magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN ความพร้อมของทรัพยากรจุลินทรีย์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
formats

ความพร้อมของทรัพยากรจุลินทรีย์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา นอกจากก่อโรคมีประโยชน์มากมายต่อการแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เช่น ผลิตสารหรือเอนไซม์ที่เป็นยา ราก่อโรคในแมลงใช้เป็นวิธีทางชีวภาพ (biocontrol) ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีความหลากหลายของชนิดของจุลินทรีย์สูงโดยมีประมาณมากกว่าหนึ่งแสนชนิด มีความพร้อมสูงในการมีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์

ดังนั้นศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จึงมีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทำหน้าที่จัดเก็บและบริหารจัดการจุลินทรีย์อย่างเป็นระบบ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 50,000 ตัวอย่าง เพื่อให้นักวิจัยและเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ไบโอเทคยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ เช่น ศึกษาหาสารที่เป็นประโยชน์ที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ เช่น ยา เอนไซม์ และยังศึกษาราแมลงซึ่งสามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างจำเพาะเจาะจง เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบันไบโอเทคมีการเก็บรวบรวมราแมลงที่มีขนาดใหญ่ การจัดเก็บจุลินทรีย์ยังมีอยู่ในมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน แต่มีการจัดเก็บที่ไม่เป็นระบบทำให้การนำไปใช้ประโยชน์เป็นไปได้ยาก ในอนาคตไบโอเทคจะจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรชีวภาพแห่งประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center, TBRC) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศมีการจัดเก็บจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายที่สุดในอาเซียน โดย TBRC ร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมหาวิทยาลัยต่างๆ

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีการนำอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การแบ่งปันความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยุติธรรม พิธีสารนาโงยาและกฎระเบียบการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรจุลินทรีย์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า การเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพของประเทศหนึ่งจะเป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศนั้น โดยกฎระเบียบการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ในประเทศไทยเกี่ยวกับทรัพยากรจุลินทรีย์ประกอบด้วย 1. พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช ให้รวมถึงเห็ดและสาหร่าย เมื่อมีการนำพืช เห็ด และสาหร่ายไปศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต้องแจ้งกรมวิชาการเกษตร 2. พรบ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา เกี่ยวข้องกับสมุนไพร เมื่อต้องการนำสมุนไพรควบคุมไปศึกษาวิจัยหรือใช้ในเชิงพาณิชย์ต้องขออนุญาตก่อน และ 3. ระเบียบกอช.

เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง กฎระเบียบการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์: การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 วันที่ 1 เมษายน 2556 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม Auditorium อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย– ( 166 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 + = ten

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>