ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ”

ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ”

ผลงานวิจัยจากโครงการพัฒนาไม้ดอกสกุลขมิ้นเพื่อการค้าพันธุ์ใหม่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลัคกี้ซีดส์อโกร จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีแลนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ จังหวัดอุดรธานี” มีลักษณะเด่น คือ กลีบดอกหนา ปลายกลีบสีน้ำตาลเล็กน้อย ก้านช่อดอกแข็งแรง ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม แตกหน่อ 3–4 หน่อต่อหัวพันธุ์ เหมาะสำหรับเป็นไม้กระถาง­­และไม้ประดับแปลง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปทุมมาพันธุ์ห้วยสำราญ ราก/หัว              ระบบรากฝอยและมีรากสะสมอาหาร สะสมอาหารบริเวณปลายราก ทำให้ปลายบวมออกเป็นตุ้ม ต้น                   ลำต้นใต้ดินหรือหัวมีลักษณะเป็นเหง้า (rhizome) ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหาร มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในเหง้าสีขาว ลำต้นส่วนเหนือดินเป็นลำต้นเทียม เกิดจากการอัดตัวแน่นของกาบใบ มีความสูงจากระดับโคนต้นถึงปลายพุ่มประมาณ 40-45 เซนติเมตร ใบ                   

ตัวอย่าง “สายพันธุ์ปทุมมา” ที่ปลูกในประเทศไทย

ตัวอย่าง “สายพันธุ์ปทุมมา” ที่ปลูกในประเทศไทย

ขาวยูคิ ลำต้นขนาดกลาง (M) ดอกสีขาว ปลายกลีบดอกมีสีเขียวเล็กน้อย ระยะการปลูก 30×30 เซนติเมตร ลานนาสโนว์ ลำต้นขนาดกลาง (M) ดอกสีขาว ก้านยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตรระยะการปลูก 30×30 เซนติเมตร เชียงใหม่พิ้งค์ ลำต้นสูงขนาดใหญ่ (L) ดอกใหญ่สีชมพู ปลายกลีบดอกมีน้ำตาลเล็กน้อย ระยะการปลูก 40×40 เซนติเมตร ลัดดาวัลย์ ลำต้นแข็งแรง ขนาดใหญ่มาก (XL) ดอกสีชมพูอ่อนหลายชั้น ระยะการปลูก 40×40 เซนติเมตร ทับทิมสยาม ลำต้นขนาดเล็กมาก (XS) ดอกและก้านดอกมีขนาดเล็ก ดอกสีม่วง ปลายกลีบดอกมีสีเขียวน้ำตาลเล็กน้อย ระยะการปลูก

ประวัติความเป็นมา “ปทุมมา” ในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา “ปทุมมา” ในประเทศไทย

ปทุมมา เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลขมิ้น (Curcuma) มีถิ่นกำเนิดแถบอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร คนไทยในภาคเหนือและภาคตะวันนออกเฉียงเหนือรู้จักกันดีในช่วงฤดูฝน ซึ่งพืชในสกุลขมิ้นจะเจริญเติบโตและออกดอกในช่วงฤดูฝน สามารถนำดอกมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกและยังเป็นพืชสมุนไพร พระยาวินิจวนันดร นักธรรมชาติวิทยาที่มีชื่อเสียงของไทย ได้พบความงามของดอกไม้พื้นเมืองในสกุลขมิ้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “กระเจียวบัว” จึงได้นำดอกไม้พื้นเมืองนี้ถวายแด่ พระวินัยโกศล แห่งวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ปทุมมาท่าน้อง” และ “บัวสวรรค์” และเป็นชื่อ “ปทุมมา” ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2510 บุคคลสำคัญอีกท่านที่ได้ให้ความสนใจดอกไม้พื้นเมืองของไทย คือ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ได้นำดอกไม้สกุลขมิ้นปลูกในพื้นที่วิจัยของโครงการหลวง บริเวณห้วยทุ่งจ๊อ และในปี

งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ”

งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ”

จากความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตร สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดอุดรธานี ที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวและ Mice City ของจังหวัด สท. จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต่อยอดจากการปลูกไม้ดอกส่งจำหน่าย โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนทั้งการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตปทุมมา ตั้งแต่สายพันธุ์ วิธีการปลูก การเก็บหัวพันธุ์จำหน่าย การใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา ตลอดจนการสนับสนุนปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ” ที่พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  ให้ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ปลูกขยายเป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้​ในพื้นที่ งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 กันยายน-31 ตุลาคม

บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด

บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด

ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เริ่มขึ้นเมื่อปี 2562  มุ่งเน้นให้เกษตรกรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับประยุกต์การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐานและคุณภาพ เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยได้นำร่องกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักของบริษัทฯ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ สหกรณ์รักษ์ศรีเทพ อ.ศรีเทพ สหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ จำกัด อ.หล่มสัก สหกรณ์รวมกลุ่มการเกษตรน้ำหนาว อ.น้ำหนาว รวมถึงส่งเสริมและสร้างอาชีพให้ชุมชนบ้านสะอุ้ง อ.หล่มเก่า ซึ่งมีข้อจำกัดพื้นที่การผลิตสินค้าเกษตร สท. และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้ขยายพื้นที่การดำเนินงานร่วมกันอีก 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน กาฬสินธุ์ นครปฐม เพชรบุรี และตรัง เพื่อให้เกษตรกรหรือชุมชนได้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”

ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”

“ตื่นเต้น รู้สึกว่าเท่ แปลกใหม่ โรงเรือนที่เคยเห็นก็ธรรมดา ไม่มีเทคโนโลยี” มายด์-สุภนิดา นามโบราณ นักเรียนทวิศึกษาสาขาเกษตรนวัต โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ โรงเรียนวังจันทร์วิทยา เล่าถึงความรู้สึกแรกที่ได้รู้จักโรงเรือนอัจฉริยะ “โรงเรือนอัจฉริยะ” คือโรงเรือนปลูกพืชที่ติดตามและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นอากาศ ความเข้มแสง และความชื้นดิน โดยใช้ชุดเซนเซอร์และระบบควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยอัตโนมัติตามความต้องการของพืช สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ติดตั้งโรงเรือนอัจฉริยะ ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง ขณะเดียวกันยังเป็นหนึ่งในหัวข้อเรียนรู้ของนักเรียนหลักสูตร “เกษตรนวัต” อีกหนึ่งโครงการความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2562 เหล่านักเรียนเกษตรนวัตจำนวน 21 คน ใช้เวลาช่วงบ่ายในแต่ละวันเรียนรู้เรื่องพืช

Low profile High performance เลือกเครื่องมืออย่างฉลาด เพิ่มมูลค่าผลผลิต

Low profile High performance เลือกเครื่องมืออย่างฉลาด เพิ่มมูลค่าผลผลิต

เส้นทางสายเทคโนโลยีเกษตรของ สุวิทย์ ไตรโชค จากลูกชาวนาสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ผู้บุกเบิกการปลูกเมล่อนของประเทศไทย ด้วยปริมาณผลผลิตปัจจุบันกว่า 150 ตันต่อปี “เกษตรกรคืออาชีพที่ถูกเอาเปรียบที่สุด ลูกข้าราชการเบิกค่าเรียนได้ แต่ลูกเกษตรกร รายได้ก็น้อยแล้วยังต้องหาเงินเรียนเอง” ความหลื่อมล้ำที่เป็นแรงผลักดันที่ทำให้ สุวิทย์ มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตอาชีพเกษตรกรด้วยการทำเกษตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นผู้กำหนดราคาตลาดได้เอง เส้นทางสายเกษตรของ สุวิทย์ เริ่มต้นจากการเป็นวิศวกรบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ด้วยมองว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี ซึ่งเป็นทุนสำคัญสำหรับการทำเกษตร รายได้ทั้งหมดจากงานประจำไปลงกับการทดลองและศึกษาหาความรู้ “ช่วงที่เป็นวิศวกร ผมใช้เงินประหยัดมาก ทั้งแผนกมีคนที่ใช้เงินน้อยกว่าผมแค่คนเดียว คือพนักงานทำความสะอาด ที่ผมแพ้เขาเพราะผมต้องไปซื้อข้าวกิน แต่เขาห่อข้าวมาจากบ้าน” พืชชนิดแรกที่ สุวิทย์ ลงมือปลูก คือ พืชผักสวนครัว แต่ไม่สร้างรายได้มากนัก ขณะเดียวกันการทำงานสายการบิน

รู้จักและรู้ใช้ IoT …ก้าวสำคัญของเกษตรกรไทย

รู้จักและรู้ใช้ IoT …ก้าวสำคัญของเกษตรกรไทย

“เทคโนโลยี IoT (Internet of Thing) ไปได้ทุกสายงาน จะทำสมาร์ทโฮม สมาร์ทอินดัสเทรียลก็ได้ แต่ผมมองว่าพื้นฐานของประเทศไทย คือ เกษตร ทำอย่างไรให้เกษตรกรรู้จัก IoT แล้วเอาไปใช้ประโยชน์” ด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศบวกกับความสนใจส่วนตัวในเรื่องเกษตร ทำให้ ผศ.ว่าที่ ร.ต.ภูมินทร์ ฮงมา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ไม่รีรอที่จะสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “ระบบเซนเซอร์ไร้สายสำหรับการติดตามสภาวะแวดล้อมในฟาร์มเพื่อการควบคุมและบริหารจัดการ” ของ สวทช. เมื่อปี 2560 “ช่วงนั้นเรื่อง IoT มาแรง ผมก็ซื้ออุปกรณ์ที่มีขายตามท้องตลาดมาลอง แต่ไม่ค่อยเสถียร ถ้าอยากได้ของดี ราคาก็แพงมาก ก็มีคำถามว่าแล้วของไทยไม่มีเหรอ จนได้มาอบรมและรู้ว่ามี TMEC ของ สวทช. ที่ทำเซนเซอร์วัดความชื้นดินขึ้นเอง

“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่

“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่

ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ “ไร่เพื่อนคุณ ผักและผลไม้ไร้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 100%” ริมถนนโชคชัย-เด่นอุดม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เชื้อชวนให้คนรักสุขภาพแวะจับจ่ายผลผลิต ภายในพื้นที่ 26 ไร่ถูกจัดสรรเป็นโรงเรือนเพาะปลูก 48 โรงเรือนที่หมุนเวียนปลูกพืชหลักอย่างเมล่อนและแตงโม สลับกับพืชผักอย่างถั่วฝักยาว คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา ขณะที่ด้านหน้ามีห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพพืชผัก ห้องประชุม ร้านค้าและร้านอาหาร “ไร่เพื่อนคุณ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 โดย มงคล สุระสัจจะ อดีตข้าราชการที่เห็นปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เขาจึงตั้งใจที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณทำศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกร โดยยึดแนวทางสำคัญ “3 ปลอดภัย 3 เอาชนะ” คือ เกษตรกรปลอดภัย สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย และเอาชนะกลไกตลาด