magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "iTAP"
formats

บุกเออีซีด้วยซอฟต์แวร์

ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) ร่วมกับโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขอเชิญร่วมสัมมนาฟรี ในงาน Intermach 2013 หัวข้อ “เปิดแนวรุกบุก AEC ด้วย Customize Engineering Software” ผู้ร่วมงานจะได้รับฟังเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ Engineering Software เพื่อช่วยภาคอุตสาหกรรมการสร้างนวัตกรรมให้ธุรกิจด้วย Software หลักเกณฑ์และขั้นตอนการขอรับการสนับสนุนด้านการเงินจาก iTAP ทิศทางการให้บริการวันศุกร์ที่ 17 พ.ค.นี้ เวลา 13.00-15.30 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา รายการอ้างอิง : บุกเออีซีด้วยซอฟต์แวร์. โพสต์ทูเดย์ (ปฏิทิน). ฉบับวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. – ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นทอง”

เรื่องการรีไซเคิล สิ่งของเหลือใช้ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง เป็นเรื่องที่หลายคนคงรู้จักกันดี แต่อาจรู้จักในภาพของการประดิษฐ์สิ่งของชิ้นเล็กชิ้นน้อยจากวัสดุเหลือใช้ จากของส่วนตัวหรือของใช้ในบ้าน สำหรับวัสดุเหลือใช้จำนวนมหาศาลที่ได้จากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ  ที่ผ่านมาอาจนำไปขายต่อให้กับโรงงานรับซื้อของเก่าเท่านั้น แต่ต่อไปนี้จะไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป เพราะวัสดุเหลือใช้ที่ว่านี้จะถูกนำไปรีไซเคิลสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ Eco Product ดีไวน์ เก๋ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง ดูรายละเอียด รายการอ้างอิง : โครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นทอง”. Energy Saving. ฉบับวันที่ 01 – 30 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระทรวงวิทย์เชียร์’อีโค-โปรดักต์’เผยความคืบหน้าโครงการ’เปลี่ยนขยะเป็นทอง’

นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช./วท.) กล่าวว่า ตามนโยบายของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบหมายให้ สวทช.ผลักดันและนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ ประกอบการไทย ทำให้เกิดโครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นทอง : รับกระแสโลกร้อนและสร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้” ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานภาครัฐได้พยายามนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในการผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ใหม่จากเศษวัสดุเหลือใช้ “โครงการ iTAP/สวทช. ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 เรา ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ช่วยแก้ปัญหา สร้างวิกฤตเป็นโอกาส ซึ่งถือเป็นวิธีการหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการใช้ศิลปะบวกกับวิทยาศาสตร์ ด้วยกลยุทธ์เปลี่ยนเศษด้วยศิลป์ เปลี่ยนแปลงวัสดุคุณภาพสูงแต่เป็นเศษเหลือใช้ของผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ กลับมามีคุณค่าใหม่ และทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตลาดต้องการ เป็นการแปลงจากภาระต้นทุนให้กลายเป็นรายได้” นายทวีศักดิ์กล่าว โครงการนี้ได้ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ผู้เชี่ยวชาญของ iTAP เข้ามาร่วมงานด้วยจนเกิดผลงานที่สัมผัสได้จริง ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ซื้อได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น เรื่องการออกแบบ การเลือกสรรวัตถุดิบ รวมไปถึงกระบวนการผลิต– ( 81 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช.จับมือ”พัม”พัฒนาอุตฯเกษตรเพิ่มศักยภาพแข่ง

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมจากเนเธอร์แลนด์ (PUM) ขยายโครงข่ายพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพแข่งขันได้ในระดับสากลเตรียมพร้อมรับมือเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี) กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ ITAP (Industrial Technology Assistance Program) ให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนด้านเทคโนโลยีการผลิต การจัดการเชิงลึก และการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร ช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้วไม่ต่ำกว่า 5,100 บริษัท ขณะเดียวกันได้สร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั่วประเทศทั้งหมด 11 แห่งเพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการโดยให้เงินอุดหนุน และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับการวิจัยและพัฒนาด้วย– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โลชันนมผึ้ง นวัตกรรมใหม่จากธรรมชาติ

น้ำผึ้ง เป็นสาวที่ให้ความหวานที่รู้จักมานาน ความหอมหวานของน้ำผึ้งนับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งยากจะหาสารอื่นเทียบได้อีกทั้งสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสีย เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ไม่สามารถเจริญได้ รวมทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ดังนั้นจึงมีการนำมาพัศนาต่อยอดเป็นเวชสำอางที่เป้นนวีตกรรมใหม่ ยุทธพงษ์ เรืองศิริ ผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่ เฮลตี้ โปรดักส์ ผู้ผลิตและแปรรูปสินค้าจากผึ้งครบวงจร เล่าว่า เป็นกิจการเดิมของที่บ้าน โดยเริ่มจากการเลี้ยงผึ้งไม่กี่ลังเป็นงานอดิเรกของคุณพ่อก่อนจะขยายกิจการมาเป็นบริษัทที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์เลี้ยงผึ้งครบวงจร เพื่อผลิตพัฒนา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผึ้งภายใต้แบรนด์ “For a Bee”– ( 345 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

TRANSFORMING WASTE INTO WEALTH SCB, NSTDA, Kasetsart extend promotion of ‘upcycling’ trend

As eco-trends catch on around the world, turning industrial waste or discarded materials into “upcycled” products has become a new industry among Thai small and medium-sized enterprises. After combining to initiate the “Waste to Wealth” project between 2008-2011, three organisations – Siam Commercial Bank (SCB), the National Science and Technology Development Agency (NSTDA) and the

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคนิคพิชิต “มอด” หนุนเกษตรกรผลิตกาแฟอินทรีย์ยั่งยืน

ปัญหามอดกาแฟในไร่กาแฟอราบิก้า กำลังจะหมดไป เมื่อวิทยาศาสตร์เข้าไปถึง วัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรในภาคเหนือขยับขยายพื้นที่ปลูกเมล็ดกาแฟพันธุ์ดี ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะกาแฟอราบิก้า ที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเกิดการระบาดของ “มอดกาแฟ” แมลงศัตรูพืชตัวฉกาจ ที่เข้าเจาะทะลายเมล็ดกาแฟ สร้างความเสียหายให้กับผลผลิต จากการแพร่กระจายของเชื้อราและแบคทีเรีย – ( 543 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

iTAP ภาคเหนือ พัฒนาตู้อบแห้งเส้นก๋วยเตี๋ยวเพื่อการส่งออก

น.ส.ปิยะฉัตร ใคร้วานิช รักษาการผู้อำนวยการ สวทช.ภาคเหนือ กล่าวว่า โรงงานก๋วยเตี๋ยว น.นิตย์ เป็นผู้ประกอบการ SME ที่ผลิตสินค้าเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งส่งออก ก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2539 ดำเนินธุรกิจผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวและเส้นกวยจั๊บแห้ง กำลังการผลิตแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 120 ตัน มีตลาดส่งจำหน่ายให้กับลูกค้าในภาคเหนือตอนล่าง ปัจจุบันโรงงานมียอดสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้โรงงานต้องการพัฒนาและสร้างตู้อบมาผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งเพื่อการส่งออก และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน จากความต้องการดังกล่าว ทางโรงงานก๋วยเตี๋ยว น.นิตย์ จึงได้ขอรับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สวทช.ภาคเหนือ ให้จัดหาผู้เชี่ยวชาญจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยมี อ.ทนารัช จิตชาญวิชัย มาเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาโครงการ “ตู้อบเส้นก๋วยเตี๋ยวเพื่อการส่งออก” ให้มีกำลังการผลิต 3 ตันเปียกต่อวัน สามารถลดความชื้นเส้นก๋วยเตี๋ยวโดยที่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องมีคุณภาพและจุลินทรีย์ในอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งส่งออก– ( 693 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments