรภาพราคายางจึงมีการวิจัยและคิดค้นให้สามารถนำยางพารามาใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยการประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติในมุมมองใหม่ ๆ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของไวรัส ส่งผลให้ผู้คนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยมีการใช้ชีวิตอยู่กับบ้านและใส่ใจสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กและผู้สูงวัย ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองกิจกรรมภายในบ้าน เช่น ของเล่นเด็ก จึงได้รับความต้องการเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ตลาดของเล่นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
การผลิตของเล่นเด็กจากยางธรรมชาติ (ชนิดยางแห้ง) เช่น ยางแท่ง ยางแผ่น เป็นต้น มีการนำองค์ประกอบที่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติและหาได้ง่ายภายในประเทศมาใช้ในการผลิต จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงและมีต้นทุนต่ำ
การนำยางพารามาประยุกต์ใช้ในการผลิตเป็นของเล่นเด็กนอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการแปรรูปยางธรรมชาติซึ่งเป็นทางออกหนึ่งในการช่วยลดปัญหาปริมาณยางล้นตลาดแล้วยังเป็นการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ อีกด้วย
สรุปเทคโนโลยี
- ผลิตจากยางธรรมชาติ (ชนิดยางแห้ง) เช่น ยางแท่ง ยางแผ่น เป็นต้น
- มีองค์ประกอบเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติและหาได้ง่ายภายในประเทศ
- มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มีต้นทุนต่ำ และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1618
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th