รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้

รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้

“ผมไม่ได้มองว่าต้องประสบความสำเร็จที่รุ่นผม แต่ทำเพื่อสร้างพื้นฐานให้รุ่นต่อไป การทำเกษตรทุกวันนี้สาหัสทั้งจากการใช้ยาเคมี ปัจจัยการผลิตและภูมิปัญญาที่หายไป แล้วก็คนไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นต้นเหตุด้วย …อาชีพเกษตรยังต้องอยู่กับประเทศ ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีจะสร้างความยั่งยืนให้เกษตรได้” ชนะพล โห้หาญ อดีตพนักงานบริษัทที่หันมาทำสวนผลไม้ตั้งแต่ปี 2543 บนพื้นที่ 16 ไร่ของภรรยา ในตำบลตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี เริ่มต้นทำสวนมังคุดด้วยความรู้ที่เท่ากับศูนย์ อาศัยขอความรู้และทำตามเกษตรกรเพื่อนบ้าน แต่ผลผลิตกลับได้ไม่เท่าเขาและยังเสียหายมากกว่า “ช่วง 3-4 ปีแรกยังใช้สารเคมี ทำสวนแบบไม่มีความรู้ ทำตามเขา ใช้ยาเคมี ก็ใช้ไม่เป็น จนมีช่วงที่เกษตรกรตื่นตัวเรื่องน้ำหมักชีวภาพ ได้ไปอบรม ก็รู้สึกว่าตรงจริตเรา ไม่ต้องซื้อ ใช้วัตถุดิบในสวนมาใช้ได้” ชนะพล เริ่มใช้น้ำหมักชีวภาพในสวนโดยลดสัดส่วนการใช้สารเคมี เพื่อตอบโจทย์ “ทำอย่างไรให้ได้ผลผลิต” ซึ่งเขาก็ไม่ผิดหวัง และเห็นคล้อยตามเกษตรกรคนอื่นที่ว่า “ผลผลิตดีขึ้นเพราะน้ำหมัก” แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่

กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”

กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”

“ทุเรียน สื่อถึงไม้ผลที่ปลูกในระบบอินทรีย์ยากที่สุด ส่วนผึ้ง เป็นตัวแทนแมลงที่ดีในระบบนิเวศ” รัฐไท พงษ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี บอกถึงความหมายของโลโก้ “ปัถวีโมเดล” ที่มีสมาชิก 22 สวนในอ.มะขาม จ.จันทบุรี และเครือข่ายอีกกว่า 20 สวนจาก 6 อำเภอในจังหวัดจันทบุรีที่ผลิตผลไม้อินทรีย์ภายใต้มาตรฐาน Organic Thailand รัฐไท เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชอินทรีย์ ปี 2562 เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่พลิกวิถีการทำสวนไม้ผลจากระบบเคมีเป็นระบบอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2541 ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างจากคนหัวใจอินทรีย์อีกหลายคน นั่นคือ ผลกระทบต่อสุขภาพ เขาเริ่มต้นจากหยุดการใช้สารเคมี ปรับลดการใช้ปุ๋ยเคมี และแสวงหาสิ่งที่จะทดแทนสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช โดยหาความรู้จากทุกแหล่งทั้งจากปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอิสระอย่างศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ที่ทำให้เขาได้แนวคิด “ศรัทธาว่าต้องทำได้”

สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี

สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี

“ผ้าสมัยยุค 1.0 แต่เดี๋ยวนี้ยุค 4.0 แล้ว เราจึงต้องปรับตัว การอนุรักษ์ผ้า ไม่ใช่แค่ทำผ้านุ่งผ้าผืน ทำแค่นั้นเท่ากับรอเวลาให้กลุ่มตาย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้าทำแล้วต่อยอดพัฒนา ชีวิตเขาต้องดีขึ้นด้วย” เกษม อินทโชติ กำนันตำบลบ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรี หัวเรือใหญ่ผู้ต่อลมหายใจผ้าทอบ้านปึก-อ่างศิลา หรือ “ผ้าทอคุณย่าท่าน” ให้มุมมองต่อการสืบสานผ้าทอลายโบราณของชุมชน ในอดีตชุมชนบ้านปึกประกอบอาชีพทำนา ทำน้ำตาลโตนด ทำสวนมะพร้าว และงานหัตถกรรมผ้าทอที่มีประวัติความเป็นมากว่าร้อยปี จากอาชีพเสริมที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่ชาวบ้าน กลายเป็นอาชีพหลักให้หลายครัวเรือน จวบจนกาลเวลาแปรเปลี่ยน งานผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์เริ่มเลือนลาง เหลือช่างทอน้อยคนที่ยังทอผ้าส่งขายตลาดอ่างศิลา แม้วันนี้ สาย เสริมศรี หรือป้าไอ๊ หนึ่งในสองช่างทอท้องถิ่นและผู้ร่วมก่อตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านปึก

ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

“ผ้าล๊อตเดียวกัน สีเหมือนกัน ตัดเย็บเหมือนกัน ระยะเวลาผ่านไปสักระยะ ผ้าที่ไม่ได้เคลือบด้วยเทคโนโลยีนาโน หมองคล้ำ ไม่ขาวสดใสเหมือนผ้าที่ผ่านการเคลือบคุณสมบัติพิเศษ” “เราไม่เคยรู้เลยว่าแค่เปลือกผลไม้ ใบไม้ สามารถให้สีสันที่สวยงาม เพิ่มมูลค่าให้เสื้อเราได้ตัวละหลายร้อยบาท” คำบอกเล่าจาก เจษฎา ปาระมี ประธานกลุ่มปิ๊กมาดี จ.ลำปาง และ ดรุณี ภู่ทับทิม ประธานกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมตำบลหินตก จ.นครศรีธรรมราช สองกลุ่มอาชีพจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับอาชีพกลุ่มสตรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) เพื่อยกระดับการผลิตสิ่งทอของชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่ม จากจุดเริ่มที่เป็นเพียง “ศูนย์ประสานเพื่อความช่วยเหลือผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส” ส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานท้องถิ่น เจษฎา ปาระมี และ กฤษฎา เทพภาพ สองหนุ่มนักพัฒนาของตำบลวอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์เมื่อปี 2559 ในนาม “ปิ๊กมาดี” ที่สื่อความถึงการที่ผู้พิการ