magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 52)
formats

Genome ยีนทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต

เนื่องจากการทำงานของเซลล์สิ่งมีชีวิตอาศัยการทำงานของโปรตีนมากมายหลายชนิด ดังนั้นดีเอ็นเอจึงประกอบด้วยรหัสสำหรับการสร้างโปรตีนจำนวนมาก รหัสหนึ่งชุดของดีเอ็นเอสำหรับการสร้างโปรตีนแต่ละชนิดเรียกว่า ยีน (gene) ในกระบวนการสร้างโปรตีนเริ่มต้นด้วยยีนถอดรหัสเป็น messenger RNA (mRNA) เรียกกระบวนการนี้ว่า transcription หลังจากนั้นรหัสของ mRNA แปลเป็นกรดอะมิโนเรียกกระบวนการนี้ว่า translation เมื่อกรดอะมิโนที่ได้มาต่อกันจะกลายเป็นโปรตีนตามชนิดที่เซลล์ต้องการ สำหรับยีนทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตเรียกว่า จีโนม (genome) ที่มา : สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546.– ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

RNA มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างโปรตีน

ในกระบวนการสร้างโปรตีนตามลำดับเบสของดีเอ็นเออาศัย RNA ที่สำคัญ 2 ชนิดคือ messenger RNA (mRNA) และ transfer RNA (tRNA) กระบวนการดังกล่าวเริ่มจากการถอดรหัสลำดับเบสของดีเอ็นเอเป็น mRNA เรียกว่า transcription หลังจากนั้นลำดับเบสทีละ 3 เบสที่เรียงติดกันของ mRNA แปลรหัสเป็นกรดอะมิโนแต่ละตัวเรียกว่า translation ในกระบวนการนี้อาศัย ribosome (จับกับ mRNA ในขณะเกิดการแปลรหัส) และ tRNA (มีหน้าที่ลำเลียงกรดอะมิโนเข้าสู่ ribosome เพื่อมาเชื่อมต่อเป็นโปรตีนตามรหัสของ mRNA) หลังจากผ่านการแปลรหัสได้โปรตีนที่เซลล์ต้องการ ที่มา : สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546.– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การวิจัยและพัฒนา

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ตามคำนิยามของ OECD ครอบคลุม 3 กิจกรรม คือ การวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ และการพัฒนาเชิงทดลอง การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการทดลองหรือการพิสูจน์ทางทฤษฎี เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่บนพื้นฐานของความจริงที่ปรากฏและสังเกตได้โดยไม่ได้คาดหวังเพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะทางใดทางหนึ่ง การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยค้นคว้าให้ได้ความรู้ใหม่ที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ เพื่อการนำไปเป็นประโยขน์ด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ การพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental Development) หมายถึง การดำเนินงานที่เป็นระบบอยู่บนพื้นฐานของความรู้ซึ่งพัฒนาจากการวิจัยและประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การผลิตวัสดุผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์สิ่งใหม่หรือเพื่อให้ได้กระบวนการ ระบบและบริการใหม่ หรือเพื่อปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นจนเห็นได้ชัดเจน บรรณานุกรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2544). งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ปี 2539-2544.– ( 183 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี (Konstotin Tsiolkovsky)

เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1857 และเสียชีวิตวันที่ 19 กันยายน 1935 นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดและผู้บุกเบิกทฤษฎีการบินในอวกาศ ชาวรัสเซีย ผู้คิดค้นหลายทฤษฎีเกี่ยวกับการเดินทางในอวกาศ รวมถึงทฤษฎีอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกัน อาทิ สมการจรวดของซีออลคอฟสกี ฯลฯ  จนสร้างแรงผลักดันให้เกิดโครงการสำรวจอวกาศของสหภาพโซเวียต ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสามของบิดาแห่งจรวดวิทยา และวิทยาศาสตร์การบินในอวกาศ คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกีกล่าวไว้ว่า “Earth is the cradie of humanity, but one cannot live in a cradie forever”. “โลกเป็นแหล่งกำเนิดของมนุษยชาติ แต่ไม่มีใครที่จะอาศัยอยู่ในแหล่ง กำเนิดได้ตลอดกาล”. แหล่งที่มา: น้องโนเนะ. “วาทะนักวิทย์ : คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี”. Update. 27 (301) ; 105 ; พฤศจิกายน 2555.– ( 325 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ภาพยนตร์ที่มีผู้วิเศษ” ตัวกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก

“ความคิดสร้างสรรค์” กับ “ภาพยนตร์” บางเรื่องที่มีการเสนอเนื้อเรื่องที่ยากจะเป็นไปได้ เรื่องแปลกๆ มหัศจรรย์ หรือเรื่องที่เพ้อฝัน ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงนั้น ผู้ปกครองบางท่านก็เกิดความเป็นห่วงว่าอาจจะมีผลไม่ดีต่อเด็กๆได้นั้น คงจะได้เบาใจกันแล้ว เพราะจากศึกษาพบว่า การที่เด็กๆ ได้ดูภาพยนตร์อย่างเรื่อง “แฮร์รี่ พอตเตอร์” “เพอร์ซี่ แจ็คสัน” หรือแม้แต่ “อลิซในดินแดน มหัศจรรย์” จะทำให้ช่างคิดช่างฝัน และมีความคิดสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น – ( 959 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สร้างสีสันรับวันคริสต์มาสด้วยเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน

ปัจจุบันเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนถือได้ว่ามีระบบและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ตอบสนองการทำงานที่สร้างสรรค์มากมายได้อย่างน่าสนใจ อย่างเช่นคลิปวิดีโอที่นำมาแนะนำกันในวันนี้ เป็นคลิปที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถของสมาร์ทโฟนที่ได้รับความนิยมและน่าสนใจอย่างมากมาให้ชมกัน – ( 153 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Scientific and Technological Activities : STA) ตามคำนิยามของ Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) หมายถึง การกระทำอย่างเป็นระบบโดยการสร้าง การทำให้ก้าวหน้า การเผยแพร่ และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาการต่าง ๆ เช่น การวิจัยและพัฒนา การศึกษาและการฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)  หมายถึง งานที่สร้างสรรค์อย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนและสะสมความรู้ ทั้งด้านมนุษย์ วัฒนธรรมและสังคม และการนำความรู้ที่สะสมนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาจึงครอบคลุม 3 กิจกรรม คือ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) และการพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental Development) การศึกษาและฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Scientific and Technical Education

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กลิ่นสีขาว (Olfactory white)

ระบบสัมผัสของมนุษย์นั้นมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เราเรียกกันว่าสัมผัสทั้งห้า ซึ่งปัจจุบันไม่ว่าการมองเห็น หรือการได้ยิน ล้วนแล้วแต่มีจุดๆ หนึ่งที่เราไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นแสงสีอะไร หรือเป็นเสียงอะไร ซึ่งทางนักวิทยาศาสตร์จะเรียกสิ่งนั้นว่า white ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการมองเห็น สายตาคนเราสามารถมองเห็นสีต่างๆ ได้มากมาย แต่ทำไมเราถึงมองเห็นแสงเป็นสีขาว ไม่ใช่ว่าแสงนั้นเป็นสีขาว แต่เป็นเพราะว่าในแสงนั้นมีสีอยู่มาก (7 สี) แต่สีเหล่านั้นมีความเข้มข้นเท่ากัน ทำให้สมองไม่สามารถประมวลผลได้ว่าเป็นสีอะไร นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกสีนี้ว่า “white light” เช่นเดียวกับการได้ยินเสียง เมื่อเราได้ยินเสียงต่างๆ มากๆ หลายๆ เสียง หลายๆ ความถี่ ในเวลาเดียวกัน ด้วยความดังที่เท่าๆ กัน สมองจะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเสียงอะไร เราก็จะได้ยินเป็นเสียงอื้ออึง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกเสียงนี้ว่า “white noise” จากการที่มี white light และ white noise แล้ว นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า ในแง่ของการได้กลิ่นก็น่าจะมี olfactory white

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ

นายนิรุตติ  คุณวัฒน์  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิด อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ Space Krenovative Park (SKP) ภายใต้แนวคิด “Inspiring Beyond” โดยมี ดร.อานนท์  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) กล่างรายงานสรุปเกี่ยวกับ SKP และภายในงานได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง GISTDA กับผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมการแสดงศักยภาพของ GISTDA ในด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย อาทิ การแสดงอากาศยานไร้คนขับ (UAV) และยานยนต์ภูมิสารสนเทศในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีผู้ร่วมงานทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากกว่า 300 คน ณ Visionarium สถานีควบคุมดาวเทียมไทยโชต อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 – ( 536 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดื่มน้ำเกรปฟรุตพร้อมยาบางชนิด…อาจถึงแก่ชีวิต

หากกล่าวถึงเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นและยังมีประโยชน์ต่อการช่วยลดน้ำหนักแล้วนั้น ”น้ำเกรปฟรุต” คงจะอยู่ในรายการอาหารและเครื่องดื่มของหลายๆ คนอย่างแน่นอน เพราะจากการทดลองของนักวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า การกิน “เกรปฟรุต” ครึ่งลูกก่อนมื้ออาหารจะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้อย่างเหลือเชื่อ โดยสามารถลดปริมาณแคลอรีได้ถึง 150 แคลอรีต่อวัน นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินซี กรดซิตริก และไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีประโยชน์กับตับ ส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้งชะล้างสารพิษและทำความสะอาดร่างกาย อีกทั้งยังช่วย ละลายเมือกและของเสียออกจากระบบภายในร่างกายทั้งหมด ที่สำคัญ ยังมีสารต้านมะเร็งอย่างเช่น ไลมินอยด์ และไลโคปีน อีกด้วย แต่โทษของ ”น้ำเกรปฟรุต” ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องรับประทานยารักษาโรค ควรยิ่งต้องรู้เป็นอย่างยิ่ง – ( 4579 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments