ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

พื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ดินแดนที่ขึ้นชื่อถึงความแห้งแล้งและทุรกันดาร แต่กลับเป็นแหล่งผลิต “ข้าวหอมมะลิ” ที่เลื่องลือระดับโลก สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร สนับสนุนความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ภายใต้โครงการ Inclusive Innovation ส่งเสริมธุรกิจเกษตรและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ยืนหนึ่งในเวทีโลก หากยังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เกษตรกรไทย ดังเช่นที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านจันทร์หอม ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ข้าวจันทร์หอมรวงทอง: มาตรฐานข้าวอินทรีย์ และได้รับการขึ้นทะเบียน GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีสมาชิก 28 คน พื้นที่เพาะปลูก 700 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ใช้ชื่อ “ข้าวจันทร์หอมรวงทอง” เมื่อนำมาหุง

สท.-ม.แม่โจ้ ร่วมกับภาคเอกชน หนุนอาชีพให้ “ผู้พิการ” สร้าง “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ

สท.-ม.แม่โจ้ ร่วมกับภาคเอกชน หนุนอาชีพให้ “ผู้พิการ” สร้าง “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และห้างหุ้นส่วนลักกี้ ซี้ดอโกร จัดสร้างต้นแบบ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ให้ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.วังเหนือ จ.ลำปาง สนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้ให้สมาชิกชมรมและผู้ดูแลผู้พิการ พร้อมขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพในพื้นที่จังหวัดลำปาง นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มีบทบาทหนึ่งในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเผยแพร่สู่ชุมชน ซึ่งปัญหาที่พบจากชุมชนหรือเกษตรกรคือ ขาดองค์ความรู้การทำการเกษตร “สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเครือข่ายภาคเอกชน ดำเนินโครงการ “การพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และผู้ผลิตผักสดและเมล็ดพันธุ์ในชุมชน” ผ่านกระบวนการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านเกษตรอินทรีย์ เรื่องการผลิตผักสดคุณภาพ การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักสดคุณภาพ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการผลิตผักสดคุณภาพและการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักในระบบเกษตรอินทรีย์ไว้ใช้เอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร ตลอดจนสร้างรายได้และอาชีพ