magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "AEC" (Page 3)
formats

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำบางคำมักนำไปใช้โดยไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับคำว่า นวัตกรรม ส่วนใหญ่ใช้เรียกสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นนวัตกรรม ที่ถูกต้องนวัตกรรมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่แต่มีการสร้างรายได้นำไปสู่การตลาด ดังนั้นนวัตกรรมต้องประกอบด้วย 1.มีความใหม่ ซึ่งอาจทำขึ้นใหม่ทั้งหมดหรือมีการพัฒนาจากของเก่า 2.มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3.สร้างผลสำเร็จเชิงพาณิชย์ และ 4.ต้องมีกระบวนการใชัความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้นวัตกรรมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการคือ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการได้เปรียบ ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัททั่วโลกจึงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยอาจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและก้าวสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น ระดับในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ระดับค่อยเป็นค่อยไป เช่น เปลี่ยนชิ้นส่วนในโทรศัพท์ 2.ระดับเฉียบพลัน เช่น ผลิต CD ออกมาใช้แทนแผ่นเสียง 3.ระดับสิ้นเชิง เช่น สร้างเครื่องจักรไอน้ำใช้แทนแรงงงานคนและสัตว์ เหตุที่หลายบริษัทสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้เนื่องจากมีศักยภาพหรือขีดความสามารถและมีการวางแผนจัดการที่ดี โดยแนวโน้มของการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดของผลิตภัณฑ์ ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผู้สนใจนำไปวิจัยต่อยอดและนำไปสู่การทำธุรกิจ ต่อมาเริ่มมีการร่วมลงทุนทำวิจัยกับภาคเอกชน มีภาคเอกชนมาตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสวทช. ส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีระดับโลก เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง บทบาทของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ AEC ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ (Biorefinery)

เป็นหัวข้อการบรรยายในวันที่ 3 เมษายน 2556  ของ ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ  ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ Biorefinery คือเทคโนโลยีที่ใช้ความรู้สหวิทยาการทำการปรับเปลี่ยน กลั่น วัสดุทางธรรมชาติ (พืช ของเสียจากโรงงาน) ให้เป็นพลังงาน สารเคมี  ไบโอพลาสติก อาหารสัตว์ โดยใช้ความรู้หลากหลายสาขาผสมผสานกัน  ทั้งเทคโนโลยีชีวภาพ เคมี นาโนเทคโนโลยี เอ็นไซน์  คาตาลิสต์ เป็นขนวบการสะอาด ช่วยลดมลภาวะ ถือเป็นการย้ายฐานจากการกลั่นปิโตรเลียม มาเป็นวัสดุทางธรรมชาติแทน   ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากด้วยมีพื้นฐานด้านการเกษตรที่เข้มแข็ง มีวัตถุดิบมากมาย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พัฒนาศักยภาพธุรกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรองรับ AEC และเวทีโลก

เป็นหัวข้อการบรรยายในวันที่ 2 เมษายน 2556  ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ   ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย   จังหวัดปทุมธานี    สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ หัวข้อเรื่อง – เทคโนโลยี CAE กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยรองรับ AEC สู่การแข่งขันในเวทีโลก CAE – Computer Aided Engineering คือเทคโนโลยีที่รวมความสามารถทางวิศวกรรมผนวกเข้ากับความสามารถคอมพิวเตอร์รวมกัน ทำภาพจำลอง เสมือน แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (simulation) ตัวอย่าง การจำลองสถานการณ์รถยนต์ชนกระแทกโดยมีหุ่นมนุษย์อยู่ภายในรถ สามารถวิเคราะห์หาแรงกระแทกเพื่อติดตั้งถุงลมนิรภัยในรถให้เพียงพอ และ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โอกาสหรืออุปสรรคของอุตสาหกรรมไบโอดีเซลไทยในประชาคมอาเซียน

เป็นหัวข้อการเสวนา ในวันที่ 1 เมษายน 2556  ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ  ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย   จังหวัดปทุมธานี     สรุปเนื้อหาการเสวนา 4 หัวข้อ ได้ดังนี้ หัวข้อเรื่อง – กระบวนการผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูง H-FAME เหตุผลหลัก ในการผลิตไบโอดีเซล คือ Energy security, CO2 reduction, National policy และ Growth Agricultural/Forestry Industries องค์กร JST

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จากปาล์มน้ำมัน สู่ น้ำมันปาล์ม : วิกฤตหรือโอกาส ในการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (Session I) Oil Palm to Palm Oil: Crisis or Opportunity in AEC (Session I)

ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังประสบปัญหาวิกฤติพลังงาน ซึ่งในแต่ละปีมีความจำเป็นในการนำเข้าเป็นมูลค่ามหาศาล รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงาน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็นแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ในการหาพลังงานทดแทนสำหรับวัตถุดิบที่จะมาทำเป็นพลังงานทดแทนซึ่งมีหลายชนิดโดยเฉพาะการนำผลผลิตจากพืชที่ใช้ในการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบ ปาล์มน้ำมัน เป็นหนึ่งในพืชที่มีศักยภาพและอยู่ในความสนใจของผู้ปลูกและผู้ประกอบการกิจการอุตสาหกรรมน้ำมันเนื่องจากเป็นพืชน้ำมันที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตน้ำมันปาล์มเป็นลำดับที่ 3 ของโลกรองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในปี 2555 มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 5-7 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ภาครัฐได้มีการดำเนินยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันในช่วงปี 2551-2555 เพื่อเร่งผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิต เพื่อรองรับกับยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) ซึ่งมีเป้าหมายในการทดแทนน้ำมันดีเซลฟอสซิลให้ได้ 5.97 ล้านลิตร/วัน ภายในปี 2564– ( 658 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความพร้อมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แนวโน้มทั่วโลกในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้หลายประเทศหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างหนึ่งคือการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ประเทศไทยไม่แค่เพียงต้องการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพแต่ต้องการเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในอาเซียนและในโลก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบคือ มันสำปะหลัง อ้อย อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยขาดเทคโนโลยีและตลาด ในอาเซียนประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำทางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเหมือนกับสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่การลงทุนจากต่างประเทศไทยยังมีน้อยกว่าสิงคโปร์ ส่วนเมื่อมองระดับโลกยุโรปและอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ในขณะที่ในเอเชียเกาหลี ญี่ปุ่น มีนโยบาย เทคโนโลยี แต่ไม่มีวัตถุดิบ – ( 133 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความพร้อมของทรัพยากรจุลินทรีย์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา นอกจากก่อโรคมีประโยชน์มากมายต่อการแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เช่น ผลิตสารหรือเอนไซม์ที่เป็นยา ราก่อโรคในแมลงใช้เป็นวิธีทางชีวภาพ (biocontrol) ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีความหลากหลายของชนิดของจุลินทรีย์สูงโดยมีประมาณมากกว่าหนึ่งแสนชนิด มีความพร้อมสูงในการมีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ – ( 165 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

AEC to help lift R&D to 1% of GDP

The National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has projected research and development budgets of the public and private sectors will account for 1% of gross domestic product over the next five years, up from 0.2%last year. President Thaweesak Koanantakool said the forecast is based on growing inquiries from private companies  both large and small 

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Thai Bioplastics Industry towards ASEAN Economic Community) ปัจจุบันการใช้พลาสติกในโลกโดยรวมมีมากกว่า 200 ล้านตัน และมีอัตราเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ต่อปี แต่จากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้ม จึงทำให้พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ได้รับความสนใจเพื่อเป็นทางเลือกใหม่และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยจุลชีพอย่างสมบูรณ์ ในระยะเวลา 3-5 ปีมานี้ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถผลิตพลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายและราคาถูกลง จึงทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมชนิดนี้รุดหน้าอย่างก้าวกระโดด และด้วยความก้าวหน้าทางโทคโนโลยี พลาสติกชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง และ อ้อย เป็นต้น ซึ่งสามารถปลูกขึ้นใหม่ทดแทนได้ (Renewable resource) ทั้งยังเป็นวัสดุที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ในการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการประเมินวัฎจักรชีวิต (Life Cycle Analysis) ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก และช่วยทดแทนพลาสติกบางประเภทที่ผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คุณค่าเหล่านี้กอปรกับศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นแหล่งผลิตพลาสติกชีวภาพที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Polybutylenesuccinated, PBS) และ พอลิแล็กติกแอซิด (Polylactic acid, PLA) ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยอาจจะเป็นประเทศแรกในโลกที่มีทั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PBS

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รู้จักกับ AEC ในมุมมองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. หรือ NAC2013 ภายใต้หัวข้อ “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) นั้น นอกจากหัวข้อการสัมมนา การบรรยาย การเสวนา ที่น่าสนใจร่วม 46 หัวข้อแล้ว ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดงานประชุมวิชาการฯ นี้ ได้เผยแพร่หนังสือ เรื่อง “รู้จักกับ AEC ในมุมมองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลในระดับมหภาคที่สำคัญ คือ (จากส่วนหนึ่งของคำนำ) ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบที่แสดงถึงระดับการพัฒนาและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ข้อมูลทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงข้อมูลการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับสมาชิกอาเซียน ขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสมาชิกอาเซียนในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทรัพยากรที่จำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนา อันได้แก่ ค่าใช้จ่ายและบุคลากรด้านวิจัยและพัฒา หรือผลผลิตในรูปแบบของบทความ ลิขสิทธิ์ การส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูง การขับเคลื่อนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้กลไกของอาเซียนที่นำมาสู่ Krabi Initiative รวมถึงข้อตกลงด้านอื่นๆ ที่มีนัยสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่านที่สนใจติดตามวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ AEC สามารถหาอ่านจากหนังสือนี้ได้– (

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments