18 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) จำนวน 80 ท่าน เข้าเยี่ยมชม AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร โดยได้จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ทั้งเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีด้านสารชีวภัณฑ์และนวัตกรรมด้านการเกษตรอื่นๆ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากคณะผู้เยี่ยมชม
สท. พร้อมเปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. เตรียมพร้อมเปิด AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 โดยจะนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ อาทิ โรงเรือนอัจฉริยะ, ไวมาก: ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT, HandySense: ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชจากผลงานวิจัยของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร อาทิ พริกพันธุ์อัคนีพิโรธ เพชรมอดินแดง เรดซันอีสาน หยกขาวมอดินแดง มะเขือเทศพันธุ์นิลมณี ชายนี่ ควีน ซัมเมอร์ซัน
จากถิ่น คืนถิ่น …เมื่อเมล็ดพันธุ์งอกงามในชุมชน
“ได้ลงมือทำ ได้เห็นความเบิกบานและการเจริญเติบโตของพืชผักในทุกวัน” คือนิยามความสุขการทำเกษตรของ จุฬารัตน์ อยู่เย็น สาวน้อยบ้านทุ่งโป่ง ต.เมืองปาน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง แต่กว่าที่จะสัมผัสถึงความสุขนี้ได้ เธอต้องฟันฝ่ากับความคาดหวังของใครต่อใคร เพื่อไปให้ถึงความพอดีของชีวิตบนเส้นทางเกษตรที่เธอเลือก ชีวิตที่เติบโตในชุมชนที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งบริษัท ผลผลิตมากมายแต่รายได้ที่ครอบครัวเธอและชาวบ้านได้รับกลับสวนทาง จึงเป็นแรงผลักให้ จุฬารัตน์ ฝันที่จะเป็นนักส่งเสริมการเกษตรของบริษัท ด้วยหวังกลับมาช่วยชุมชนให้มีรายได้มากขึ้น เธอจึงตั้งใจเข้าเรียนที่คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำทางสู่อาชีพในฝัน “จากที่เคยเห็นแต่ข้าวโพด พอเข้ามาเรียนทำให้เห็นว่ามีหลายพืชมากทั้งผัก ไม้ผล ไม้ประดับ รุ่นพี่ก็แนะนำให้เรียนสาขาพืชผัก เพราะเป็นพืชที่คนเรากินทุกวันและมีงานให้ทำได้หลายอย่าง” ช่วงปลายของการเรียน จุฬารัตน์ รับรู้ว่ามีรุ่นพี่คณะเข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” ได้ฝึกงานกับบริษัทเมล็ดพันธุ์และได้กลับไปทำงานที่บ้านเกิดด้วย เธอจึงติดตามกิจกรรมของโครงการฯ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในรุ่นที่ 2 โดยไม่ลังเล และได้ไปเรียนรู้งานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซีดส์อะโกร เป็นเวลา
7 ความรู้เกษตรที่ไม่ควรพลาด!!
คลิกเลือกชมวิดีโอความรู้แต่ละเรื่อง
“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”
กลางปี 2562 ดิเรก ขำคง เจ้าของฟาร์ม Be Believe Organic Farm จ.ราชบุรี และ ภัทรนิษฐ์ ภุมมา เจ้าของสวนกล้วยภัทรนิษฐ์ จ.นครปฐม ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มภายใต้เครือข่ายสามพรานโมเดล เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีไว้ใช้เอง” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใครจะคิดว่าหลังการอบรมวันนั้นเพียง 6 เดือน ชีวิตของเขาทั้งสองได้เปลี่ยนไป ดิเรก อดีตวิศวกรหนุ่มที่อิ่มตัวกับงานประจำ จับพลัดจับผลูเดินบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์กับผลผลิต “ต้นอ่อนผักบุ้ง” ที่เขาและภรรยาใช้เวลาถึงสองปีลองผิดลองถูกเพื่อหวังเป็นอาชีพใหม่ “แฟนผมแพ้เคมีทุกอย่าง แม้แต่ผงชูรส ตอนนั้นต้นอ่อนผักบุ้งมีน้อย เป็นต้นสั้นและใช้เคมี เรามองว่าถ้าปลูกเป็น ใช้เวลา 7 วันก็สร้างรายได้ แต่ข้อมูลการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งแทบไม่มี เราต้องลองผิดลองถูกกันเอง ทิ้งไปเยอะมาก กว่าจะได้ความยาวต้นที่เหมาะ
“เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” อีกย่างก้าวของ “กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์โนนกลาง”
“ปลูกสลัดรอบนึง มีต้นทุนเมล็ดพันธุ์ 40 บาท แต่ไม่งอกทุกเมล็ด ได้ประมาณ 70% ถึงได้อยากทำเมล็ดพันธุ์เก็บไว้ใช้เอง ถ้าเราทำเอง ได้เท่าไหร่ก็ช่างมัน เสียหายเท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีต้นทุน” คุณพนมนคร ทำมาทอง เกษตรกรบอกถึงเหตุผลที่ต้องการทำเมล็ดพันธุ์ผักสลัดไว้ใช้เอง และวันนี้เขาและเพื่อนๆ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ได้มาร่วมเรียนรู้ “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง” จาก รศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดโดยฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเกษตรและชุมชน สท. “ลดต้นทุนการผลิต มีเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกตลอดไป อนุรักษ์พันธุ์พืช และเพื่อความมั่นคงทางอาหาร” เป็นคำตอบว่าทำไมต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง แล้วเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเองจะมีคุณภาพเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาหรือไม่นั้น อาจารย์บุญส่ง บอกว่า มีหลายพืชสามารถทำได้หากมีการจัดการที่ถูกต้อง รวบรวมพันธุกรรมพืช โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุ์พืชที่ต้องการจากแหล่งต่างๆ
“ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” กลับบ้าน สร้างอาชีพ มีรายได้
“คิดอย่างเดียว ถ้าไปเป็นลูกจ้างเขา เหนื่อยก็เหนื่อยให้เขา ไม่ได้กลับบ้านซะที แต่ถ้าเราลองทำดู โครงการ 3 ปี ถ้าไม่ได้จริงๆ ค่อยว่ากัน” สุวิตรี แดนขนาน บอกไว้ในช่วงจบปีแรกที่เข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ รุ่นที่ 1” ถึงวันนี้จบโครงการฯ แล้ว แต่ สุวิตรี ยังคงเดินบนเส้นทาง “ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์” “กลับมาปีแรก ไฟแรง อยากหาลูกไล่ล่ะ” สุวิตรี ย้อนความถึงวันที่กลับมา “สร้างอาชีพ” ที่บ้านเกิด หลังจบการศึกษาจากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพิ่มพูนทักษะการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่บริษัท สุพรีมโกลด์ จำกัด อีก 6 เดือนก่อนกลับมาผลิตเมล็ดพันธุ์มะระและถั่วฝักยาวส่งให้บริษัทฯ โดยมี วรนารี แดนขนาน พี่สาวที่เรียนจบด้านเกษตรและลาออกจากงานประจำมาร่วมด้วยช่วยกัน ด้วยมองว่า “ทำของตัวเอง เหนื่อยก็เป็นของเรา” “ตอนฝึกงานกับบริษัท เรียนรู้สบายๆ แต่กลับมาเจอของจริงที่บ้าน ต้องรับสภาพทุกอย่าง เป็นแรงงานด้วย เป็นคนดูด้วย ปีแรกยังไม่ท้อ
พืชอื่นๆ
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตพืชที่วิจัยและพัฒนาโดย สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ถ่ายทอดสู่เกษตรกร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชให้ได้คุณภาพ ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ไปถึงการผลิตผลสด อาทิ พริก มะเขือเทศ ฟักทอง ผักสลัด เป็นต้น บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “ปลูกให้เป็น ปลูกให้มีกิน” สร้างความมั่นคงทางอาหารที่แนวชายแดน “สับปะรดบ้านสา” ผลผลิตคุณภาพ-สร้างมูลค่า ด้วยความรู้-ความใส่ใจ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS ใต้ร่มบุญ : ปันความรู้ สร้างแนวร่วม พัฒนาไปด้วยกัน “ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์ “สมุนไพรอินทรีย์” สร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรชีวภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน รู้หลักและจัดการ สร้างผลผลิตกาแฟ