ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”

ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”

“ตื่นเต้น รู้สึกว่าเท่ แปลกใหม่ โรงเรือนที่เคยเห็นก็ธรรมดา ไม่มีเทคโนโลยี” มายด์-สุภนิดา นามโบราณ นักเรียนทวิศึกษาสาขาเกษตรนวัต โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ โรงเรียนวังจันทร์วิทยา เล่าถึงความรู้สึกแรกที่ได้รู้จักโรงเรือนอัจฉริยะ “โรงเรือนอัจฉริยะ” คือโรงเรือนปลูกพืชที่ติดตามและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นอากาศ ความเข้มแสง และความชื้นดิน โดยใช้ชุดเซนเซอร์และระบบควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยอัตโนมัติตามความต้องการของพืช สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ติดตั้งโรงเรือนอัจฉริยะ ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง ขณะเดียวกันยังเป็นหนึ่งในหัวข้อเรียนรู้ของนักเรียนหลักสูตร “เกษตรนวัต” อีกหนึ่งโครงการความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2562 เหล่านักเรียนเกษตรนวัตจำนวน 21 คน ใช้เวลาช่วงบ่ายในแต่ละวันเรียนรู้เรื่องพืช

Low profile High performance เลือกเครื่องมืออย่างฉลาด เพิ่มมูลค่าผลผลิต

Low profile High performance เลือกเครื่องมืออย่างฉลาด เพิ่มมูลค่าผลผลิต

เส้นทางสายเทคโนโลยีเกษตรของ สุวิทย์ ไตรโชค จากลูกชาวนาสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ผู้บุกเบิกการปลูกเมล่อนของประเทศไทย ด้วยปริมาณผลผลิตปัจจุบันกว่า 150 ตันต่อปี “เกษตรกรคืออาชีพที่ถูกเอาเปรียบที่สุด ลูกข้าราชการเบิกค่าเรียนได้ แต่ลูกเกษตรกร รายได้ก็น้อยแล้วยังต้องหาเงินเรียนเอง” ความหลื่อมล้ำที่เป็นแรงผลักดันที่ทำให้ สุวิทย์ มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตอาชีพเกษตรกรด้วยการทำเกษตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นผู้กำหนดราคาตลาดได้เอง เส้นทางสายเกษตรของ สุวิทย์ เริ่มต้นจากการเป็นวิศวกรบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ด้วยมองว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี ซึ่งเป็นทุนสำคัญสำหรับการทำเกษตร รายได้ทั้งหมดจากงานประจำไปลงกับการทดลองและศึกษาหาความรู้ “ช่วงที่เป็นวิศวกร ผมใช้เงินประหยัดมาก ทั้งแผนกมีคนที่ใช้เงินน้อยกว่าผมแค่คนเดียว คือพนักงานทำความสะอาด ที่ผมแพ้เขาเพราะผมต้องไปซื้อข้าวกิน แต่เขาห่อข้าวมาจากบ้าน” พืชชนิดแรกที่ สุวิทย์ ลงมือปลูก คือ พืชผักสวนครัว แต่ไม่สร้างรายได้มากนัก ขณะเดียวกันการทำงานสายการบิน

รู้จักและรู้ใช้ IoT …ก้าวสำคัญของเกษตรกรไทย

รู้จักและรู้ใช้ IoT …ก้าวสำคัญของเกษตรกรไทย

“เทคโนโลยี IoT (Internet of Thing) ไปได้ทุกสายงาน จะทำสมาร์ทโฮม สมาร์ทอินดัสเทรียลก็ได้ แต่ผมมองว่าพื้นฐานของประเทศไทย คือ เกษตร ทำอย่างไรให้เกษตรกรรู้จัก IoT แล้วเอาไปใช้ประโยชน์” ด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศบวกกับความสนใจส่วนตัวในเรื่องเกษตร ทำให้ ผศ.ว่าที่ ร.ต.ภูมินทร์ ฮงมา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ไม่รีรอที่จะสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “ระบบเซนเซอร์ไร้สายสำหรับการติดตามสภาวะแวดล้อมในฟาร์มเพื่อการควบคุมและบริหารจัดการ” ของ สวทช. เมื่อปี 2560 “ช่วงนั้นเรื่อง IoT มาแรง ผมก็ซื้ออุปกรณ์ที่มีขายตามท้องตลาดมาลอง แต่ไม่ค่อยเสถียร ถ้าอยากได้ของดี ราคาก็แพงมาก ก็มีคำถามว่าแล้วของไทยไม่มีเหรอ จนได้มาอบรมและรู้ว่ามี TMEC ของ สวทช. ที่ทำเซนเซอร์วัดความชื้นดินขึ้นเอง

“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่

“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่

ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ “ไร่เพื่อนคุณ ผักและผลไม้ไร้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 100%” ริมถนนโชคชัย-เด่นอุดม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เชื้อชวนให้คนรักสุขภาพแวะจับจ่ายผลผลิต ภายในพื้นที่ 26 ไร่ถูกจัดสรรเป็นโรงเรือนเพาะปลูก 48 โรงเรือนที่หมุนเวียนปลูกพืชหลักอย่างเมล่อนและแตงโม สลับกับพืชผักอย่างถั่วฝักยาว คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา ขณะที่ด้านหน้ามีห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพพืชผัก ห้องประชุม ร้านค้าและร้านอาหาร “ไร่เพื่อนคุณ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 โดย มงคล สุระสัจจะ อดีตข้าราชการที่เห็นปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เขาจึงตั้งใจที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณทำศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกร โดยยึดแนวทางสำคัญ “3 ปลอดภัย 3 เอาชนะ” คือ เกษตรกรปลอดภัย สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย และเอาชนะกลไกตลาด

แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน

แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน

“เกษตรกรควรเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้และมีความอยากเรียนรู้” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว และรองประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนบ้านวังจันทร์ ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ให้มุมมองการทำเกษตรในยุคสมัยนี้ “คนทำสวนที่ทำตามพ่อแม่มา ถามว่าปีนี้คิดว่าจะได้ทุเรียนเท่าไหร่ ไม่รู้ จะออกดอกเมื่อไหร่ ไม่รู้ แต่ตัวผมทำสวนเป็นธุรกิจ ต้องคาดการณ์ว่าจะต้องได้เท่าไหร่” ด้วยบุคลิกที่เป็นนักทดลองและมองหาวิธีที่จะทำให้การทำสวนทุเรียนได้ทั้งคุณภาพและราคา สมบูรณ์และภรรยาตัดสินใจทำสวนทุเรียนนอกฤดูเมื่อเกือบสิบปีก่อน เพื่อหนีปัญหาผลผลิตทุเรียนในฤดูที่ล้นตลาดและราคาตก ท่ามกลางเสียงคัดค้านและคำสบประมาท เขาและภรรยาไม่ตอบโต้ แต่ลงมือทำให้เห็นจากพื้นที่ 24 ไร่ และเพิ่มเป็น 70 ไร่ในปัจจุบัน สร้างรายได้ถึงสิบล้านบาทต่อปี แม้ประสบความสำเร็จจากการทำสวนทุเรียนนอกฤดู แต่ สมบูรณ์ ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ยังคงเปิดโอกาสให้ตัวเองรับความรู้ใหม่ๆ มาทดลองและปรับใช้กับสวนทุเรียนของเขา ดังที่เขายินดีให้ใช้ต้นทุเรียน 30 ต้น บนพื้นที่ 2 ไร่

ทำน้อย มากด้วยคุณภาพ

ทำน้อย มากด้วยคุณภาพ

“ทำน้อยแต่มากด้วยคุณภาพผลผลิต ระบบจัดการที่เล็ก แต่เป็นระเบียบ”  เกล้า เขียนนุกูล สมาชิก “สวนภูภูมิ” บอกเล่าถึงแนวคิดการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยวที่เป็นทั้งรีสอร์ทและสวนเกษตร โดยมี “สตอร์วเบอร์รี่อินทรีย์” เป็นผลผลิตขึ้นชื่อ “สวนภูภูมิ” เกิดขึ้นจากความตั้งใจและความชื่นชอบการทำเกษตรของ พันโทกิติภูมิ เขียนนุกูล อดีตข้าราชการทหารที่ตัดสินใจลาออกจากราชการเพื่อทำเกษตรเชิงท่องเที่ยวมากว่า 5 ปีที่บ้านเข็กกลาง อ.นครไท จ.พิษณุโลก บนพื้นที่ 20 ไร่ โดยมีโรงเรือนปลูกสตอร์เบอร์รี่ขนาด 1 ไร่ ก่อนจะโยกย้ายสมาชิกครอบครัวมาปักหลักทำรีสอร์ทได้เพียงสองปีที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ บนพื้นที่ 3 ไร่ พร้อมแปลงสตอร์วเบอร์รี่เพียง 1 งาน “สตอร์วเบอร์รี่อินทรีย์สวนภูภูมิ” เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบผลไม้เมืองหนาวนี้ ไม่เพียงปราศจากสารเคมี แต่ด้วยรสชาติที่เข้มข้น เนื้อแน่น หวานกรอบ ผลผลิตไม่เละ และเก็บได้นาน ทำให้มีลูกค้าสั่งจองตั้งแต่เริ่มปลูกและเฝ้ารอผลผลิตจากสวนแห่งนี้ทุกปี “เราไม่ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เคมีไม่ยุ่งเลย ใส่แต่ขี้หมูขี้ไก่ล้วนๆ จนคนม้งยังบอกว่าบ้า จะทำได้เหรอ แต่เราก็ได้ผลผลิต

ทำเกษตรให้แม่นยำ … “สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” ช่วยได้

ทำเกษตรให้แม่นยำ … “สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” ช่วยได้

“ตอนเช้าถ้ามีน้ำค้างที่ยอดหญ้า แสดงว่าความชื้นสูง แต่ถ้ายอดหญ้าแห้ง ความชื้นต่ำ แมลงปอบินต่ำ ฝนจะตกหนัก หรือลมโยกๆ ต้นไม้โศก เตรียมให้น้ำได้…”  ปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่ชาวสวนผลไม้มักใช้ควบคู่กับข้อมูลพยากรณ์อากาศของหน่วยงานภาครัฐเพื่อบริหารจัดการแปลงของตนเอง แต่สิ่งเหล่านี้อาจไม่เพียงพอสำหรับการทำสวนของเกษตรกรรุ่นใหม่ ดวงพร เวชสิทธิ์, ธรรมรัตน์ จันทร์ดี, กิตติภัค ศรีราม และณฐรดา พิศาลธนกุล สมาชิก Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนผลไม้ โดยพวกเขาเริ่มใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดอากาศ (weather station) เมื่อปี 2561 “รุ่นพ่อแม่สังเกตจากธรรมชาติ ดูใบ ดูลม ใช้ความรู้สึกวัด สังเกตและจด แต่ไม่มีข้อมูลหรือสถิติที่จับต้องได้ ถ้าเรามีข้อมูลแล้วมาจับคู่กับภูมิความรู้ของพ่อแม่ จะได้องค์ความรู้ที่ชัด แล้วเราเอามาบริหารจัดการพื้นที่ของเราได้” ธรรมรัตน์ อดีตพนักงานบริษัทที่กลับมาทำสวนผลไม้ผสมผสานในพื้นที่ 14 ไร่ สะท้อนถึงสิ่งที่จะได้จากการใช้ข้อมูลที่แม่นยำ