สท. ต้อนรับภาคเอกชนเยี่ยมชม AGRITEC Station

สท. ต้อนรับภาคเอกชนเยี่ยมชม AGRITEC Station

9 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี -นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ต้อนรับนายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์กวางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานกรรมการบริษัท ซานยี่ สหสิงห์ ซีดส์ จำกัด พร้อมด้วยพนักงาน บริษัทฯ เยี่ยมชม Smart greenhouse & Smart farm technology ณ AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ในช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่ สท. ให้การต้อนรับคณะผู้ประกอบการจากโครงการ “สร้างเครือข่ายการลงทุนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs/Startups: อุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มุ่งสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

“เทคโนโลยีและนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ได้รับการส่งเสริมอย่างมากในภาคการเกษตร เพื่อให้เกิดการทำเกษตรในรูปแบบ “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” (smart farming) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต และนำไปสู่การทำเกษตรที่ “ทำน้อย แต่ได้มาก” สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือยกระดับการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกร ไม่เพียงการถ่ายทอดความรู้และขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยตรง สท. ยังได้ใช้กลไกการสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator: ASI) เป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการจากผู้ประกอบที่ได้รับการยกระดับความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้บ่มเพาะผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. และพร้อมเป็นผู้ให้บริการเกษตรกร ซึ่งทำให้เกิดการขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สู่การใช้งานจริงได้มากขึ้น

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิด “สถานีเรียนรู้ (Training Hub) ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ” ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมีนางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (สท.) เป็นผู้แทนจาก สวทช. เข้าร่วมงาน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว สวทช. โดย สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาสถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อรองรับการเรียนรู้ระดับภาคสนามให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของทั้งสองหน่วยงานผ่านหลักสูตรการอบรม ฐานเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นจากฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่)

สท. เปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

สท. เปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

18 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) จำนวน 80 ท่าน เข้าเยี่ยมชม AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร โดยได้จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ทั้งเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีด้านสารชีวภัณฑ์และนวัตกรรมด้านการเกษตรอื่นๆ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากคณะผู้เยี่ยมชม

หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

“การทำอาหารให้ได้คุณภาพ วัตถุดิบเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้นทางวัตถุดิบมาจากการทำเกษตรที่ดี” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอัตลักษณ์อันโดดเด่นด้านอาหารมาเนิ่นนาน นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นโรงเรียนการเรือนจวบจนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารออกสู่สังคมโดยคำนึงความอร่อย  คุณค่าและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อน โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ หรือ หอมขจรฟาร์ม บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อดำเนินงานส่งเสริมคุณค่าห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัยจากต้นน้ำไปจนกระทั่งถึงปลายน้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและชุมชน “เราไม่ได้ต้องการทำเกษตรดั้งเดิม แต่จะนำเทคโนโลยีมาบูรณาการกับการเกษตรที่ดีและความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปที่เป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัย” รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวถึงความตั้งใจของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนโครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ ที่ไม่ใช่แค่การดำเนินงานเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเท่านั้น หากยังบูรณาการการดำเนินงานของแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะเป็นฐานการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้บุคคลทุกช่วงวัย ทั้งนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ เกษตรกรและผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรือนเพาะปลูกพืชขนาด 6x20x5.6 เมตร จำนวน 3 โรงเรือนตั้งเรียงตระหง่านบนพื้นที่หอมขจรฟาร์ม เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีเป้าหมายเพื่อ “พัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นอีกหน่วยงานพันธมิตรที่สำคัญของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดยดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านเกษตร สู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรอินทรีย์ สมุนไพร เกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น ทั้งนี้ สวทช. ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” เพื่อร่วมพัฒนาองค์ความรู้ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของภาคการเกษตรไทย ฐานเรียนรู้ สื่อความรู้ กิจกรรม ฐานเรียนรู้ “ฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์” ตั้งอยู่ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่) ประกอบด้วยฐานเรียนรู้ 10 ฐานย่อย การผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือน