magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 53)
formats

“ปลากัดไทย” หายใจยังไงระหว่างสู้กัน

นักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศสงสัยพฤติกรรมก้าวร้าวของปลากัดไทยว่า ระหว่างต่อสู้ที่ต้องใช้พลังงานมหาศาลนั้น พวกมันนำออกซิเจนจากไหนมาใช้ และพวกเขาก็พบว่าปลาสายพันธุ์ดุนี้สามารถฮุบอากาศเหนือผิวน้ำระหว่างต่อสู้ จึงมีแรงในการกัดกันได้ต่อเนื่อง – ( 291 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ : นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)

เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นนักฟิสิกส์ นักประดิษฐ์ และวิศวกร ชาวเซอร์เบียน-อเมริกัน ผู้ปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง ผลงานหลายชิ้นของเขามีความโดดเด่น เช่น ขดลวดเทศลา ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ การสื่อสารแบบไร้สายอย่างวิทยุ และวิทยุโทรเลข ทั้งยังค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จนชื่อของเขาได้รับความยกย่องให้ใช้เป็นหน่วยวัดสนามแม่เหล็ก นั้นคือ “เทสลา” นิโคลา เทสลากล่าวไว้ว่า “The scientists of today think deeply instead of clearly. One must be same to think clearly. One must be sane to think clearly, but one can think deeply

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ : นิโคลัส สตีโน (Nicolas Steno)

เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2181 ที่เมืองโคเปนฮาเกนของเดนมาร์ก และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2229 เป็นนักกายวิภาคศาสตร์ นักบรรพชีวินวิทยา และนักธรณีวิทยา ชาวเดนมาร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านกายวิภาคศาสตร์ และหลงใหลในการศึกษาซากฟอสซิลจนนำไปสู่การค้นพบทางธรณีวิทยาที่สำคัญด้วยการตั้งหลักและกฎทางธรณีวิทยาเพื่อใช้ในการลำดับชั้นหิน ซึ่งเป็นหลักการศึกษาทางธรณีวิทยาที่ยังใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ นิโคลัส สตีโน กล่าวไว้ว่า “Fair is what we see. Fairer what we have perceived. Fairest what is still in veil” “ความถูกต้องคือ สิ่งที่เราเห็น ความถูกต้องที่มากกว่านั้นคือ สิ่งที่เราเข้าใจ ความถูกต้องที่สุดคือ สิ่งที่ยังคงแอบซ่อนอยู่” แหล่งที่มา : น้องโนเนะ.  “วาทะนักวิทย์ : นิโคลัส สตีโน”. Update. 27(292) : 105

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ : อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก (Arthur C. clarke)

เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1917 ที่ซัมเมอร์เซต สหราชอาณาจักร  และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2008 ที่ โคลอมโบ ศรีลังกา เป็นชาวอังกฤษ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เป็นนักเขียน, นักประดิษฐ์ ผลงานที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่ นิยายชุด จอมจักรวาล และชุดดุจดั่งอวตาร นิยายที่เขียนมีความริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน ชาวศรีลังกา ถือว่า อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เป็น “ความภูมิใจของลังกา” มอบรางวัล The Lankabhimanaya award (Pride of Lanka) ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคอย่างดาวเทียมจนได้รับเกียรติให้นำชื่อตั้งเป็นชื่อวงโคจรที่ดาวเทียม คือ “วงโคจร คลาร์ก อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ได้กล่าวไว้ว่า “The only way to

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ : โรเบิร์ต นอร์ตัน นอยซ์ (Robert Norton Noyce)

เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1927 รัฐไอโอวา และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1990 รัฐเทกซัส เป็นนักประดิษฐ์ ผู้มีความเชี่ยวชา ด้านเทคโนโลยี โดยเป็นผู้คิดค้นวิธีการสร้างแผงวงจรไฟฟ้า (ไอซี หรือ ชิป) ที่ผลิตจากซิลิคอนสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ ร่วมกับ แจ็ก คิลบี และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแฟร์ไชลด์ เซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงบริษัทอินเทล ซึ่งนับเป็นการพลิกประวัติคาสตร์แห่งวงการอิเล็กทรอนิกส์ จนส่งผลให้เขาได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา เขากล่าวไว้ว่า “Don’t be encumbered by history. Go off and do something wonderful” “อย่าปล่อยให้อดีตมากีดกั้น จงก้าวออกมา และสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้เกิดขึ้น” แหล่งที่มา : น้องโนเนะ.  “วาทะนักวิทย์ : โรเบิร์ต นอยซ์”. Update. 27(291) : 105 ; มกราคม

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จะเป็นอย่างไรเมื่อมีการละเลยเรื่องโรคเขตร้อน

เป็นรายงานของบริษัท Thomson Reuters โดยแผนก  Global Research Report, GRR ในชื่อเรื่อง (What does it mean to be “NEGLECTED” ?)  พร้อมแสดงภาพประกอบที่เข้าใจได้ง่าย  เป็นบทความที่วิเคราะห์ด้วยการนับจากจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ (Research Article)  ซึ่งเป็นหลักการของการศึกษา Bibliometrics สรุปเนื้อหาได้ดังนี้ จากชื่อเรื่องที่สื่อถึงความนัย ว่ามีการละเลย ทอดทิ้ง ในเรื่องการวิจัยเพื่อรักษาโรคเขตร้อน ซึ่งมักเป็นหัวข้อที่คลุมเครือบ่อยๆเสมอมา รายงานนี้เป็นผลจากการทบทวน ตรวจสอบ ด้วยหลักการของการศึกษา Bibliometrics study  แสดงผลออกมาเป็น ภูมิทัศน์งานวิจัยจากสิ่งที่ซับซ้อน สามารถเปิดเผยออกมาได้อย่างน่าทึ่ง โดยพบหลักฐานว่ามีความสนใจมากขึ้นในการวิจัยเพื่อหาวิธีรักษา และควบคุมโรคเขตร้อนในสาขาต่างๆ จากประเทศต่างๆ ยังพบว่ามีการเกิดขึ้นของศูนย์กลางการวิจัยในภูมิภาคใหม่  สามารถให้รายละเอียดสำคัญนี้แก่ผู้บริหารที่กำหนด ตัดสินนโยบาย ของวงการสาธารณสุขทั่วโลกได้ – ( 151 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงาน 8 แห่ง

ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อค่ะ ว่ามีการใช้ข้อมูลกันมากมายมหาศาลขนาดนี้ พบบทความนี้ เลยสรุปมาให้อ่านกันค่ะ แต่ละแห่งเก็บอะไร เพื่อนำไปใช้อะไร มีเกี่ยวข้องกับการเก็บและให้บริการสื่อสาระดิจิทัล และ ในเรื่องของ archive รวมอยู่ด้วย ปริมาณของข้อมูลในโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นทวีคุณทุกๆ 18 เดือน นี่คือโลกยุคปัจจุบันของการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงาน 8 แห่ง– ( 447 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เติมเต็มเว็บไซต์ด้วย Responsive Web Design

ในปัจจุบันการแสดงผลเว็บไซต์ไม่ได้อยู่แค่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น กระแสอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet เป็นต้น ด้วยหน้าจอที่มีขนาดต่างกันแน่นอนว่าการออกแบบและเทคโนโลยีเว็บต้องเปลี่ยนไปด้วย และ Responsive Web Design คือคำตอบ Responsive Web Design เป็นคอนเซปต์การออกแบบเว็บไซต์โดยใช้เทคนิคของ CSS , CSS3, HTML5 และ JavaScript ในการออกแบบเพื่อให้เว็บไซต์สามารถจัดลำดับ เรียงข้อมูลบนเว็บไซต์ให้รองรับการแสดงผลผ่านหน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกันได้โดยอัตโนมัติ มาทำความรู้จักกับ Responsive Web Design ในหนึ่งนาทีกันครับ ที่มา : Responsive Web Design. ค้นข้อมูลวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555. จาก http://www.youtube.com/watch?v=uNMw34Z63Ck– ( 231 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ขอเชิญเข้าร่วม ประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ ในหัวข้อ “เครื่องจักรกล พลังงาน และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร ประจำปี 2556″

ขอเชิญเข้าร่วม ประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ ในหัวข้อ “เครื่องจักรกล พลังงาน และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร ประจำปี 2556″ กิจกรรมการจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี พ.ศ. 2556 หัวข้อสำหรับการประกวด คือ ”เครื่องจักรกล พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร” ผู้ที่สนใจประสงค์จะเสนอผลงาน สามารถส่งรายละเอียดถึงสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงเทพทุกสาขา ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ดาวน์โหลดรายละเอียดได้ที่ : ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง  กิจกรรมการจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2556 ข้อกำหนดและแบบเสนอกิจกรรมการจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2556 แบบเสนอผลงานเข้าร่วมกิจกรรมการจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ประจำปี  2556   อ้างอิง : ขอเชิญเข้าร่วม ประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ ในหัวข้อ “เครื่องจักรกล พลังงาน และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร ประจำปี 2556″ . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.most.go.th/main/index.php/organization-news/2746–2556-2556q.html. (วันที่ค้นข้อมูล 19 พฤศจิกายน 2555).– ( 317 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Artificial clouds in room

กลุ่มเมฆเทียมสีขาว ถูกเนรมิตขึ้นในหอศิลป์ ซึ่งมีเพียงผนังว่างเปล่า ด้วยจินตนาการเหลือล้ำของศิลปินชาวดัตช์ชื่อ Berndnaut Smilde (เบอร์นาร์ต สไมลด์) โดยผ่านการวางแผนอย่างสมบูรณ์ เพื่อตระเตรียมสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการก่อตัวของเมฆ ซึ่งเกิดจากไอน้ำที่กลั่นตัวรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ระดับความชื้น และแสงสว่าง เมื่อทุกอย่างลงตัวและสมบูรณ์ กลุ่มเมฆบางเบาก็ถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องทำหมอกควัน ถึงแม้กลุ่มเมฆนั้นจะมีระยะเวลาก่อนที่จะสลายไปนั้นเพียงไม่กี่วินาทีก็ตาม แต่ก็นับเป็นนวัตกรรมที่ท้าทายยิ่งของวงการศิลปะที่ได้มีการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาสร้างเป็นงานศิลปะอันโดดเด่น จนได้รับความสนใจและน่าประทับใจจากผู้ที่เยี่ยมชมเป็นอย่างมาก – ( 205 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments