magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 50)
formats

รถยนต์อนาคต volkswagen

Volkswagen  บริษัทรถยนตร์เมืองเบียร์เยอรมันกับแนวคิด “รถยนต์แห่งอนาคต” ภายใต้โครงการ Volkswagen the People’s Car Project ประเทศจีน ซึ่งได้เสนอให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการออกแบบรถ Volkswagen แห่งอนาคต รถที่ได้รับคัดเลือกชื่อว่า Volkswagen hover car ตัวนี้ ใช้เทคโนโลยีแม่แหล็กไฟฟ้าในการขับ ตัวรถลักษณะคล้ายโดนัท ตัวถังสามารถเปลี่ยนสีได้ เคลื่อนที่โดยลอยอยู่บนอากาศ ถ้าผลิตออกมาให้ยลโฉมคงน่ามหัศจรรย์ไม่น้อยเลยครับ ที่มา : Volkswagen People’s car project, Hover Car, the flying two-seater. ค้นข้อมูลวันที่ 11 มกราคม 2556 จาก http://www.youtube.com/watch?v=JWh2qT9yiTo– ( 94 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยค้นพบวิธีเพิ่มประสิทธิภาพของ PCR ในการตรวจหาเชื้อก่อโรคพืช

PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มากต่อการตรวจวินิจฉัยโรคพืช แต่ประสิทธิภาพของเทคนิค PCR เพื่อให้ได้มาซึ่งลายพิมพ์พันธุกรรม (genetic fingerprint) เพื่อใช้ตรวจหาเชื้อก่อโรคขึ้นอยู่กับจำนวนเซลล์ของเชื้อก่อโรค โดยจำนวนเซลล์ที่เพียงพอส่งผลให้สารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคสามารถเพิ่มจำนวนจนเพียงพอต่อการตรวจหา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 76 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แว่นตากันแดดอาจเพิ่มอันตรายกับดวงตา

บทความจาก วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลล์ สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยี่ยม ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยแอสตอล ประเทศอังกฤษแสดงให้เห็นว่าแว่นกันแดดที่ไม่เหมาะสม หากไม่สามารถป้องกันรังสียูวีอาจทำให้ดวงตาถูกทำลายจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น  นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าบางครั้งแว่นกันแดดที่สวมใส่อยู่นั้นอาจไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องดวงตาเท่าที่ควรและในบางกรณีเพิ่มปริมาณของแสงเข้าสู่ดวงตามากขึ้นอีกด้วย ศาสตราจารย์เจมส์ โวล์ฟ สัน จากหน่วยงานวิจัยด้านทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) กล่าวว่า “ปกติเลนส์แว่นตาจะอยู่ตรงด้านหน้าของดวงตาแต่ยังมีแสงที่เข้าด้านข้างสะท้อนเข้าตาเพิ่มมาก ขึ้นไปอีก 20 เท่าของแสงที่ผ่านเข้าด้านตรงหน้าของดวงตา”นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่าควรสวมแว่นกันแดดที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้เพื่อปกป้องดวงตาไม่ให้ได้รับอันตรายจากรังสียูวีที่แผ่ผ่านเมฆมายังพื้นโลกถึง 90 เปอร์เซ็นต์แม้ในวันที่ท้องฟ้ามืดครึ้มด้วยเมฆก็ตาม – ( 156 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หุ่นยนต์น้องหมา

หุ่นยนต์น้องหมา หรือ หุ่นยนต์สุนัข ภายใต้ชื่อเรียกเจ้าหุ่นยนต์สุนัขตัวใหญ่ (BigDog) เป็นผลงานของ Boston Dynamics และหน่วยงานสนับสนุนงานวิจัยในสังกัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DARPA) เคลื่อนไหวโดยอาศัยขาสี่ขา ทรงตัวได้เป็นอย่างดี ทั้งพื้นทางชัน พื้นน้ำแข็งและโคลนตมมาดูว่าจะเจ๋งแค่ไหน ที่สำคัญเจ้าน้องหมาตัวนี้สามารประยุกต์ได้กับยุทธศาสตร์ทางทหารหรือการทำงานแทนมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ ที่มา : BigDog Overview. ค้นข้อมูลวันที่ 10 มกราคม 2556. จาก http://www.youtube.com/watch?NR=1&v=cNZPRsrwumQ&feature=endscreen– ( 110 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ค้นพบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคนิค PCR ในพืช

PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นเทคนิคที่ใช้เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่สนใจในหลอดทดลองเพื่อให้ได้ปริมาณดีเอ็นเอที่มากพอสำหรับศึกษา แต่อย่างไรก็ตามเทคนิค PCR ไม่ประสบผลสำเร็จเมื่อนำไปใช้เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอของพืชหลายชนิด เนื่องจากพืชเหล่านี้มีสารประกอบที่สามารถยับยั้งเทคนิค PCR ตัวอย่างเช่น สารประกอบฟีนอล (phenolic compound) ซึ่งส่วนใหญ่ได้ออกมาพร้อมๆ กับดีเอ็นเอของพืชที่แยกได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 77 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับกรดอะมิโน (amino acid) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

เป็นที่รู้จักกันว่ากรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน แต่ละชนิดมีคุณสมบัติและโครงสร้างที่แตกต่างกัน แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญอะไรบ้างในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 ที่เกี่ยวกับกรดอะมิโน การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับกรดอะมิโนพบได้น้อยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเทียบการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามิน เอนไซม์ และฮอร์โมน ดังได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ การค้นพบที่สำคัญในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 เกี่ยวกับกรดอะมิโนได้รวบรวมไว้ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 88 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมน (hormone) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

ฮอร์โมนเป็นที่รู้จักว่าหลั่งโดยเซลล์ของต่อมไร้ท่อแล้วเข้าสู่กระแสโลหิตเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังเซลล์เป้าหมายเพื่อควบคุมการทำงานของเซลล์ แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญอะไรบ้างเกี่ยวกับฮอร์โมนในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 การค้นพบเริ่มต้นเมื่อค.ศ. 1902 โดย William Maddock Bayliss และ Ernest Henry Starling ค้นพบฮอร์โมน secretin ซึ่งหลั่งโดยผนังของลำไส้เล็กเพื่อควบคุมตับอ่อน (pancreas) หลังจากนั้นอีก 12 ปี Edward Kendall ค้นพบฮอร์โมน thyroxin ซึ่งหลั่งโดยต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ต่อมามีการค้นพบฮอร์โมนอีกหลายชนิด เช่น ฮอร์โมน parathormone (ค.ศ. 1926) ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมนในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 117 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์ (enzyme) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

เอนไซม์เป็นที่รู้จักว่าคือโปรตีนที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์อะไรบ้างจนถึง ค.ศ. 2003 การค้นพบเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1833 ในขณะนั้น Anselme Payen ค้นพบเอนไซม์ diastase ซึ่งสกัดได้จากข้าวมอลต์ (malt) โดยทำหน้าที่เร่งการเปลี่ยนแป้ง (starch) เป็นน้ำตาล (sugar) หลังจากนั้นมีการค้นพบเอนไซม์อีกหลายชนิด เช่น เอนไซม์ invertase (ค.ศ. 1871)  เอนไซม์ reverse transcriptase (ค.ศ. 1970) เอนไซม์ gyrase (ค.ศ. 1976) การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์จนถึง ค.ศ. 2003 ได้รวบรวมไว้ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 174 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามิน (vitamin) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

หลายคนคงรู้จักวิตามินว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยและถ้าร่างกายขาดวิตามินทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ เช่น ถ้าขาดวิตามินซี (vitamin C) ทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน แต่อาจสงสัยว่ามีการค้นพบอะไรบ้างที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามินในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 วิตามินเริ่มรู้จักเมื่อ ค.ศ. 1906 ในขณะนั้น Frederick Hopkins ค้นพบว่า อาหารมีส่วนประกอบที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตซึ่งไม่ใช่สารอาหาร เช่น โปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต  โดยอีก 6 ปีต่อมา Casimir Funk เรียกส่วนประกอบนี้ว่า วิตามิน หลังจากนั้นมีการค้นพบวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ (vitamin A, ค.ศ. 1913) วิตามินซี (ค.ศ. 1928) วิตามินเค (vitamin K, ค.ศ. 1935) ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามินในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญทางด้านพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

คำว่า พันธุวิศวกรรมเป็นคำที่รู้จักอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่าเป็นการทำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะตามต้องการโดยอาศัยการส่งถ่าย DNA ที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวเข้าไปในสิ่งมีชีวิตนั้น แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบอะไรบ้างที่นำไปสู่พันธุวิศวกรรม การค้นพบที่นำไปสู่พันธุวิศวกรรมเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1879 ในขณะนั้น Albrecht Kossel ค้นพบ DNA และ RNA ซึ่งส่งผลให้อีก 31 ปีต่อมา Kossel ได้รับรางวัลโนเบล หลังจากนั้นมีการค้นพบเกิดขึ้นมากมายจนกระทั่งใน ค.ศ. 1973 Stanley Cohen และ Herbert W. Boyer ได้ทำการทดลองทางพันธุวิศวกรรมเป็นครั้งแรก โดยตัดโมเลกุล DNA ด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzyme) แล้วแทรกชิ้น DNA นั้นเข้าไปในแบคทีเรีย Escherichia coli (E. coli) หลังจากนั้นพันธุวิศวกรรมได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากการค้นพบอีกหลายครั้ง จนกระทั่งใน ค.ศ. 2003 โครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human genome project) เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้งานด้านพันธุวิศวกรรมขยายวงกว้างขึ้นมาก ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญทางด้านพันธุวิศวกรรมตั้งแต่ ค.ศ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments