magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN ถอดบทเรียน ‘หุบเขาอาหาร’ นำร่องสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก
formats

ถอดบทเรียน ‘หุบเขาอาหาร’ นำร่องสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก

อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร     เนื่องจากผู้ผลิตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตการเกษตร ผ่านกระ บวนการแปรรูปให้เป็นอาหารที่ผู้บริโภคต้องการ

คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีความต้อง การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 150 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า
โดยเฉพาะอาหารแปรรูปคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกถึง 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2556 และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ.2558 อย่างเต็มตัว          สำหรับประเทศไทยมีสินค้าทางการเกษตรเป็นที่นิยมของทั่วโลก หากสามารถประยุกต์แนวคิด “การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจร” หรือที่เรียกกันว่า “หุบเขาอาหาร (National Food Valley)” มาใช้ในประเทศ โดยเน้นการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต และกำหนดพื้นที่ซึ่งมีความพร้อมเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนพัฒนาอุตสาหกรรม อาหารแปรรูปอย่างเป็นระบบ จะสามารถแก้ไขปัญหาภาคเกษตรได้

โดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย หากมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มจะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม (value creation) เพราะมีพื้นที่เหมาะสมหลายแห่งที่สามารถนำมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของโครง สร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่จะรองรับการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีตลาดวัตถุดิบจำนวน มากกระจายทั่วทั้งภูมิภาค

การเปิดประตูเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เป็นหนึ่งตัวเร่งรัดให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยล่าสุดมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมอาหาร หรืออาจเรียกว่า “พื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ (Northern Thailand Food Valley)” ขึ้นมาเป็นการเร่งด่วน โดยความร่วมมือของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงาน ไทยแลนด์ ฟู้ด วัลเลย์ (Thailand Food Valley) เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านอาหารขึ้นมา

ภาคเหนือ เป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินโครงการ
ซึ่งในงาน “ร่วมสร้างนวัตกรรมอาหาร ถอดบทเรียนหุบเขาอาหารจากต่างแดนสู่เมืองเหนือ” ภายในงานประชุมประจำปี 2556 มีการเสวนาและเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสานต่อโครงการภายใต้หัวข้อ “ยกระดับการให้บริการ สร้างสังคมวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่น” มีเรื่องราวมากมายน่าสนใจ

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช.อยู่ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นงานวิจัยพัฒนาและต่อยอดสู่ชุมชน ใน 4 สาขาหลัก คือ วัตถุดิบ ไบโอเทค นาโนเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ตลอด 20 ปี สวทช.ได้สร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะด้านอาหาร เพราะรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการสร้างประเทศให้เป็นครัวของโลก

“จะต้องมีการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ และพื้นที่ หากเราต้องการวิจัยก็ต้องลงทุนร่วมกัน หรือสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ใช้ร่วมกันได้ก็ต้องลงทุนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งแต่ละองค์กรมีแผนงานบริหารที่แตกต่างชัดเจน การแข่งขันจึงควรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนในสิ่งที่ควรแลกเปลี่ยน เพราะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีมากพอแล้ว ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สังคม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ ฯลฯ” ดร.ณรงค์กล่าว

ด้านเจ้าของพื้นที่ในภาคเหนือ ยุทธพงศ์ จีรประภาพงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภาคเหนือ เล่าว่า สภาอุตสาหกรรม จังหวัดเชียงใหม่ รับโจทย์ในการผลักดันโครงการนี้ ภายในระยะเวลา 5 ปี ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล เพื่อรวมกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและสร้างเครือข่ายขึ้นมา รวมทั้งหาวิธีการหรือแนวทางว่าควรทำอย่างไรให้กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่เข้า มาอยู่ในเครือข่ายใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบหรือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ในพื้นที่ ร่วมกันได้

โดยเฉพาะด้านวิชาการและงานวิจัย ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึง 8 แห่ง
“จังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพสูงเพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบ แต่จะหาวิธีการใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไรนั้น ทางเราได้ตั้งคณะทำงานมีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน และตั้งเป้าหมาย กำหนดตัวชี้วัด เพราะคาดหวังว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้น เพราะจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือมีศักยภาพ และความพร้อมทุกด้าน แต่ยังขาดการรวมกลุ่มกัน หลังไปดูงานที่ประเทศเนเธอร์แลนด์แล้ว พบว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของท้องถิ่น และในขณะนี้จังหวัดเชียงใหม่เริ่มนำร่องโครงการนี้ เพราะมีความพร้อมอยู่หลายด้าน โดยเราจะสามารถนำวัตถุดิบ และโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้” ยุทธพงศ์กล่าวส่วนมุมมองของนักธุรกิจรุ่นใหม่ สมิต ทวีเลิศนิธิ ประธาน Young F.T.I. จังหวัดเชียงใหม่ บอกว่า หากจะใช้ประโยชน์และโอกาสจากโครงการนี้ จะต้องตอบโจทย์ผู้ประกอบการในพื้นที่ เพราะอุปสรรคสำคัญของพื้นที่ภาคเหนือนั้นคือ ระบบขนส่ง เช่น ท่าเรือ และศูนย์กลางเมืองหลวงของประเทศ จะต้องนำเข้าพลังงานทำให้เสียเปรียบผู้ประกอบการส่วนกลาง แต่มีข้อได้เปรียบ คือใกล้แหล่งวัตถุดิบ

“หากโครงการนี้เกิดขึ้น จะต้องตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ว่าจะลดข้อเสียเปรียบ ด้านพื้นที่ที่อยู่ไกลแหล่งขนส่งได้อย่างไร และต้องพัฒนาการผลิต โดยเน้นผลิตและแปรรูปอาหารที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น” สมิตกล่าวนับเป็นความน่าสนใจที่ภาครัฐได้หันมาให้ความสำคัญกับผลิตผลทางการ เกษตร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของโลก

โครงการนี้ถ้าประสบความสำเร็จ จะช่วยสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งนอกจากจะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชีวิตของเกษตรกรมากมายแล้ว ยังจะทำให้ประเทศไทยมีส่วนเป็นครัวของโลกได้อย่างแท้จริง

รายการอ้างอิง :
ศิวพร อ่องศรี. ถอดบทเรียน ‘หุบเขาอาหาร’ นำร่องสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก. มติชน (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 132 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


8 × = seventy two

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>