magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by wanutwira
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กิจกรรมการนำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของสหรัฐฯ มาเยือนประเทศไทย

สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน จัดกิจกรรมการนำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ มาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15 – 26 เมษายน 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของไทย และสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ (Congressional Staffer ระดับสูง ในสังกัด สส. และ ส.ว. ของพรรค Republican และ Democrat ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ) อันจะเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศไทยในการประสานงานในอนาคต อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 27 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสามารถในการรักษาตัวเองของกล้ามเนื้อ

วิศวกรด้านชีวภาพการแพทย์จากมหาวิทยาลัย Duke ปลูกกล้ามเนื้อที่มีชีวิตทั้งในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสารถในการรักษาตัวเองของกล้ามเนื้อนั้น ความพร้อมของกล้ามเนื้อที่ดีต้องมี 2 สิ่ง คือเซลล์กล้ามเนื้อที่มีการพัฒนาแล้ว ซึ่งทำหน้าที่ในการหดตัว และเป้นแหล่งรวมของเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่า เซลล์ Satellite กล้ามเนื้อของทุกคนมีเซลล์ Satellite เก็บสำรองเพื่อใช้งานเมื่อได้รับบาดเจ็บ และมีการเริ่มต้นของกระบวนการฟื้นฟู อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การส่งเสียงของแมลงวันกับการตัดสินใจของเราเกี่ยวกันอย่างไร?

สัตว์จำนวนมากทำเสียงด้วยวิธีต่างๆ เพื่อใช้ในการดึงดูดเพศเมีย แมลงวันผลไม้ก็ใช้เสียงในการ ดึงดูดเพศเมียเช่นกัน แต่เสียงของพวกมันไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนเช่นเดียวกับสัตว์ประเภทอื่นๆ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าการค้นพบนี้อาจจะช่วยสร้างความเข้าใจในกระบวนการตัดสินใจอย่างเร็วของสัตว์สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ซับซ้อนกว่า เช่น มนุษย์ นักวิจัยกำลังศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเฉียบพลัน เช่น เมื่อเสือดาววิ่งไล่ละมั่งที่วิ่งตัดไป – มา หรือการที่เราตัดสินใจ เหยียบคันเร่งหรือเบรคระหว่างขับรถ Mala Murthy รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Princeton ได้สร้าง เครื่องมือในการศึกษาการทำงานของระบบประสาทของแมลงวันในการตัดสินใจเลือกใช้เสียงที่แตกต่าง ไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม อ่านเพิ่มเติมได้ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 24 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

น้ำบนดวงจันทร์

เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาตรวจสอบตัวอย่างหินดวงจันทร์ แสดงให้เห็นว่าไฮโดรเจนมีปริมาณ ค่อนข้างสูงในผลึกอะพาไทต์ ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ ทีมงานของนักวิจัย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Jeremy Boyce วิทยาลัยยูซีแอล สาขาโลก ดาวเคราะห์ และวิทยาศาสตร์อวกาศ (Department of Earth, Planetary and Space Sciences) ทำการศึกษา ตัวอย่างหินดวงจันทร์ หรือผลึกอะพาไทต์ พบว่ามีส่วนประกอบของน้ำ การค้นพบนี้ขัดแย้งกับสมมติฐานเดิม ซึ่งเกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าดวงจันทร์แห้ง หรือเกือบจะไม่มีส่วนประกอบของน้ำจากทฤษฎีจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ องค์ประกอบเบา อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คณิตศาสตร์ Vs. พันธุกรรม

ความวิตกกังวลทางคณิตศาสตร์ไม่เพียงแต่เกิดจากประสบการณ์ทางลบที่เกิดขึ้นในห้องเรียน แต่ยังเป็นเพราะปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับทั้งความวิตกกังวลทั่วไปและทักษะคณิตศาสตร์ Zhe Wang นักวิจัยด้านจิตวิทยามหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ พบว่า ความวิตกกังวลด้านคณิตศาสตร์ ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ การศึกษานี้นักวิจัยใช้ EEGs (Electroen-cephalogram) เพื่อวัดการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์โดยจะมีการประมวลผลทันที ทำการวัดความแตกต่างของระดับความวิตกกังวลด้านคณิตศาสตร์ในฝาแฝดแท้ 216 คน และฝาแฝดเทียม 298 คน โดยเป็นผู้ที่เข้าร่วมใน Western Reserve Reading and Math Projects ซึ่งเป็นโครงการคณิตศาสตร์ทำการศึกษาระยะยาวของฝาแฝดในรัฐโอไฮโอ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 30 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับละครเพลง

National Science Foundation (NSF) ใช้งบประมาณราว 700,000 เหรียญสหรัฐฯ กับละครเพลงเรื่อง “The Great Immensity” ซึ่งทำให้รัฐสภาเกิดคำถามขึ้น ถ้าหาก NSF นำเงินส่วนนี้ไปใช้ ในส่วนอื่นอาจจะเป็นสิ่งที่ดีกว่านี้หรือไม่? NSF เป็นหน่วยงานที่ได้รับเงินทุนวิจัยในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ การนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ และการเพิ่มความสามารถในการนำความรู้มาใช้กับโลกปัจจุบัน รวมทั้งการนำเสนอความรู้ขั้นพื้นฐานโดยผ่านการวิจัยที่เป็นกลาง NSF ได้ให้ทุนสนับสนุนการแสดงละครเพลงแก่บริษัท The Civilians, Inc. มลรัฐนิวยอร์ค เพื่อผลิตละครเพลงเรื่อง “The Great Immensity” วัตถุประสงค์หลักของละครเพลงนี้ คือ การแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นที่จุดวิกฤติทางสภาพภูมิอากาศและ การอนุรักษ์ธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนตัวเองและสังคมให้ทันเวลาเพื่อแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่ยิ่งใหญ่ที่กำลังเผชิญหน้าพวกเราได้อย่างไร เป็นการสะท้อนให้พลเมืองสหรัฐฯ ได้เห็น แนวทางพัฒนาและออกจากความคิดที่ตีกรอบไว้ในด้านวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ อิทธิพลจากละครเพลงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ จินตนาการ กระตุ้นความอยากรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานของประชาชน และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เนื้อหาของละครเพลงนี้เกิดจากแนวความคิด ของ 2 สถาบัน คือ Princeton Environmental

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กลยุทธ์ใหม่ที่น่าสนใจสำหรับการจัดการกับน้ำหนัก

อิทธิพลของการรับแสงยามเช้าที่มีต่อน้ำหนักตัวคน เป็นตัวแปรอิสระจากการออกกำลังกาย, ปริมาณแคลอรี่ที่บริโภค, ระยะเวลาการนอนหลับ อายุ หรือฤดู ปัจจัยนี้มีผลต่อร้อยละ 20 ของมวลน้ำหนักตัว (BMI) จากการศึกษาทางการแพทย์ของ Kathryn Reid ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยามหาวิทยาลัย Northwestern พบว่าช่วงเวลา ระยะเวลา และความเข้มของแสงนั้นเชื่อมโยงกับน้ำหนักตัวคน คนที่ใช้ชีวิตประจำวันในที่ได้รับแสงระดับปานกลางในช่วงเช้าอย่างเป็นประจำ จะมีดัชนีมวลกาย (BMI คือ อัตราส่วนจากน้ำหนักและความสูงของบุคคล) ต่ำกว่าคนที่ใช้ชีวิตประจำวันในช่วงกลางวัน อิทธิพลของการรับแสงยามเช้านั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระดับของออกกำลังกาย แคลอรี่ที่ได้รับ ระยะเวลาในการนอนหลับ อายุ หรือฤดู อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments