จากสภาพปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปี ทำให้พืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าวได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และกรมการข้าว ปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา และคณะ จากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)) สวทชร่วมกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพดีที่ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยผสมระหว่างพันธุ์ข้าวไออาร์ 57514 ที่ทนต่อน้ำท่วมฉับพลันกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ไม่ทนน้ำท่วม ได้พันธุ์ชื่อว่า “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน”

ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” จมอยู่ใต้น้ำได้นาน 2-3 สัปดาห์ ฟื้นตัวหลังน้ำลดได้ดี ความสูงต้นประมาณ 105-110 เซนติเมตร จำนวนรวงต่อกอประมาณ 15 รวง (นาดำลำต้นแข็ง ไม่หักล้มง่าย นอกจากคุณสมบัติเด่นในการทนน้ำท่วมฉับพลันแล้ว พันธุ์หอมชลสิทธิ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงปลูกได้มากกว่า ครั้งต่อปี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพการหุงต้มคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปริมาณอะไมโลส ร้อยละ 14-18 และมีกลิ่นหอม

เมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน

ปลายปี 2556 พื้นที่ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้ปริมาณน้ำในคลองไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าวซึ่งเพาะปลูกกันมากในเขตอำเภอเมืองพัทลุงและอำเภอควนขนุน องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันจากมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน สวทชน้อมเกล้าฯ ถวาย “เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” จำนวน ตัน แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานให้แก่เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน ข้าวหอมชลสิทธิ์” แก่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ สร้างความปลื้มปิติให้กับเกษตรกรทั้ง กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรชาวนาหมู่ที่ .ชัยบุรี กลุ่มทำนาท่าสำเภา หมู่ที่ .ชัยบุรี กลุ่มทำนาบ้านอ้ายใหญ่ หมู่ที่ .ชัยบุรี ศูนย์สาธิตวิสาหกิจชุมชน บ้านท่าช้างพื้นฟูเศรษฐกิจ หมู่ที่ .พนางตุง กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านสุนทราออก ต.ปันแต และกลุ่มปลูกข้าว หมู่ที่ บ้านโคกวา ต.ควนขนุน

หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ

ปี 2558 ชาวนาในพื้นที่ภาคใต้ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากภูมิภาคอื่น ทำให้มีต้นทุนการปลูกข้าวสูง อีกทั้งอาจได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้คุณภาพ ดังนั้นเพื่อความยั่งยืนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง สวทชได้ร่วมกับ อบจ.พัทลุง ดำเนิน “โครงการหมู่บ้านแม่ข่าย วทบ้านคอกวัวหมู่บ้านข้าวหอมชลสิทธิ์” ที่ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง เป็นหมู่บ้านแม่ข่ายผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์สำหรับขยายผลสู่หมู่บ้านอื่น ในช่วงแรกของโครงการฯ ได้ผลักดันให้ชาวนาในบ้านคอกวัวรวมตัวจัดตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์” มีสมาชิก 23 ราย และผลักดันให้กลุ่มฯ ได้รับมาตรฐาน Good Agricultural Practice (GAP) สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

ในปี 2561 สท/สวทชได้ขยายผลเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ไปที่ “บ้านโคกฉิ่ง” หมู่ที่ 11 .ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง ซึ่งเป็นหมู่บ้านลูกข่าย โดยได้ร่วมกับผู้นำชุมชน และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุงจัดทำแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี มีคุณภาพ ซึ่งผลผลิตจากแปลงได้ส่งต่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้ใช้เพาะปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายสร้างรายได้ให้ครอบครัว

“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”