magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 9)
formats

จีนเข้าร่วมการรณรงค์ทำลายงาสัตว์

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 9  มกราคม  2014 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2014 รัฐบาลจีนทำการจับกุมงาสัตว์ที่ เมือง Dongguan  ที่มีปริมาณมากกว่า 6 ตัน   นี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของโลกในการลงโทษอย่างรุนแรงในการลักลอบค้าขายงาช้างและงาแกะสลักอย่งผิดกฏหมาย  เหตุการณ์การทำลายงาช้างนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกของรัฐบาลจีนที่แสดงต่อสาธารณะ เพื่อแสดงถึงความตั้งใจของรัฐบาล  โดยที่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 สหรัฐอเมริกาก็ทำลายคล้ายกันนี้เช่นกัน อ้างอิง : China joins ivory-crushing campaign. (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 505 (7482), 136-137 . Available at : http://www.nature.com/polopoly_fs/1.14471!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/505136a.pdf– ( 6 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฉลามช้าง

ชื่อเรื่องจากหน้าปกวารสารเนเจอร์ฉบับล่าสุด วันที่ 9  มกราคม  2014 ฉลามช้าง (Elephant shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Callorhinchus milii เป็นปลากระดูกอ่อนพื้นเมืองในเขตอบอุ่น ด้านใต้ของประเทศออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์  อาศัยในน้ำดึกราว  200 – 500 เมตร และมีการย้ายถิ่นที่ไปยังแหล่งน้ำตื้นในช่วงตั้งท้อง  ได้มีการวิจัยหาลำดับเบสจีโนมของฉลามชนิดนี้ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ฉบับนี้ เมื่อทำการเปรียบเทียบจีโนมกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ พบว่าฉลามช้างนี้มีการพัฒนาช้าที่สุด จากการวิเคราะห์จีโนม ระบุว่าการปรับตัวของระบบภูมิคุ้มกันมีความผิดปกติ โดยขาดแคลน CD4 receptor และ cytokines ที่ทำให้เกิดกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน อ้างอิง :Life in the slow lane. (2014)  Front Cover. Nature., 505 (7482) Available at : http://www.nature.com/nature/current_issue.html– ( 5 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10 เหตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2557

Published on January 9, 2014 by in S&T Stories

ในช่วงปลายเดือนธันวาคมปี 2556 วารสาร NewScientist ฉบับที่ 2948 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “10 เหตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2557″ (2014 preview: 10 ideas that will matter next year) โดยสรุปได้ดังนี้ เหตุการณ์ทางด้านอวกาศ 1. เป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศจะโคจรรอบดาวหางและปล่อยตัวขับเคลื่อนบนพื้น (lander) เพื่อสำรวจดาวหาง ที่มา: ESA ในเดือนพฤษภาคมปี 2557 ยานอวกาศ Rosetta ของ The European Space Agency จะโคจรรอบดาวหาง Churyumov-Gerasimenko และในเดือนพฤศจิกายนหุ่นยนต์ตัวขับเคลื่อนบนพื้น (robotic lander) ที่ชื่อ Philae จะถูกปล่อยออกจากยานอวกาศ Rosetta เพื่อสำรวจบนพื้นดาวหาง โดย Philae จะขุดพื้นดาวหางเพื่อเก็บหินตัวอย่างและส่งหินไปวิเคราะห์บนยานอวกาศและจะส่งผลตรวจไปยังโลก เนื่องจากเหมือนดาวเคราะห์น้อย ดาวหางเป็นที่เก็บรักษาวัสดุที่ได้จากการเกิดของระบบสุริยะเมื่อ 4.6 พันล้านปีมาแล้ว ดังนั้นหินตัวอย่างจากดาวหางจึงสามารถบ่งบอกถึงจุดกำเนิดของมหาสมุทรของโลก งานสุดท้ายของ

Read More…

 
Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นาซาปล่อยยานสำรวจบรรยากาศดาวอังคารแล้ว

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ แหลมคานาเวอรัล 19 พ.ย.2013  -องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ปล่อยยานมาเวนขึ้นไปสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคารแล้ว เพื่อหาร่องรอยว่าเหตุใดดาวอังคารจึงสูญเสียอุณหภูมิและน้ำ จรวดแอตลาส วี 401 นำยานมาเวนไร้มนุษย์อวกาศทะยานขึ้นจากศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 13.28 น. วันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 01.28 น. วันอังคารตามเวลาในไทย  ยานมูลค่า 671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 20,800 ล้านบาท) จะเดินทางเป็นเวลา 10 เดือน คาดว่าจะถึงดาวอังคารในเดือนกันยายนปีหน้า และจะเริ่มปฏิบัติภารกิจทางวิทยาศาสตร์ในอีก 2 เดือน – ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิดีโอเกมช่วยฝึกสมองบางส่วนได้

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง วิดีโอเกมช่วยฝึกสมองบางส่วนได้ วิดีโอเกมอาจจะช่วยเพิ่มความสามารถให้สมองบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ตำแหน่ง การสร้างความทรงจำ การวางแผนกลยุทธ์ และทักษะการเคลื่อนไหวบางอย่างดีขึ้นได้ งานวิจัยจากสถาบันวิจัยแม็กซ์แพลงค์เพื่อการพัฒนามนุษย์และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เซนต์ เฮดวิก-ครานเคนอส เผยว่า การเล่นวิดีโอเกมมีผลในแง่บวกและอาจจะช่วยรักษาโรคจิตเภทบางอย่างได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/447724– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สมองขับสารพิษออกขณะหลับ

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง สมองขับสารพิษออกขณะหลับ การนอนที่เพียงพอเป็นสิ่งที่ดีต่อสมอง ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า พื้นที่ระหว่างเซลล์สมองจะเพิ่มขึ้นในขณะที่หลับจากการศึกษาในหนู ซึ่งทำให้สมองสามารถขับสารพิษที่เกิดขึ้นในช่วงทำงานออกไปได้ เป็นการย้ำว่าการนอนหลับนั้นดีต่อสุขภาพและช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ – ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีใหม่ ส่งต่อไฟล์ด้วยปลายสัมผัสของนิ้ว

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เทคโนโลยีใหม่ ส่งต่อไฟล์ด้วยปลายสัมผัสของนิ้ว ทีมวิจัย VTT Technical Research Centre แห่งฟินแลนด์ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้แหวน ปลอกเล็บ หรือริสแบนด์ เป็นอุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูลจากหน้าจอของอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งโดยการสัมผัสได้ เทคโนโลยีใหม่นี้นับเป็นการเชื่อมต่อวัตถุต่างๆ เข้ากับระบบคลาวด์ที่กำลังได้รับความนิยมขณะนี้ – ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การฟอกไตระหว่างการนอนจะทำให้สุขภาพไตดีขึ้น

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การฟอกไตระหว่างการนอนจะทำให้สุขภาพไตดีขึ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ การได้รับการฟอกไตในขณะที่กำลังหลับอยู่นั้นนอกจากจะทำให้สุขภาพของไตดีขึ้นและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคไตสูงขึ้นแล้ว มันอาจจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย “ผู้ป่วยโรคไตในระยะสุดท้ายนั้นมีความซับซ้อนของระบบหลอดเลือดหัวใจมากขึ้นอย่างน้อยถึง 5 เท่าจากปกติ” นายแพย์ Christopher Overgaard หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจที่ Toronto Hospital กล่าว “การฟอกไตระหว่างที่ผู้ป่วยกำลังนอนหลับอยู่ที่นานขึ้นอาจจะช่วยเพิ่มสุขภาพของเส้นเลือดต่างๆ และทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจลดต่ำลงด้วย” – ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน “เราได้ค้นพบว่าผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงในช่วงตั้งครรภ์นั้นอาจจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่าในการเป็นโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน โดยเฉพาะถ้าเกิดพวกเขาเคยแสดงอาการของการชักเพราะการตั้งครรภ์มาก่อน” Aravind Ganesh แพทย์ฝึกหัดด้านประสาทวิทยาที่ University of Calgary กล่าว “ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอาการเส้นเลือดสมองอุดตันนั้นอาจจะสูงถึง 40% เลยทีเดียว” – ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไขมันสีน้ำตาล ไขมันที่ดี

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ไขมันสีน้ำตาล ไขมันที่ดี นักวิจัยพบหนทางที่จะทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานของไขมันออกจากเซลล์อื่นๆ ได้ ไม่ใช่ไขมันทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เดียวกัน ไขมันสีขาวสำหรับทำการกักเก็บพลังงาน และยังมีไขมันอีกชนิดหนึ่งในร่างกายมนุษย์ที่จริงๆ แล้วใช้ในการเผาผลาญพลังงานและให้ความร้อน ส่วนใหญ่เด็กทารกมีไขมันจำพวกนี้อยู่ และในปีนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าผู้ใหญ่ก็มีไขมันชนิดนี้ด้วย ซึ่งเรียกว่าไขมันสีน้ำตาล ไขมันชนิดนี้ถูกเก็บไว้ส่วนใหญ่ในร่างกายส่วนบน – ( 31 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments