30 มีนาคม 2566

“ราชพฤกษ์อวกาศ” เมล็ดพันธุ์อวกาศสู่ต้นกล้าเพื่อการเรียนรู้

'Space Golden Shower Seedling' Hand Over Ceremony

วิทยากร
  • ดร. จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ
  • นายทาเคฮิโระ นากามูระ
  • ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์
  • ดร. ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์
  • อาจารย์ Kiyomi Morita
  • อาจารย์กิตติกุล ป้องซ้าย
  • ครู Joy Ruaynirat

“ราชพฤกษ์อวกาศ” เมล็ดพันธุ์อวกาศสู่ต้นกล้าเพื่อการเรียนรู้

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ อาทิ โครงการ Asian Try Zero-G เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสส่งแนวคิดการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนสถานีอวกาศนานาชาติ โครงการ Kibo Robot Programming Challenge การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA บนสถานีอวกาศนานาชาติ 

นอกจากนี้ยังมี “โครงการราชพฤกษ์อวกาศ (Asian Herb in Space)” ซึ่ง สวทช. ได้คัดเลือกเมล็ดราชพฤกษ์ ส่งให้ JAXA นำขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ โดยเก็บรักษาไว้ในห้องทดลอง Kibo Module ของ JAXA เป็นเวลาประมาณ 7 เดือน ก่อนส่งกลับสู่พื้นโลก และส่งต่อให้มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเพาะเมล็ดพันธุ์ราชพฤกษ์อวกาศให้เติบโตเป็น “กล้าราชพฤกษ์อวกาศ” สำหรับส่งมอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐและสถานศึกษาทั่วประเทศที่สนใจได้นำไปปลูกศึกษาเปรียบเทียบกับต้นราชพฤกษ์บนพื้นโลก เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ และยังช่วยพัฒนาขีดความรู้ความสามารถด้านสะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) ให้แก่เยาวชนไทย

กำหนดการสัมมนา

09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียน
10.00 – 10.05 น. กล่าวเปิดสัมมนาและภาพรวมโครงการความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ JAXA

โดย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ, รองผู้อำนวยการ สวทช.

10.05 – 10.10 น. กล่าวแนะนำองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA)

โดย นายทาเคฮิโระ นากามูระ, ผู้อำนวยการองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น สำนักงานกรุงเทพฯ

10.10 – 10.20 น. ความเป็นมาของโครงการราชพฤกษ์อวกาศ (Asian Herb in Space) 

โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.

10.20 – 10.40 น. เจาะลึก PBA LAB กว่าจะเป็น “กล้าราชพฤกษ์อวกาศ” 

โดย ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ 

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

10.40 – 11.00 น. เปิดประสบการณ์ “การจัดกิจกรรมโครงการราชพฤกษ์อวกาศในสถานศึกษา”

อาจารย์ Kiyomi Morita, ครูกิตติกุล ป้องซ้าย, ครู Joy Ruaynirat และคณะนักเรียนโรงเรียน St. Andrews International School Bangkok

11.00 – 11.30 น. พิธีส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ โครงการ Asian Herb in Space

สถาบันการศึกษาร่วมโครงการเฟสที่ 1 จำนวน 20 แห่ง

11.30 น. สิ้นสุดงานสัมมนา
เอกสารประกอบการสัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ 
รองผู้อำนวยการ สวทช.
นายทาเคฮิโระ นากามุระ
ผู้อำนวยการองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น สำนักงานกรุงเทพฯ
ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ 
ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
ดร. ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์
กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ
อาจารย์ Kiyomi Morita
โรงเรียน St. Andrews International School Bangkok
อาจารย์กิตติกุล ป้องซ้าย
โรงเรียน St. Andrews International School Bangkok
ครู Joy Ruaynirat
โรงเรียน St. Andrews International School Bangkok
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ