คลับฟาร์มเดย์ (ตอนล่าสุด) เลี้ยงผึ้ง พึ่งเทคโนโลยี คลิปวิดีโออื่น (แล้วแต่จะเอาขึ้น) ทำไมต้องใช้ไวรัส NPV AGRITEC Channel https://www.youtube.com/channelhttps://www.youtube.com/channel/UCtGHxx_LmAzUNLnB8HTdsMg
นักการตลาดชุมชน…ที่มีคุณธรรม
นักการตลาดชุมชน…ที่มีคุณธรรม “นักการตลาดชุมชน เป็นข้อต่อระหว่างชุมชนกับตลาด เราอยู่ตรงกลาง แต่เราไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง เพราะเรามี ‘คุณธรรม’ ไม่ใช่แค่ซื้อของเขามาแล้วเอาไปขาย แต่ต้องคิดงานและทำงานร่วมกับชุมชน แล้วชุมชนจะเป็นคนบอกว่ามีคุณธรรมหรือไม่” คำนิยาม “นักการตลาดชุมชน” ที่อัจฉริยา ศิริโชติ ใช้เมื่อแนะนำ “อาชีพ” ของเธอ จากครูสอนบัญชีในโรงเรียนเอกชน ขยับเป็นผู้ประเมินสถานศึกษา และก้าวมาทำงานด้านเกษตรและชุมชนในโครงการเครือข่ายชาวนาวิถีเกษตรอินทรีย์ จากคำชักชวนของ ผศ.ธนศักดิ์ สุขสง อดีตผู้อำนวยการศูนย์สาธิตฝึกอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง รุ่นพี่สมัยเรียนปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม นิด้า ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “นักการตลาดชุมชน (ที่มีคุณธรรม)” ในปี 2560 “ตอนแรกชั่งใจว่าจะร่วมโครงการดีมั้ย เพราะตัวเองไม่ชอบการตลาด วิชาการขายการตลาดไม่เอาเลย เพราะคิดว่าต้องไปขาย ไม่ใช่ตัวเรา แต่อาจารย์ธนศักดิ์ให้มองถึงชุมชน สิ่งที่ชุมชนมีปัญหาคือเรื่องการตลาด มีของในมือ แต่โดนกดขี่”
อื่นๆ
“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง เมื่อเอ่ยถึง “จุลินทรีย์” ภาพในความคิดของหลายคนเป็น “สิ่งมีชีวิตเล็กๆ” เล็กขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้ เราจะนึกถึงอะไร ….. “จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ ในขณะที่ตัวดีนั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น บางตัวย่อยสลายเซลลูโลสหรือสารอินทรีย์ได้” ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ช่วยขยายความเข้าใจต่อ “จุลินทรีย์” มากขึ้น เมื่อจุลินทรีย์มีหลากหลายกลุ่มและยังมีทั้งตัวดีและไม่ดี การจะนำจุลินทรีย์มาใช้งานจึงต้องคัดเลือกชนิดและคุณสมบัติที่ต้องการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่งานวิจัยของ ดร.ฐปน–ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สวทช. จับมือ ปตท. ผลักดันวิทย์ฯ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือในโครงการ “การนำผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์” โดยมีคุณวิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. คุณกฤษณ์ อิ่มแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคุณณภัค กรรณสูต ผู้จัดการฝ่ายสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการนำเอาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ สวทช.
มันสำปะหลัง
“มันสำปะหลัง” พืชหัวที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญรองจากข้าวและข้าวโพด ปลูกง่ายในพื้นที่เขตร้อนและร้อนชื้น ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 8 ล้านไร่ เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ สร้างรายได้ปีละหลายแสนล้านบาท ไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ของโลกและเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน สวทช. ร่วมกับเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี โปรแกรมมันสำปะหลัง (พ.ศ.2560-2564) เพื่อแก้ไขปัญหาด้านมันสําปะหลังของประเทศตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม 6 กรอบวิจัย ได้แก่ การประเมินเชื้อพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์มันสําปะหลัง การเขตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตมันสําปะหลัง การเตือนการณ์ การป้องกัน กําจัดโรคและแมลงศัตรูมันสําปะหลังรวมทั้งวัชพืชมันสําปะหลัง การวิจัยและพัฒนา เครื่องจักรกลการเกษตรสําหรับมันสําปะหลัง การปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตมันสําปะหลัง แป้งดัดแปร และผลิตภัณฑ์ใหม่จากมันสําปะหลัง และการศึกษานโยบาย การตลาด และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ อย่างเป็นระบบ และสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูง เพิ่มรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น สท./สวทช.
ข้าวและพืชหลังนา
“ข้าว” เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตคนไทยทั้งในแง่ของการผลิตและบริโภค จากการผลิต “ข้าว” เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนสู่การผลิตเพื่อจำหน่ายในระบบอุตสาหกรรม ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวอันดับ 6 ของโลก และส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก (ปี 2559) สร้างรายได้ให้ประเทศปีละหลายแสนล้านบาท จากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการผลิตข้าวและพืชเกษตร สวทช. กำหนดยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนา การปรับตัวภาคการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระยะที่ 3 (2560-2564) เพื่อสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลิตพืชที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีการพยากรณ์และระบบเตือนภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียอันเกิดจากภัยพิบัติและศัตรูพืช นอกจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม “ข้าว” แล้ว สวทช. ยังได้สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา “พืชหลังนา” เช่น ถั่วเขียว งา ซึ่งเป็นพืชที่ไม่เพียงช่วยปรับปรุงบำรุงดินหลังเก็บเกี่ยวข้าว หากยังสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรอีกด้วย บทความ สิ่งพิมพ์
Hello world!
Welcome to ThemGrill Demo. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!